svasdssvasds

มนุษย์ป้าในที่ทำงานต้องระวัง Gen Z ไม่ซื้อความ Toxic พร้อมเอาคืน

มนุษย์ป้าในที่ทำงานต้องระวัง Gen Z ไม่ซื้อความ Toxic พร้อมเอาคืน

ฉอดมาฉอดกลับไม่โกง มนุษย์ป้าในที่ทำงานต้องระวัง Gen Z ไม่ซื้อความ Toxic พร้อมเอาคืน งานนี้มีหนาวหากไม่ปรับตัวองค์กรพังแน่นอน

SHORT CUT

  • คนรุ่น Gen Z (เกิดระหว่างปี 1996 ถึง 2010) กำลังเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในโลกการทำงาน โดยในปี 2024
  • พวกเขาเบื่อหน่ายความ Toxic จากมนุษย์ป้าในที่ทำงานพร้อมฉอดกลับได้เสมอ
  • Gen Z มีแนวคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างชัดเจน องค์กรและผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น โปร่งใส

 

ฉอดมาฉอดกลับไม่โกง มนุษย์ป้าในที่ทำงานต้องระวัง Gen Z ไม่ซื้อความ Toxic พร้อมเอาคืน งานนี้มีหนาวหากไม่ปรับตัวองค์กรพังแน่นอน

คนรุ่น Gen Z (เกิดระหว่างปี 1996 ถึง 2010) กำลังเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในโลกการทำงาน โดยในปี 2024 คาดการณ์ว่าคนกลุ่มนี้จะเข้ามาแทนที่ Baby Boomers ในตลาดแรงงาน 

 

Roberta Katz อดีตนักวิชาการวิจัยอาวุโสจากศูนย์การศึกษาขั้นสูงด้านพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับค่านิยม พฤติกรรม และความคาดหวังของคน Gen Z ในการทำงาน ซึ่งแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆบทความนี้นำเสนอ 8 พฤติกรรมเด่นของคน Gen Z ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กรและการทำงานยุคใหม่

1. โหยหาการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวเก่ง

Gen Z เติบโตมาในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผ่านประสบการณ์ทางสังคมที่ต่างจากคนรุ่นก่อน รวมถึงเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและโรคระบาด ทำให้พวกเขามีความคาดหวังต่อ “การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”พวกเขามีความยืดหยุ่น กล้าตั้งคำถามกับวิธีการเดิมๆ เพื่อมองหาแนวทางใหม่ๆสู่ความสำเร็จ

แน่นอนว่าเมื่อเขาเป็นพวกชอบตั้งคำถาม แล้วอยู่ดีๆ เจอคนในองค์กรที่ตอบคำถามแบบ Toxic ใส่หรือใช้คำตอบที่เหยีบดหยามพวกเขาระวังจะโดน Gen Z สวนคืน

2. เน้นลงมือทำและผลลัพธ์ มากกว่าคำบอกเล่า

ด้วยความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี พวกเขาจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง คน Gen Z จึงมักตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ไม่ยึดติดว่าผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าจะถูกต้องเสมอไป แต่จะเน้นการตรวจสอบและพิสูจน์ด้วยตนเอง

ฉะนั้นหากคุณมาอ้างเรื่องอาบน้ำร้อนมาก่อน อ้างประสบการณ์มากมายโดยที่ทำงานไม่เป็น Gen Z อาจไม่ฟังพร้อมสวนคืนด้วยว่าไปทำงานให้เป็นก่อน

3. เป็นผู้สร้างความแตกต่าง

Gen Z ไม่เพียงแค่คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ยังลงมือเรียกร้องให้เกิดขึ้นจริง พวกเขาให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมทางเชื้อชาติ และความต้องการนี้ย่อมส่งผลต่อการทำงานในองค์กรด้วยเช่นกัน

ดังนั้น Gen Z จึงมีความเป็นพลเมืองโลกและเป็นมนุษย์นิยมสูงมาก คนในองค์กรคนไหนไม่มีความเป็นมนุษย์ก็ยากที่จะทำงานกับ Gen Z ได้

4. ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม

การเติบโตมากับโลกออนไลน์และชุมชนออนไลน์ ทำให้ Gen Z คุ้นเคยกับการมีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความชอบเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ชุมชนแฟนคลับต่างๆ ที่รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นและพร้อมสนับสนุนศิลปินที่ชื่นชอบ6 ลักษณะนี้สะท้อนถึงการให้คุณค่ากับการทำงานเป็นทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

5. ต้องการผู้นำที่เก่งจริง และความโปร่งใส

อำนาจหรือตำแหน่งสูงกว่าไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันความสามารถสำหรับคน Gen Z อีกต่อไป พวกเขาให้ความสำคัญกับ “ความสามารถ ผลงาน และประสิทธิภาพ” ของผู้นำอย่างแท้จริง รวมถึงเชื่อในการบริหารงานแบบโปร่งใส ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีเสียงเท่าเทียมกัน

นั่นหมายความว่าคนไหนเก่งแบบเทียมๆ หัวใจไร้ประชาธิปไตยระวัง Gen Z จะไม่ทนกับคนอย่างคุณ

6. ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance

Gen Z ต้องการชีวิตที่สมดุล ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว พวกเขาให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต แตกต่างจากคนรุ่นก่อนที่มักทุ่มเทให้กับงานจนอาจละเลยความต้องการของตนเอง

ฉะนั้นหากสุขภาพจิตพวกเขาเสียจากความ Toxic พวกเขาก็พร้อมเอาคืนและตีจากจากองคืกรนั้นไป

7. นิยามใหม่ของ “ความภักดี” ในองค์กร

ประสบการณ์จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 และการระบาดของโควิด-19 ทำให้ Gen Z เห็นว่า แม้แต่พนักงานที่ทุ่มเทให้กับองค์กรก็อาจถูกเลิกจ้างได้ ความไม่มั่นคงนี้หล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่มองหาผลประโยชน์และความก้าวหน้าของตนเอง เป็นหลัก มากกว่าผูกติดกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่ได้ยึดติดกับองค์กรเล็กหรือใหญ่อีอต่อไป พวกเขาไม่ได้มีความภักดีกับองค์กรพร้อมขายชีวิตได้ เพราะฉะนั้นอย่าฝืนทำให้พวกเขาภักดีกับองค์กรที่ไม่ได้รักพวกเขา

8. ให้ความสำคัญกับความไว้วางใจ

ความจริงใจและซื่อสัตย์คือสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญสูงสุด พวกเขาคาดหวังให้ทุกคนในองค์กร “พูดจริง ทำจริง” และรักษาสัญญา การไม่รักษาคำพูดหรือความไม่จริงใจ อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในสายตาของคนรุ่นนี้

ดังนั้นหากสัยญาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีควรรีบทำก่อนที่ Gen Z จะหมดความอดทนและจะไม่สนอะไรอีก

สรุปได้ว่า คน Gen Z มีแนวคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างชัดเจน องค์กรและผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น โปร่งใส และให้ความสำคัญกับทั้งความก้าวหน้าขององค์กรและความสุขของพนักงานไปพร้อมๆ กัน เพราะสุดท้ายแล้วทรัพยากรมนุษย์ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร หากขาดบุคลการรุ่นใหม่ที่ไฟแรง องค์กรนั้นก็อาจจะอยู่ไม่ได้นานและตามโลกไม่ทัน

อ้างอิง

Stanford

ข่าวที่เกี่ยวข้อง