svasdssvasds

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

จำใจแข่งให้ชาติศัตรู “ซน คีชุง” นักวิ่งมาราธอนชาว “เกาหลีใต้” ผู้คว้าเหรียญทองในโอลิมปิกเบอร์ลินภายใต้ร่มธง "ญี่ปุ่น”

SHORT CUT

  • ในอดีตนั้นเกาหลีถือว่าเป็นไม้เบื่อไม้เบากับญี่ปุ่นก็ว่าได้ เพราะในช่วงที่ญี่ปุ่นเรืองอำนาจได้เข้าไปยึดครองอาณาจักรโชซอนของเกาหลี
  • นำทรัพยากร บังคับแรงงานของเกาหลีใต้ให้ทำงานหนักเพื่อตอบสนองความต้องการของญี่ปุ่น
  • ซน คีซุง คือนักวิ่งมาราธอนชาวเกาหลีใต้ที่จำใจคว้าเหรียญทองโอลิมปิกเบอร์ลินปี 1936 ให้กับญี่ปุ่น จากวันที่ขมขื่นด้วยการแข่งให้ชาติอื่นสู่วันที่เขายืดอกรับใช้ชาติในนามของเกาหลีใต้ได้อย่างภาคภูมิ

จำใจแข่งให้ชาติศัตรู “ซน คีชุง” นักวิ่งมาราธอนชาว “เกาหลีใต้” ผู้คว้าเหรียญทองในโอลิมปิกเบอร์ลินภายใต้ร่มธง "ญี่ปุ่น”

ในอดีตนั้นเกาหลีถือว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับญี่ปุ่นก็ว่าได้ เพราะในช่วงที่ญี่ปุ่นเรืองอำนาจได้เข้าไปยึดครองอาณาจักรโชซอนของเกาหลี นำทรัพยากร บังคับแรงงานของเกาหลีใต้ให้ทำงานหนักเพื่อตอบสนองความต้องการของญี่ปุ่น

แต่ไม่ใช่แค่ดึงทรัพยากรที่เป็นแร่ธาตุ หรืออาหาร ของเกาหลีไปใช้อย่างเดียวเท่านั้น เพราะญี่ปุ่นยังดึงทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างมนุษย์ไปใช้แข่งให้ญี่ปุ่นในนามทีมชาติญี่ปุ่นอีกด้วย

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

SPRiNG พาไปรู้จัก ซน คีซุง นักวิ่งมาราธอนชาวเกาหลีใต้ที่จำใจคว้าเหรียญทองโอลิมปิกเบอร์ลินปี 1936 ให้กับญี่ปุ่น จากวันที่ขมขื่นด้วยการแข่งให้ชาติอื่นสู่วันที่เขายืดอกรับใช้ชาติในนามของเกาหลีใต้ได้อย่างภาคภูมิ

 

เบื้องหลังอันขมขื่นของเกาหลี

ใช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ เรียกได้ว่าเป็นชาติที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียยุคนั้น

แต่กระนั้นเองญี่ปุ่นเป็นชาติที่เป็นเกาะทรัพยากรมีอย่างจำกัด ดังนั้นเองญี่ปุ่นจำเป็นต้องแสวงหาดินแดนและทรัพยากรบนผืนดิน

เกาหลีหรืออาณาจักรโชซอน รัฐบริวารของราชวงศ์ชิงของจีน โดยที่ราชวงศ์ชิง ณ ขณะนั้นกำลังอ่อนแอหลังจากปรับตัวไม่ทันโลกตะวันตก ยังไม่อาจรักษาดินแดนของตนเองและถูกย่ำยีในสงครามฝิ่น เสียดินแดนให้ชาติตะวันตก

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงรัฐบริวารอย่างอาณาจักรเกาหลีหรือโชซอนเพราะราชวงศ์ชิงยังปกป้องตนเองไม่ได้ ย่อมต้องถูกญี่ปุ่นรุกคืบเข้ามาครอบครองแทนแบบเต็มตัว

ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ในปี ค.ศ. 1910 เป็นช่วงเวลาที่ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างจากอำนาจทั้งปวง โดยจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นมีสถานะเป็นพระประมุขแห่งเกาหลี และทรงตั้งรัฐบาลข้าหลวงใหญ่ขึ้นมาปกครองเกาหลีแบบเบ็ดเสร็จ นั่นเท่ากับว่าทั้งคนและดินแดนเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์จากการบังคับด้วยกำลังทหาร

แน่นอนว่าทรัพยากรของเกาหลีทั้งหมดทำไปเพื่อตอบสนองความต้องการของญี่ปุ่นมากกว่าเกาหลีด้วยกันเอง ไม่ว่าแรงงานรวมถึงอาหารที่ต้องส่งมอบให้ญี่ปุ่นที่กำลังเตรียมกระโจนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

ซน คีชุง นักวิ่งเกาหลีใต้ร่มเงาญี่ปุ่น

แน่นอนว่าประชาชนเกาหลีไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตตนเองได้ และต้องอยู่อย่างขมขื่นในดินแดนของตนเองภายใต้การครอบงำของญี่ปุ่น

ซน คีชุง ของเราต้องพบกับชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มาตั้งแต่เกิด เพราะเมื่อเขาลืมตาดูโลกในปี ค.ศ. 1912 เกาหลีบ้านเกิดของเขา ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองคาบสมุทรเกาหลีมาตั้งแต่ปี 1910 แล้ว

ในช่วงเวลานั้น ชาวเกาหลี รวมถึงซนต้องเผชิญกับการกดขี่ รวมถึงความพยายามกลืนชาติจากผู้รุกราน ทั้งการถูกบังคับให้เรียนแต่ภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนไปจนถึงต้องเปลี่ยนมาใช้ชื่อญี่ปุ่นด้วย

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

ด้วยพรสวรรค์ของเขา ตั้งแต่สมัยเรียนเขาได้กลายเป็นนักวิ่งที่น่าจับตาเรื่อยมา จากนั้นเขาก็กลายเป็นนักวิ่งที่น่าจับตาภายในจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังชนะการแข่งขันมาราธอนถึง 9 ครั้งจาก 12 ครั้ง ในระหว่างปี ค.ศ. 1933-1936 รวมถึงโตเกียว มาราธอน ในปี 1935 เขาสามารถทำลายสถิติโลกของ ฮวน คาร์ลอส ซาบาลา เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 1932 ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 26 นาที 42 วินาที

ในปี ค.ศ. 1936 เขาวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 3 ในรอบคัดเลือกโอลิมปิก ค.ศ.1936 และทำให้เขาได้สิทธิ์ ไปแข่งมาราธอนร่วมกับเพื่อนชาวเกาหลีอย่าง นัม ซุงยอง และ ทามาโอะ ชิวาคุ ที่เบอร์ลิน

เหรียญทองที่ขมขื่น

ในโอลิมปิกเบอร์ลินปี ค.ศ.1936 ซน คีชุง เป็นนักวิ่งที่เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะทีมชาติญี่ปุ่น และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาสามารถวิ่งเข้าเส้นชัยได้เป็นอันดับที่ 1 แต่เขานั้นไม่เคยภูมิใจกับสิ่งนี้เลย

หลังจากการแข่งขัน ซนต้องขึ้นรับขึ้นรับเหรียญทองบนโพเดียม แต่ในช่วงของการบรรเลงเพลงชาติซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาที่ภาคภูมิใจที่สุดของนักกีฬาหลายๆ คน เขากลับก้มหน้าและมีแววตาที่เศร้าหมอง

ซนได้เขียนไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของเขาว่ามันคือช่วงเวลาแห่ง "ความอัปยศอดสูอย่างเหลือทน" เพราะเพลงชาติและธงชาติที่ขึ้นอยู่ยอดเสาเป็นของญี่ปุ่น ชาติที่เขาพยายามบอกว่าตัวเองไม่ได้เป็นมาโดยตลอด

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

เข้าได้อธิบายความรู้สึกเพิ่มเติมไว้ว่า "ตอนที่ผมขึ้นไปยืนอยู่บนแท่นและเพลงชาติบรรเลงพร้อมกับเชิญธงขึ้น มันเป็นตอนที่ผมรู้สึกเสียใจกับคนที่ไม่มีประเทศ นั่นคือผม คนเกาหลีที่ชนะการแข่งขันภายใต้ธงชาติและเพลงชาติของญี่ปุ่น"

เขายิ่งปวดใจเมื่อเห็นฮาร์เปอร์นักวิ่งชาวสหราชอาณาจักรที่ได้เหรียญเงินมองไปที่ธงของชาติอย่างภาคภูมิใจ แล้วย้อนกลับมาคิดว่าทำไมบ้านเกิดของเขาอย่างเกาหลีจึงไม่มีโอกาสอย่างนี้บ้าง

"สำหรับตัวผมทั้งที่อันดับ 3 ก็เป็นคนเกาหลีเหมือนกัน แต่พวกเราต่างก้มหัวลง เรากำลังร้องไห้ มันไม่ใช่เพราะชัยชนะแต่เป็นน้ำตาแห่งความโศกเศร้าและความคับข้องใจที่มันไม่ใช่ชัยชนะของเรา" นี่คือคำพูดที่ ซนสะท้อนออกมาให้เห็นถึงความเศร้าหมองในวันที่ตนเองไม่ได้แข่งในนามชาติของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด

แต่ซนก็ไม่ได้ยอมแพ้ เขาพยายามใช้ความสำเร็จนี้เป็นเครื่องมือในการประท้วงญี่ปุ่น โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า เขาเป็นคนเกาหลีไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น แต่ผู้ดูแลกลับปฏิเสธที่จะแปลในสิ่งที่เขาพูดออกไป นี่จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกิดขึ้นกับเขาและเป็นปมที่เขาคิดว่าเขาต้องแก้ไขมันให้ได้

ยิ่งใหญ่อีกครั้งในวันที่ชาติคือเกาหลีใต้ และได้เป็นเจ้าภาพแข่งโอลิมปิก

ในช่วงชีวิตของคนเรามักคาดหวังให้ตนเองทำอะไรที่ภาคภูมิใจถึงที่สุดเสมอ ซนเองก็รอวันที่ตนเองจะลุกขึ้นมาภาคภูมิใจสักครั้งในชีวิต ซึ่งเขานั้นมีโอกาสได้เห็นมัน

นั่นคือวันที่เกาหลีได้รับเอกราชจากญี่ปุ่นหลังปี ค.ศ.1945 เพราะญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามซนก็ได้เป็นอิสระ เมื่อญี่ปุ่นกลายเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 คาบสมุทรเกาหลีได้รับการปลดปล่อยกลายเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ซนได้กลับเข้าสู่วงการวิ่งอีกครั้งในฐานะโค้ชของเกาหลีใต้ ชาติบ้านเกิดที่แท้จริงของเขา

ในปี ค.ศ. 1950 ซนได้นำลูกศิษย์พร้อมด้วยธงเกาหลีใต้ ลงแข่งในบอสตัน มาราธอน ก่อนที่หลังจากนั้นจะเป็นโค้ชให้ทีมชาติเกาหลีใต้อีกถึง 42 ปี

ซน คีชุง นักวิ่งชาวเกาหลีใต้ จำใจแข่งให้ญี่ปุ่นคว้าเหรียญทองโอลิมปิก

เขายังได้เป็นสักขีพยานในโมเมนต์สำคัญที่ ฮวาง ยองโช นักวิ่งที่เขาปลุกปั้น คว้าเหรียญทองในการแข่งขันมาราธอน ในโอลิมปิก ค.ศ. 1992 ที่บาร์เซโลน่า เนื่องจากเป็นการเบียดแย่งมาจาก โคอิจิ โมริชิตะ นักวิ่งชาวญี่ปุ่น ชาติคู่รักคู่แค้นของพวกเขา

และในปี ค.ศ.1988 เกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก ซนได้รับเกียรติให้เป็นผู้วิ่งคบเพลิงคนสุดท้ายในพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโซล และนั่นเป็นการแข่งขันที่เป็นสัญลักษณ์ว่าพวกเขาได้วิ่งอย่างภาคภูมิใจในนามชาติเกาหลีที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นอีกต่อไป

เป็นการปลดพันธนาการบาดแผลในใจของเขาตลอดชีวิตที่ได้สร้างความปีติให้กับเขาและเพื่อนร่วมชาติชาวเกาหลีตลอดไปกลายเป็นความทรงจำที่ถูกจดจำในประวัติศาสตร์ชาติเกาหลีตลอดไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด

อ้างอิง

Koreanamericanstory / Nextshark 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related