svasdssvasds

พบศพคนงานเพิ่มอีก 2 ราย เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟ เร่งนำร่างออกจากพื้นที่

พบศพคนงานเพิ่มอีก 2 ราย เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟ เร่งนำร่างออกจากพื้นที่

ทีมกู้ภัยฯ พบร่างคนงานที่เสียชีวิตจากเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์รถไฟเพิ่มอีก 2 ราย เตรียมเร่งนำร่างออกจากพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์การช่วยเหลือแรงงาน 3 รายที่ติดค้างภายในอุโมงค์ ซึ่งเกิดจากเหตุดินทรุดตัวภายในอุโมงค์ ตั้งแต่เมื่อเวลา 23.40 น. ของคืนวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า

ภายหลังจากที่ทีมกู้ภัยของการรถไฟฯ และทีมกู้ภัย Hunan Sunshine จากประเทศจีนสามารถนำร่างของคนงานคนแรกที่เสียชีวิตภายในอุโมงค์ออกมาได้แล้ว เมื่อวานนี้ (29 ส.ค. 67) เวลา 11.00 น.

พบศพคนงานเพิ่มอีก 2 ราย เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟ เร่งนำร่างออกจากพื้นที่

ล่าสุด วันนี้ (30 ส.ค. 67) เวลาประมาณ 06.00 น. ได้รับแจ้งจากทีมกู้ภัยว่า พบร่างคนงานที่เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย คือ นายหูเสียงหมิ่น เพศชาย สัญชาติจีน (ผู้ควบคุมงาน) นายตงชิ่นหลิน เพศชาย สัญชาติจีน (ขับรถแม็คโคร) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ขุดดินและสร้างกล่องค้ำยันทะลุกองดินเข้าไปภายในอุโมงค์ ห่างจากจุดแรก ประมาณ 3 เมตร และอยู่ระหว่างการหาวิธีเร่งนำร่างผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ออกจากที่เกิดเหตุ

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง และพร้อมให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอขอบคุณทีมงานกู้ภัย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชนทุกคน ที่มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จนสามารถพบร่างของคนงานที่ติดค้างทั้ง 3 ราย

พบศพคนงานเพิ่มอีก 2 ราย เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟ เร่งนำร่างออกจากพื้นที่

สำหรับ อุโมงค์รถไฟคลองไผ่ ช่วงคลองขนานจิตร ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นอุโมงค์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งเกิดเหตุดินทรุดตัวภายในอุโมงค์ เมื่อเวลา 23.40 น. ของคืนวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยตลอดปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานที่ติดค้างทั้ง 3 ราย ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 126 ชั่วโมง และทีมงานกู้ภัยต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งจากปัญหาดินสไลด์ลงมาจากด้านบนอุโมงค์อย่างต่อเนื่องทำให้ต้องใช้เวลาในการขุดดินเพิ่มมากขึ้น

พบศพคนงานเพิ่มอีก 2 ราย เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟ เร่งนำร่างออกจากพื้นที่

การดันท่อช่วยชีวิตแล้วติดชั้นหินจนเจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนวิธีเป็นการสร้างกล่องค้ำยัน เพื่อป้องกันดินและหินที่ไหลลงมาเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related