svasdssvasds

โลภ ฉ้อโกงผู้อื่น ระวังตกนรกขุมที่ 4 ที่มีชื่อว่า โรรุวนรก

โลภ ฉ้อโกงผู้อื่น ระวังตกนรกขุมที่ 4 ที่มีชื่อว่า โรรุวนรก

โลภ ฉ้อโกงผู้อื่น ระวังตกนรกขุมที่ 4 ที่มีชื่อว่า โรรุวนรก นรกของผู้เบียดเบียนเอาทรัพย์ไปจากผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม

SHORT CUT

  • ประเทศไทยประเทศแห่งพุทธศาสนามีคำสอนมากมายเกี่ยวกับเรื่องบุญบาป นรกสวรรค์ รวมถึงการกระทำที่ว่าด้วยทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
  • เมื่อพูดถึงนรกในคติพุทธศาสนานั้นมี 8 ขุมด้วยกัน ขุมที่เรารู้จักกันดีคืออเวจี นรกขุมที่ 8 ที่อยู่ลึกลงไปสุด แต่มีอีกขุมหนึ่งที่เอาไว้ลงโทษผู้ที่โลภมาก และฉ้อโกงผู้อื่น นรกขุมนั้นมีชื่อว่า โรรุวนรก
  • ความเชื่อเรื่องนรกของไทยได้รับอิทธิพลความเชื่อจากพุทธศาสนา แต่กระนั้นก็มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนรกในยุคสุโขทัย ผ่านวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิพระร่วง

โลภ ฉ้อโกงผู้อื่น ระวังตกนรกขุมที่ 4 ที่มีชื่อว่า โรรุวนรก นรกของผู้เบียดเบียนเอาทรัพย์ไปจากผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม

ประเทศไทยประเทศแห่งพุทธศาสนามีคำสอนมากมายเกี่ยวกับเรื่องบุญบาป นรกสวรรค์ รวมถึงการกระทำที่ว่าด้วยทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

ขณะเดียวกันมีความเชื่อว่าผู้ทำบุญจิตใจดีมีเมตตาจะได้ขึ้นสวรรค์ ขณะที่ผู้ที่ทำผิลศีลธรรม จะต้องตกนรกหรือต้องชดใช้กรรมที่ได้ก่อเอาไว้

เมื่อพูดถึงนรกในคติพุทธศาสนานั้นมี 8 ขุมด้วยกัน ขุมที่เรารู้จักกันดีคืออเวจี นรกขุมที่ 8 ที่อยู่ลึกลงไปสุด แต่มีอีกขุมหนึ่งที่เอาไว้ลงโทษผู้ที่โลภมาก และฉ้อโกงผู้อื่น นรกขุมนั้นมีชื่อว่า โรรุวนรก

 

ต้นกำเนิดนรกแบบไทยๆ

ความเชื่อเรื่องนรกของไทยได้รับอิทธิพลความเชื่อจากพุทธศาสนา แต่กระนั้นก็มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนรกในยุคสุโขทัย ผ่านวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิพระร่วง

 

โดยไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกในสมัยสุโขทัย แต่งขึ้นโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ

"ไตร" แปลว่า สาม ส่วน "ภูมิ" แปลว่า ที่อยู่ หรือ ภพ ดังนั้น ไตรภูมิจึงหมายถึง 3 ภพ หรือ 3 ภูมิ ที่สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิด ได้แก่

กามภูมิ คือ ภูมิที่ยังมีความใคร่ มี 11 ภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี และเทวดาชั้นปาริสุทธิมรรค

รูปภูมิ ภูมิที่มีแต่รูป ไม่มีรูปธรรมหยาบ มี 16 ภูมิ เป็นภูมิของเทวดาที่มีรูปกายละเอียด

อรูปภูมิ ภูมิที่ไม่มีทั้งรูปและเวทนา มี 4 ภูมิ เป็นภูมิของเทวดาที่ไม่มีรูปกาย

เนื้อหาสำคัญในไตรภูมิพระร่วง

กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิด ในภพภูมิต่างๆ ตามกรรมที่ตนได้กระทำ พรรณนาถึงสวรรค์และนรกต่างๆ ที่สัตว์ทั้งหลายจะไปเกิดตามกรรมที่ทำ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตชาติและพระพุทธเจ้าในอนาคต เช่น พระศรีอารยเมตไตรย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำบุญกุศล เพื่อให้เกิดผลดีในชาติหน้า และเตือนให้ระวังการทำบาป เพราะจะนำไปสู่ความทุกข์ในภพหน้า

ดังนั้นไตรภูมิพระร่วงไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสือธรรมดา แต่เป็นเหมือนแผนที่ที่ชี้ทางให้คนเราเข้าใจถึงจักรวาลและชีวิตหลังความตาย ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการทำความดี และหลีกเลี่ยงการทำความชั่ว เพื่อให้ได้เกิดในภพภูมิที่ดีในอนาคต

โรรุวนรก

นรกในแต่ละขุมเองจะแบ่งโทษเกี่ยวกับการกระทำที่ได้ทำไว้ โดยนรกสำหรับผู้ที่โลภ ฉ้อโกงผู้อื่นก็มีให้เราเห็นมีชื่อว่า โรรุวนรก นรกขุมที่ 4

โรรุวนรก จะมีเสียงคร่ำครวญตลอดเวลา เป็นที่อยู่สำหรับคนโลภ ฉ้อโกง ที่ถูกลงโทษให้นอนคว่ำหน้า หัว มือ และเท้าจมอยู่ในดอกบัวเหล็ก ที่มีไฟลุกท่วม ร้องครวญครางด้วยความทุกข์ เป็นเวลา 4,000 ปี โดย 1 วันของนรกขุมนี้เท่ากับ 23 โกฏิกับอีก 4 ล้านปีโลกมนุษย์

แง่คิดที่ได้จากโรรุวนรก

แน่นอนว่าไตรภูมิมักมีคติสอนใจแฝงเสมอเพื่อให้คนไม่ทำบาปและรู้จักทำดี แง่คิดของโรรุวนรก สอนเรื่องความโลภเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งปวง การยึดติดในทรัพย์สินมากเกินไปจะทำให้เกิดความทุกข์ใจ และนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลธรรม

สิ่งที่ควรกระทำคือพอเพียงกับความต้องการของตนเอง จะนำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืน การแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่น จะช่วยลดความโลภ และสร้างบุญกุศล การทำความดีจะนำมาซึ่งผลดีในภายหลัง ช่วยให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ และเกิดในภพภูมิที่ดี

สะท้อนให้เห้นว่าศาสนาพุทธล้วนสอนให้คนเป็นคนดี พึงระวังการกระทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม สร้างบาปให้กับผู้อื่นนั่นเอง

อ้างอิง

ศมศ / SilpaMag / 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related