svasdssvasds

รู้หรือไม่ ? ก่อนจะมีสรรเสริญพระบารมี เคยมีสดุดีพิบูลสงคราม

รู้หรือไม่ ? ก่อนจะมีสรรเสริญพระบารมี เคยมีสดุดีพิบูลสงคราม

รู้หรือไม่? ก่อนจะมีสรรเสริญพระบารมี เคยมีสดุดีพิบูลสงครามในโรงหนังมาก่อน เพราะเป็นเพลงที่เปิดก่อนหนังหรือภาพยนตร์จะฉาย ขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมีถูกฉายตอนภาพยนตร์จบแล้ว

SHORT CUT

  • เพลงสรรเสริญพระบารมีมีรากเหง้ามาจากมาจากประเทศอังกฤษในสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 2 ภายหลังเองลัทธิจักรวรรดินิยมค่อยๆ คืบคลานไปทั่วโลก ส่งผลให้สยามซึ่งต่อมาคือไทยต้องปรับตัว
  • ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงมีการยืนตรงเคารพ จอมพล ป. พิบูลสงครามและมีการบรรเลงเพลงสดุดีพิบูลสงครามในโรงภาพยนตร์ก่อนที่จะฉายภาพยนตร์  และเพลงสรรเสริญพระบารมีจะบรรเลงหลังภาพยนตร์จบ
  • หลังจากจอมพล ป. หมดอำนาจ เพลงสรรเสริญพระบารมีจึงค่อยๆ เข้ามาแทนที่เพลงสดุดีพิบูลสงครามบรรเลงก่อนที่ภาพยนตร์จะฉาย

รู้หรือไม่? ก่อนจะมีสรรเสริญพระบารมี เคยมีสดุดีพิบูลสงครามในโรงหนังมาก่อน เพราะเป็นเพลงที่เปิดก่อนหนังหรือภาพยนตร์จะฉาย ขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมีถูกฉายตอนภาพยนตร์จบแล้ว

เพลงสรรเสริญพระบารมีคืออะไร ทำไมเราต้องลุกขึ้นยืน และมีรากเหง้ามาจากอะไร คำตอบคือมีที่มาจากประเทศอังกฤษในสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 2 และภายหลังเองลัทธิจักรวรรดินิยม และลัทธิชาตินิยมค่อยๆ คืบคลานไปทั่วโลก ส่งผลให้สยามซึ่งต่อมาคือไทยต้องปรับตัว

พระเจ้าจอร์จที่ื 2

ต้นกำเนิดของเพลงสรรเสริญพระบารมีในสยามคงหนีไม่พ้นการเสริมสร้างโดยสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อตอบสนองความศิวิไลซ์ แบบนานาประเทศในยุโรป ในช่วงแรกใช้ทำนองเพลงไทย หรือการดัดเพลงให้คล้ายๆ เพลง God Save The King ของอังกฤษก่อนที่ค่อยๆ ปรับให้เป็นทำนองในปัจจุบัน

ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพลงสรรเสริญพระบารมีถูกใช้เป็นเพลงชาติใช้ในพิธีสำคัญๆ ของรัฐแต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย เพลงสรรเสริญพระบารมีก็ยังคงมีอยู่ แต่ค่อยๆ ถูกลดบทบาทลงให้ใช้ในพิธีสำคัญในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

พอมาในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์โลกมีความชาตินิยมสูง มีการชูนโยบาย “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” ส่งผลให้จอมพล ป. คือศูนย์กลางของอำนาจรัฐ แน่นอนว่าการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนึ่งคือ หนังหรือการแสดงในโรงภาพยนต์ ทำให้จอมพล ป. มีดำริ ให้มีเพลงสดุดีพิบูลสงครามมาฉายในโรงหนัง ซึ่งเป็นบทบาทที่เคยมีมากก่อน เพราะในอดีตก่อนแสดงภาพยนต์ต้องมีสดุดีพิบูลสงครามขึ้นมาก่อน แต่ ณ ปัจจุบันหลังจากที่จอมพล ป. หมดอำนาจลงไปในโรงภาพยนต์มีเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นมาก่อนการแสดงภาพยนต์นั่นเอง

ที่มาของการยืนตรงเคารพผู้นำ

ที่มาของการยืนสรรเสริญผู้นำของรัฐหรือของประเทศสันนิษฐานว่าที่มาจากอังกฤษ จากธรรมเนียมปฏิบัติในเพลง “Messiah” ของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ที่ได้โอนสัญชาติมาเป็นอังกฤษอย่าง จอร์จ ฟรีดริก แฮนเดล (George Frideric Handel, ค.ศ.1685-1759)

เพราะในเนื้อเพลงจะมีธรรมเนียมการลุกขึ้นยืนกันในท่อนที่ร้องว่า “ฮัลเลลูยาห์” ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เกิดเพราะพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ (George II, ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.1727-1760) เพราะในคอนเสิร์ตครั้งหนึ่งเมื่อ ค.ศ.1743 เมื่อเพลงบรรเลงถึงท่อนนี้แล้วก็ทรงลุกขึ้นยืน จนทำให้คนอื่นๆ ต้องยืนขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

เรียกได้ว่าเป็นต้นฉบับแรกๆ ของเพลงสรรเสริญที่ค่อยๆ ปรากฏตัวขึ้นในระบอบกษัตริย์ของอังกฤษก็ว่าได้เพราะเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่จะมีเพลง God Save The King ที่กลายเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของสถาบันกษัตริย์อังกฤษเสียอีก

โดยทั่วไปแล้ว มักจะเชื่อกันว่า เพลง God Save the King นี้ ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ร้องในโบสถ์ของคาทอลิกมาก่อนที่จะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเพลงคำนับไปในที่สุด

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของเพลงที่ว่านี้ ถูกตีพิมพ์อยู่ใน Thesaurus Musicus เมื่อ ค.ศ.1744 อันเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะห่างกันเพียง 1 ปี นับจากวันที่พระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงลุกขึ้นยืน ในขณะที่บรรเลงเพลง Messiah เท่านั้น

แผนที่สยาม

และศตวรรษที่ 17-18 นี้เองถือว่าเป็นช่วงจักรวรรดินิยม กำลังแพร่หลายไปทั่วโลก การเชิดชูผู้นำของรัฐจึงเกิดขึ้นมาพร้อมๆ เพลงสรรเสริญที่ได้เผยแพร่ไปทั่วโลกว่าหากรัฐของคุณเป็นอารยประเทศ หนึ่งในเรื่องที่ต้องพูดถึงคือการที่ประชาชน และประเทศอื่นๆ ต้องรู้จักผู้นำของชาตินั้นๆ ดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติจักรวรรดิต้องร้องเพลงเคารพผู้นำของจักรวรรดิอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไทยรับอิทธิพลการเคารพผู้นำมาตอนไหน

อิทธิพลของเพลงสรรเสริญผู้นำเผยแพร่ผ่านลัทธิจักรวรรดินิยม และเมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมแผ่มาถึงเอเชียและสยาม สยามเองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต้องปรับตัว หนึ่งในอิทธิพลที่รับมาก็คือการแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี

เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง God Save The King ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ"

รัชกาลที่ 4

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1871 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง God Save The King บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ปรากฏมีชาวฮอลันดาซึ่งตั้งนิคมอยู่ที่นั่นถามถึงเพลงชาติของสยามเพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง God Save The King

เพลงสรรเสริญพระบารมีถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนในปี ค.ศ.1913 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพลงสรรเสริญพระบารมีได้กลายเป็นเวอร์ชันปัจจุบันที่เรารู้จักกัน

รัชกาลที่ 6

ต่อมาในปี ค.ศ.1935 ในยุคคณะราษฎรมีอำนาจ ได้บรรจุเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนต์แต่เป็นการบรรเลงหลังจากที่ภาพยนตร์จบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กำเนิดสดุดีพิบูลสงครามเมื่อชาติต้องมาก่อนสถาบันอื่นๆ

ในปี พ.ศ.1942 จอมพล ป. พิบูลสงครามก้าวขึ้นมามีบทบาทในฐานะผู้นำประเทศ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. ตอบสนองนโยบายชาตินิยมที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นอารยประเทศ เช่นการแต่งตัวให้เป็นสากลสมัย การห้ามเคี้ยวหมาก ตลอดจนการเชิดชูผู้นำของรัฐที่ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นประเทศอื่นๆ ไม่ว่าเป็นจีนที่มี จอมพลเจียง ไคเชก เป็นผู้นำ

จอมพล ป.

หนึ่งในนโยบายชาตินิยมชูขึ้นมาคือการมีเพลงสรรเสริญผู้นำของรัฐที่ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นผู้นำของรัฐที่คือจอมพล ป. 

เพลงสดุดีพิบูลสงคราม เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ แต่งคำร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา เริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2485 โดยบรรเลงก่อนฉายภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" และเป็นที่มาของการบรรเลงเพลงสรรเสริญผู้นำของรัฐในโรงภาพยนตร์

เนื้อเพลงสดุดีพิบูลสงคราม มีเนื้อเพลงว่า “ไชโยวีระชนชาติไทย ตลอดสมัยที่ไทยมี ประเทศไทยคงชาตรี  ด้วยคนดีผยองไชย ท่านผู้นำพิบูลสงคราม  ขอเชิดนามเกริกไกร ขอดำรงคู่ชาติไทย นำชาติให้ไพบูลย์เทอญฯ”

ในเนื้อหาเต็มไปด้วยเนื้อหาที่เชิดชูวีรกรรมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยกย่องให้ท่านเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นำชาติไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เนื้อหาโดยคร่าวๆ คือการเชิดชูเกียรติจอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวถึงนโยบายชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเชิญชวนประชาชนให้ร่วมใจกันพัฒนาชาติ ซึ่งเป็นการแทรกความคิดชาตินิยมเข้าไปในบทเพลงรวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “บ้านไร่นาเรา” อีกด้วย

เรียกได้ว่ายุคนั้นเป็นยุคที่ตัวท่านผู้นำเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก พร้อมๆ กับกระแสชาตินิยม ทำให้สดุดีพิบูลสงครามเป็นเพลงหลักในโรงหนังที่มาก่อนเพลงสรรเสริญพระบารมี

สดุดีพิบูลสงครามต้องลาจอ

ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นแพ้สงครามและก่อนหน้านั้นเองมีกระแสมานานแล้วว่าฝ่ายอักษะที่นำโดย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต้องพ่ายแพ้สงคราม รัฐบาลจอมพล ป. ที่เป็นพันธมิตรของญี่ปุ่น ย่อมโดนฝ่ายพลเรือนในประเทศกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

ทหารญี่ปุ่น

สดุดีพิบูลสงครามก็อยู่ในโรงภาพยนตร์ก็ต้องบอกลาจอไปด้วยเพราะภายหลังที่จอมพล ป. หมดอำนาจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยเองมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ระบอบเผด็จการทหารสิ้นสุดลง หันมาสู่ระบอบประชาธิปไตย เพลงสดุดีพิบูลสงคราม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลและระบอบเผด็จการ จึงถูกมองว่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองใหม่

บวกกับกระแสชาตินิยมลดลง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน เพลงสดุดีพิบูลสงคราม ซึ่งมีเนื้อหาเชิดชูผู้นำและนโยบายชาตินิยม จึงไม่สอดคล้องกับความคิดกระแสใหม่

และหลังจากนั้นไม่นานเมื่อบทบาทของคณะราษฎร รวมถึงจอมพล ป. เริ่มหมดบทบาทลงภายหลังการรัฐประหารปี ค.ศ.1957 ที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ ชูวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชาติ คือสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อต้านคอมมิวนิสต์

จอมพลสฤษดิ์

และคณะรัฐประหารเองพยายามลบมรดกของคณะราษฎร และจอมพล ป. ลงไป โดยชูบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาแทน ทำให้เพลงสดุดีพิบูลสงคราม ค่อยๆ เลือนหายไปจนหลายคนจำไม่ได้ว่าก่อนจะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงหนัง เคยมีสุดดีพิบูลสงครามขึ้นมาฉายก่อนที่หนังหรือภาพยนตร์จะเริ่มแสดงนั่นเอง

นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อนทางการเมือง เพราะบริบทภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลต่อเพลงสรรเสริญพระบารมี รวมถึงสดุดีพิบูลสงคราม เพียงแค่พื้นที่ในโรงหนังเรายังเห็นการเมืองได้ชัดเจนว่าอำนาจใครขึ้นใครลง การเมืองเป็นของขั้วไหน สู่สายตาสาธารณชน ซึ่งครั้งหนึ่งโรงภาพยนตร์เคยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่แทรกซึมไปสู่ประชาชนโดยเราไม่รู้ตัว ทำให้เราได้รู้ว่าก่อนจะมีสรรเสริญพระบารมี เคยมีสดุดีพิบูลสงครามในโรงหนังมาก่อน แต่เพราะขั้วอำนาจเปลี่ยนทำให้เพลงดังกล่าวค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำเรานั่นเอง

อ้างอิง

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ / ประชาไท / Luehistory / Nation / หอภาพยนตร์ /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related