svasdssvasds

หาก “อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร” ได้เป็นนายกฯ จะกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่?

หาก “อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร” ได้เป็นนายกฯ จะกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่?

ภาคธุรกิจ และประชาชน กำลังลุ้นว่าจะได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 หลายคนจับตาว่า หาก “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกฯ จะสามารถกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่? นี่คือความหวังปากท้อง และกู้เศรษฐกิจ

SHORT CUT

  • เรื่องร้อนทางการเมืองไทยวันนี้ต้องจับตาวาระพิเศษ  (16 ส.ค. 67)  จะมีการเปิดสภาโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลชุดใหม่
  • กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยได้มีมติเสนอชื่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับพรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติพร้อมโหวตสนับสนุน
  • เอกชน และประชาชน จับตาว่าหาก “อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร” ได้เป็นนายกฯ จะกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่? มีการบ้านรออยู่มากมาย

ภาคธุรกิจ และประชาชน กำลังลุ้นว่าจะได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 หลายคนจับตาว่า หาก “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกฯ จะสามารถกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่? นี่คือความหวังปากท้อง และกู้เศรษฐกิจ

แน่นอนว่าเรื่องร้อนทางการเมืองไทยวันนี้ต้องจับตาวาระพิเศษ (16 ส.ค. 67) จะมีการเปิดสภาโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ทั้งนี้กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยได้มีมติเสนอชื่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับพรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติพร้อมโหวตสนับสนุน แน่นอนว่าอีกไม่กี่อึดใจคนไทยก็จะได้ทราบกันแล้วว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทยจะเป็นใคร แต่…ที่เป็นข่าวมาแรงเห็นจะเป็น “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปส่องมุมภาคธุรกิจเอกชน ว่ามีความเห็นอย่างไรบ้างหากได้ “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร เป็นนากยกรัฐมนตรีคนที่31

มาเริ่มกันที่ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เวลานี้ทุกฝ่ายตั้งตารอว่านายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะเป็นใคร โฉมหน้ารัฐบาลใหม่หน้าตาจะเป็นอย่างไร รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงจะเป็นใคร นโยบายเดิมของรัฐบาลชุดเดิม (รัฐบาลเศรษฐา) จะยังใช้ต่อหรือไม่หากยังเป็นรัฐบาลขั้วเดิม หรือจะมีการรื้อใหม่หมด ซึ่งจะส่งผลให้โครงการที่คิดจะทำต่าง ๆ อาจต้องมาเริ่มต้นใหม่

ทั้งนี้ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปราะบาง เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กำลังซื้อหดตัว การส่งออกไทยเผชิญปัจจัยลบจากสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ขณะที่ในประเทศมีปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนสูง (91% ต่อจีดีพี) กดทับกำลังซื้อของประชาชน ขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้าในประเทศยังถูกสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีล้มหายตายจากไปจำนวนมาก ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้รัฐบาลใหม่ต้องเร่งแก้ไข

ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งสานต่อในหลายเรื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และกำลังซื้อ ได้แก่ การการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยว ให้ได้ตามเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย 37-39 ล้านคน

ขณะที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน สิ่งนี้เป็นประเด็นที่หอการค้ามีความเป็นห่วง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาแม้ภาพการท่องเที่ยวของไทยเติบโตได้โดดเด่น แต่ในส่วนของกำลังซื้อและภาคการผลิตของไทยยังไม่ฟื้นตัวตามที่ควรจะเป็น จากค่าครองชีพของประชาชนที่อยู่ในระดับสูง และมีปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เป็นแรงกดดันให้กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว

ขณะเดียวกันเรื่องเร่งด่วนที่หอการค้าฯ อยากให้รัฐบาลใหม่เดินหน้าเต็มที่คือ

1.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ให้รวดเร็วและมากที่สุด

2.ในระหว่างเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมาก ยังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ อยากให้รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าให้ง่ายและสะดวก

และ 3.ส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นโอกาสให้ SMEs 4.ในระยะกลางและยาวให้วางแผนบริหารจัดการปัญหานํ้าท่วม และนํ้าแล้งซํ้าซาก ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตของภาคเกษตร และรายได้ของเกษตรกร

ขณะที่ นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ คือ นายกรัฐมนตรีต้องมีความสามารถในการเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายด้านการท่องเที่ยว ที่เป็นธงนำหลักของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะที่ดีพอในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะทุกประเทศต่างแข่งขันด้วยการท่องเที่ยวเช่นกัน

“กรณีที่คุณเศรษฐา ไม่ได้ไปต่อ มองว่าถ้านโยบายยกเว้นวีซ่า และ ผลักดันซอฟต์ พาวเวอร์ ที่เป็นเครื่องมือหลักผลักดันการท่องเที่ยวไม่ได้เปลี่ยนแปลง ก็คงไม่มีผลกระทบในภาพใหญ่”

มาฟังความเห็นจาก นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ขับเคลื่อนโครงการดิจิทัล วอลเล็ตต่อเนื่อง ซึ่งมีความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เพราะเวลานี้จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ประชาชนมีความกังวลถึงนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต อาจไม่เป็นไปตามกำหนดที่วางกรอบไว้ แต่ยังเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวไม่ล้มแน่นอน แต่อาจพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของการสร้างความยั่งยืนให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และแรงงาน

วันนี้เป็นอีกหนึ่งที่ภาคธุรกิจ และประชาชน ต่างเฝ้าจับตาดูการเมืองไทยอย่างใกล้ชิด และลุ้นว่านายกรัฐมนตรีคนที่31 จะเป็นใครหากเป็น อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ได้เป็นนายกฯ จะสามารถกู้เศรษฐกิจไทยได้หรือไม่? นี่คือความคาดหวังสูงสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related