svasdssvasds

เกือบหลับแต่กลับมาได้ ย้อนตำนาน จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกลอบยิง

เกือบหลับแต่กลับมาได้ ย้อนตำนาน จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกลอบยิง

เกือบหลับแต่กลับมาได้ ย้อนตำนาน จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกลอบยิง แต่กระสุนเล็กๆ ไม่สามารถปลิดชีพ จอมพล กระดูกเหล็กได้

SHORT CUT

  • แค่เราโดนลอบยิงแบบ โดนัลด์ ทรัมป์ แค่ 1 รอบเราก็เสียวสันหลังและระแวงแล้ว
  • จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เจ้าของฉายา “จอมพลกระดูกเหล็ก” ที่ได้ฉายานี้มาเพราะถูกลอบสังหารตั้งแต่โดนยิงและวางยาพิษหลายครั้งเขาก็รอดมาได้
  • เรียกได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญของไทยที่โดยลอบสังหารบ่อยครั้งอีกคนหนึ่งเลยทีเดียว

เกือบหลับแต่กลับมาได้ ย้อนตำนาน จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกลอบยิง แต่กระสุนเล็กๆ ไม่สามารถปลิดชีพ จอมพล กระดูกเหล็กได้

เหตุช็อกโลก โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวตึงแห่งสหรัฐอเมริกา อดีตประธานาธิบดี และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันถูกลอบยิงได้รับบาดเจ็บที่ใบหูแต่ไม่ได้เสียชีวิต

จนทำให้หลายๆ คนนึกถึงว่าผู้นำในต่างประเทศนั้นเคยถูกลอบสังหารเช่นนี้หรือไม่ แต่เอาเข้าจริงแล้วในประเทศไทยอันใกล้ตัวของเราก็มีเหตุการณ์เช่นนี้เช่นเดียวกัน

เป็นบุคคลที่เมื่อพูดชื่อย่อมไม่มีใครไม่รู้จัก บุคคลท่านนั้นคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เจ้าของฉายา “จอมพลกระดูกเหล็ก” ที่ได้ฉายานี้มาเพราะถูกลอบสังหารตั้งแต่โดนยิงและวางยาพิษเขาก็รอดมาได้

SPRiNG พาไปรู้จักตำนาน เกือบหลับแต่กลับมาได้ของ จอมพล ป. ที่ทุกคนต้องจดจำ

 

จอมพลจอมล่อเป้า

แค่เราโดนลอบยิงแบบ โดนัลด์ ทรัมป์ แค่ 1 รอบเราก็เสียวสันหลังและระแวงแล้วใช่ไหมครับ แต่จอมพล ป. ถูกลอบยิงถึง 2 ครั้งเรียกได้ว่าเป็นจอมพลจอมเป้ากระสุนก็ว่าได้

เหตุการณ์ลอบสังหารครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2477 ขณะที่ พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปชมการแข่งขันฟุตบอลที่ท้องสนามหลวง หลังจากมอบถ้วยรางวัลให้แก่ทีมชนะเลิศแล้ว ระหว่างที่กำลังขึ้นรถยนต์ที่จอดรออยู่ใกล้กระโจมพิธี มีชายคนหนึ่งใช้อาวุธปืนยิงใส่จอมพล ป. 2 นัด โชคดีที่ พ.ต.หลวงสุนาวินวิวัฒน์ เลขานุการของ จอมพล ป. สามารถกระโดดเข้าขัดขวางเหตุการณ์ได้ทัน โดยคนร้ายถูกจับกุมตัวได้ในที่เกิดเหตุ ทราบชื่อคือ นายพุ่ม ทับสายทอง

แพทย์ตรวจพบว่า จอมพล ป. ถูกกระสุนปืน 2 แห่ง เป็นบาดแผลฉกรรจ์ กระสุนนัดแรกเข้าทางแก้มซ้ายด้านหน้าทะลุออกทางด้านหลังของต้นคอ กระสุนนัดที่สองเข้าทางด้านหน้าไหล่ขวาทะลุออกด้านหลัง ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพญาไท (โรงพยาบาลมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) นานประมาณ 1 เดือน

 

นี่เป็นเหตุการณ์แรกเท่านั้นที่โดนยิง และยิงมีครั้งที่ 2 ตามมา

เหตุการณ์ลอบสังหารครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2481 เวลาค่ำ ขณะที่ พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม กำลังแต่งตัวอยู่ที่บ้านพักในกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ เพื่อเตรียมตัวไปร่วมงานเลี้ยงส่ง พ.อ. หม่อมสนิทวงศ์เสนีย์ และภริยา โดยขณะนั้นมี ร.อ. เผ่า ศรียานนท์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการรัฐมนตรี ปรากฏว่า นายลี บุญตา ได้ใช้อาวุธปืนพกยิงใส่ พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม แต่ พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม วิ่งหลบหนีได้ทันจากนั้นนายลีได้วิ่งไล่ยิง พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม จนกระทั่ง ร.อ. เผ่า และนายทหารคนอื่นๆ ได้เข้ามาช่วยกันแย่งปืนจากนายลีไว้ได้

สารหนูเกือบปลิดชีพจอมพล

เหตุการณ์ลอบสังหารครั้งที่สาม เกิดขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม 2481 ขณะที่ จอมพล ป. กำลังนั่งรับประทานอาหารกลางวันอยู่ที่บ้านพักในกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ จอมพล ป. รู้สึกผิดปกติ จึงอุทานออกมาว่า "ผมถ้าจะกินยาพิษเข้าไปแล้ว” ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์จึงรีบนำตัวท่านส่งโรงพยาบาลพญาไท ภายหลังตรวจพบว่า ยาพิษที่ จอมพล ป. ได้รับคือ สารหนู ซึ่งเป็นยาพิษที่ร้ายแรง

หลังจากเหตุการณ์ลอบวางยาพิษ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาของ จอมพล ป. ต้องดูแลอาหารทุกมื้อและต่อมาท่านผู้หญิงละเอียดได้ขอให้ภริยานายทหารที่ใกล้ชิดผลัดเวียนกันมาช่วยทำอาหารให้กับ จอมพล ป.

ส่วนสาเหตุที่ท่านถูกลอบสังหารหลายครั้ง สันนิษฐานว่ามาจากปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบายปฏิรูปประเทศของ จอมพล ป. เขามีนโยบายปฏิรูปประเทศที่รุนแรงและรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ขุนนาง เจ้าศักดินา ประชาชนทั่วไป

การรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ จอมพล ป. เพราะเขาพยายามรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตนเอง กำจัดคู่แข่งทางการเมือง สร้างความหวาดระแวงให้กับกลุ่มคนที่มีอำนาจ

สุดท้ายสถานการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นบ้านเมืองไทยอยู่ในสภาวะยังไม่มั่นคงมีการต่อสู้กันจากระบอบใหม่และรอบเก่า เกิดกบฏหลายครั้ง จอมพล ป. ถูกมองว่าเป็นแกนนำหลักของฝ่ายเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แต่สุดท้ายชีวิตคนเราก็ไม่อาจยั่งยืนเป็นอมตะตลอดไป จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี 

สาเหตุการเสียชีวิต บันทึกไว้ว่า ท่านเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย แต่ก่อนหน้านั้น ท่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทานอาหารมื้อเที่ยงกับครอบครัวและคนสนิทได้ปกติ แต่เมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่ความตายอย่างกะทันหัน

สถานที่ประกอบพิธี: พิธีฌาปนกิจศพ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกอบขึ้นที่วัดเรอิเกนจิ ตำบลโกทันดะ

และมีความเชื่อเกี่ยวกับการเสียชีวิตว่าท่านถูกวางยาพิษ เนื่องจากก่อนหน้านั้น ท่านเริ่มได้สานสัมพันธ์กับปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทางจดหมาย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 สมัย รวม 15 ปี 11 เดือน 25 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประเทศไทย ท่านมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

เรียกได้ว่าชีวิตของ จอมพล ป. เฉียดประตูนรกมาหลายหนเลยทีเดียวเพราะการเมืองที่เขาเอาตัวเองเข้าไปอยู่ แต่ก็รอดมาได้เกือบทุกครั้งและเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างยาวนาน

นี่เป็นอีกบุคคลหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกลอบสังหารแต่เขาก็ไม่เป็นอะไร แถมยังอยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศที่ยาวนานอีกด้วย

อ้างอิง

SilpaMag

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related