svasdssvasds

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง สู่การสร้างบุคลากรของชาติสร้างชาติในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ

SHORT CUT

  • การทัศนศึกษาอาจพูดได้ว่าเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนและเสริมสร้างจินตนาการให้กับนักเรียน ให้มีประสบการณ์มากกว่าในสิ่งที่ไม่เคยได้เห็นในห้องเรียน
  • การทัศนศึกษาไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นมาในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นมานานตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

  • โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยคณะราษฎร โดยคณะราษฎรได้เล็งเห็นแล้วว่าการศึกษาอย่างตะวันตกที่เคยทำมาตั้งแต่ครั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพที่ดีเสมอไป จึงมีแนวคิดนำแนวทางการศึกษาแบบญี่ปุ่นมาใช้

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง สู่การสร้างบุคลากรของชาติสร้างชาติในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ

การทัศนศึกษาอาจพูดได้ว่าเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนและเสริมสร้างจินตนาการให้กับนักเรียน ให้มีประสบการณ์มากกว่าในสิ่งที่ไม่เคยได้เห็นในห้องเรียน

การทัศนศึกษาไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นมาในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นมานานตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยคณะราษฎร โดยคณะราษฎรได้เล็งเห็นแล้วว่าการศึกษาอย่างตะวันตกที่เคยทำมาตั้งแต่ครั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพที่ดีเสมอไป

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎร ได้ออกหลัก 6 ซึ่งถือได้ว่าแนวนโยบายแห่งรัฐ แสดงให้เห็นถึงคณะราษฎรมีแนวคิดทางด้านการศึกษาเป็นหนึ่งในหลัก 6 ประการในการสร้างชาติเลยทีเดียว และหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร ยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการไปทัศนศึกษาที่มีโมเดลมาจากประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

บริบทการศึกษาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การศึกษาของไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบสมัยใหม่นั้นเป็นรูปเป็นร่างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นเป็นแนวทางการศึกษาที่เอาอย่างตะวันตกและเป็นการรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาในฐานะเครื่องมือกล่อมเกลาให้มีจิตสำนึกรักชาติร่วมกัน พูดง่ายๆ คือการส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยม

เหตุผลดังกล่าวมาจากปัจจัยภายนอก เมื่อชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคม ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับตัวตามอย่างตะวันตก รวมถึงการรับแนวคิดด้านการศึกษาอย่างตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยด้วย

การศึกษาในยุคนั้น จึงเน้นไปที่การรักษาเอกราชและการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอย่างตะวันตก

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

ในรัชกาลที่ 5 จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนอย่างแพร่หลาย ทั้งโรงเรียนสำหรับพระราชวงศ์ ขุนนาง และประชาชนทั่วไป โดยเน้นการสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาแบบตะวันตก

มีการส่งเสริมให้คนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือราชวงศ์และขุนนางเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศ

รวมถึงการจัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดูแลและพัฒนางานด้านการศึกษาให้เป็นระบบ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของบ้านเมือง ดังนั้นจึงทรงปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาในหลายๆ ด้าน ดังนี้

การก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2459 ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

การตราพระกษัตริย์ศึกษานิเทศ ในปี พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ทรงตรา พระราชบัญญัติประถมศึกษา ขึ้นเป็นครั้งแรก กำหนดให้ เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ เป็นเวลา 4 ปี โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน

การพัฒนาหลักสูตร ทรงให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่ เน้นความรู้รอบตัว และ ฝึกทักษะอาชีพ แก่นักเรียน รวมถึง ส่งเสริมภาษาไทย ให้เจริญก้าวหน้า โดยทรงพระราชนิพนธ์บทละคร บทความ และตำราเรียนต่างๆ

การส่งเสริมการศึกษาของสตรี: ทรงเปิดโอกาสให้ ผู้หญิงได้รับการศึกษา เทียบเท่าชาย เช่น การให้มีโรงเรียนหญิงล้วน และสามารถเรียนต่อในระดับสูงขึ้นได้

การขยายโอกาสทางการศึกษา มี การจัดตั้งโรงเรียนเพิ่มขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีพ โรงเรียนราษฎร์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6 จะมีความก้าวหน้าอย่างมาก แต่ก็ยังประสบปัญหาอยู่บ้าง เช่น ปัญหาการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา

กำเนิดทัศนศึกษา เน้นสร้างปัญญา และสุขภาพที่แข็งแรง

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นยุคสมัยที่ปกครองโดยคณะราษฎรได้มีการใช้หลัก 6 ประการในการพัฒนาประเทศ คือ

1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 

2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 

3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 

4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ 

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น 

6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

สะท้อนให้เห็นว่าคณะราษฎรให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะถึงขนาดบรรญัติไว้ในหลัก 6 ประการ

กำเนิดทัศนศึกษาไทย เน้นสร้างปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง

และการทัศนศึกษาก้เริ่มเกิดขึ้นในยุคนี้ อ.ณัฐพล ใจจริง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคณะราษฎร ได้อธิบายให้ฟังว่า สมัยคณะราษฎรมีการปรับปรุงการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนจากแนวทางการศึกษาอย่างตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ เป็นแบบญี่ปุ่น

โดยรัฐบาลคณะราษฎรเล็งเห็นแล้วว่าแนวทางการศึกษา อย่างตะวันตกอาจไม่เหมาะสมกับประเทศไทย จึงศึกษาแนวทางการศึกษาแบบญี่ปุ่นที่เป็นประเทศเอเชียและมีระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน

โดยมีการออกแผนการศึกษาแห่งชาติขึ้นมา เน้นไปที่ปัญญา และสุขพลานามัยที่แข็งแรง ริเริ่มให้มีการให้นักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่

โดย อ.ณัฐพล เล่าว่า ก่อนสมัยคณะราษฎรนั้น ไม่มีแบบแผนการไปทัศนศึกษาที่ชัดเจนสำหรับประชาชนทั่วไป การไปท่องเที่ยวนอกสถานศึกษาส่วนใหญ่ต้องเป็นคนมีเงินและจัดกิจกรรมไปกันเอง

แต่ในยุคคณะราษฎรมีการออกกฎให้โรงเรียนจัดกิจกรรมทัศนศึกษา โดยโรงเรียนเล็กๆ ก็ออกไปทัศนศึกษาบริเวณสถานที่ใกล้เคียงในท้องถิ่นนั้นๆ หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นมาก็มีการจัดไปทัศนศึกษาในสถานที่ไกลๆ

เห็นได้จากโรงเรียนนายเรือยุคนั้นมีกิจกรรมจัดไปทัศนศึกษา นอกสถานที่โดยนั่งรถไฟไปถึงประเทศมาเลเซีย

เป้าหมายของการทัศนศึกษา คือการให้ออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน รวมถึงออกไปดูงานในต่างประเทศ เพื่อดูงานกลับมาพัฒนาประเทศ

เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทัศนศึกษามีมาตั้งแต่ยุคคณะราษฎร โดยมีการวางระเบียบแผนที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างจนส่งผลมาถึงยุคปัจจุบัน โดยเน้นไปที่คุณภาพด้านการศึกษาของประชากร ที่เป็นกำลังสำคัญและอนาคตของชาติ

การทัศนศึกษา จึงไม่ใช่การไปเที่ยวอย่างเดียว แต่จุดมุ่งหมายคือเพื่อเรียนรู้นอกห้องเรียนต่อยอดความรู้นำมาพัฒนาประเทศให้เจริญเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

อ้างอิง

ณัฐพล ใจจริง / วารุณี โอสถารมย์ / ประชาไท /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง