svasdssvasds

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

จาก "โนล" ถึง "เวน คอร์ต" พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

SHORT CUT

  • พระตำหนักเวน คอร์ต (Vane Court) เป็นพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงประทับหลังการสละราชสมบัติ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2480-2482
  • พระตำหนัก เวน คอร์ต จึงกลายเป็นประทับของพระองค์ภายหลังสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ท่ามกลางร่องรอยห้วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มีการเมืองแฝงไปด้วยตลอดห้วงเวลา
  • ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและการที่คณะราษฎรไม่ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ นำไปสู่การสละราชสมบัติของพระองค์ในที่สุด ณ พระตำหนักโนล ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

จาก "โนล" ถึง "เวน คอร์ต" พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

พระตำหนักเวน คอร์ต (Vane Court) เป็นพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงประทับหลังการสละราชสมบัติ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2480-2482

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

โดยพระตำหนักดังกล่าวมีเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ ภายเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องการปกครองหลายประการ

พระตำหนัก เวน คอร์ต จึงกลายเป็นประทับของพระองค์ภายหลังสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ท่ามกลางร่องรอยห้วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มีการเมืองแฝงไปด้วยตลอดห้วงเวลา โดยมีเรื่องราวต่อจากพระตำหนักโนลที่ประทับส่วนพระองค์ ณ ห้วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ในยุคที่พระองค์ยังครองราชย์อยู่ด้วยนั่นเอง

 

จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ตำหนักโนล

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หรือตรงกับปี ค.ศ. 1932 การเมืองไทยได้เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

ประเทศไทยเผชิญกับความวุ่นวายและความขัดแย้งทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญคือกบฏบวรเดชในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เหตุการณ์นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรป

เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่พระมหากษัตริย์จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และเพื่อแสดงความเป็นกลาง เพื่อรับการรักษาพระเนตร เนื่องจากประชวรเป็นต้อกระจก และเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก โดยทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ห้วงเวลาที่สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชสมบัติอยู่ทรงมีความเห็นไม่ตรงกับคณะราษฎรหลายประการ แม้พระองค์จะประทับอยู่ต่างประเทศหลังการเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2476 แต่ยังคงติดต่อกับรัฐบาลผ่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

ปรากฏชัดเจนในพระราชบันทึกข้อข้องพระทัย 2 ฉบับที่ทรงเขียนขึ้นมา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13.45 น. ณ พระตำหนักโนล ตำบลแครนลีย์ ประเทศอังกฤษ และพระราชทานแก่ พลเรือโทพระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) อัครราชทูต เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2477 โดยมีใจความสำคัญดังนี้

1. พระองค์ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นการแต่งตั้งพวกพ้องเข้าสู่สภา

2. พระองค์ทรงขอให้ยกเลิกพระราชบัญญัตินี้ เพราะเห็นว่าขัดกับหลักเสรีภาพของประชาชน และควรให้มีการไต่สวนนักโทษการเมืองอย่างเปิดเผยในศาล

3. พระองค์ทรงขอให้มีการยกเว้นภาษีมรดกในส่วนพระราชทรัพย์ที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาในราชวงศ์

4. การตัดกำลังและงบประมาณทหารรักษาวัง พระองค์ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลในเรื่องนี้

5. เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อ โดยพระองค์ทรงขอให้รัฐบาลให้เสรีภาพในการพูด การเขียน และการโฆษณา เนื่องจากมีการปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

6. การอภัยโทษแก่นักโทษการเมือง โดยพระองค์ทรงเสนอให้มีการอภัยโทษเพื่อสร้างความสงบสุขในระยะยาว

ในวันเดียวกันนั้น เวลา 16.30 น. ม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากร เป็นผู้เชิญพระราชหัตถเลขาของรัชกาล ที่ 7 จากอัครราชทูตมามอบให้กับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ผู้แทนรัฐบาล ณ สถานฑูตสยาม กรุงลอนดอน

ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจากับพระองค์ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีเป้าหมายเพื่อโน้มน้าวให้พระองค์ล้มเลิกพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติ อย่างไรก็ตาม การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลยืนยันที่จะยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ

จากโนล สู่ เวน คอร์ต

จากนั้น พระองค์สละราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ และได้ทรงย้ายไปประทับอยู่ที่เวน คอร์ต ระหว่างกันยายน พ.ศ. 2480 เนื่องจากบ้านโนลมีลักษณะเป็นตึกที่ทึบไม่ค่อยเหมาะสมกับพระพลานามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ทรงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง 

ดังนั้นเมื่อจะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไปอย่างไม่มีกำหนด พระองค์จึงทรงเสาะแสวงหาที่ประทับที่อื่นแทน แล้วทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักใหม่ 

จากโนล ถึง เวน คอร์ต พระตำหนักรัชกาลที่ 7 ความทรงจำและการเมืองหลัง 2475

ต่อมาได้ทรงย้ายที่ประทับไปที่คอมพ์ตัน เฮาส์ (Compton House) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเว้นท์เวอร์ธ ในตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ (Virginia Water) ที่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 115 กม. ในปี พ.ศ. 2482 เพื่อความปลอดภัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะพระตำหนักเวนคอร์ตอยู่ใกล้กับช่องแคบอังกฤษ ทรงคาดว่าจะถูกกันเป็นเขตป้องกันประเทศของทหาร แต่การดำรงพระชนม์ชีพในภาวะสงครามมีความยากลำบาก ขาดแคลนอาหาร ทั้งยังต้องระวังภัยทั้งทางอากาศโดยการอำพลางไฟฟ้า และสวมหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ เมื่อถึงฤดูหนาว ทำให้พระสุขภาพทรุดโทรมและทรงประชวรหนักขึ้น

ครั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะเสด็จสวรรคต พระตำหนักนี้ถูกทหารอังกฤษยึดครองเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการแห่งหนึ่งเพื่อสู้กับกองทัพนาซี จากนั้นได้เปลี่ยนเจ้าของหลายครั้ง

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตลงอย่างสงบด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายใน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 4 วัน

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จัดขึ้นอย่างเรียบง่ายในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ณ สุสานโกลเดอร์สกรีน ประเทศอังกฤษ โดยมีนายอาร์. ดี. เครก พระสหายชาวอังกฤษ อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ และมีการบรรเลงเพลงเมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต (Mendelssohn Violin Concerto) ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวายเป็นครั้งสุดท้าย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ขอพระราชทานอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ พระบรมมหาราชวัง

อ้างอิง

ห้องสมุด มสธ.1 / ห้องสมุด มสธ.2 / ห้องสมุด มสธ.3 / BBC /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง