SHORT CUT
ล้อเลียนหรือไม่ได้ตั้งใจ? สรุปดราม่าการแสดงใน ‘พิธีเปิดโอลิมปิก’ ล้อเลียนภาพวาด ‘The Last Supper’ ของศาสนาคริสต์จนโดนทัวร์ลงถึงขั้นโดนถอดโฆษณา
หนึ่งในการแสดงของพิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส เมืองหลวงฝรั่งเศส วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ 2567 ที่ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คงหนีไม่พ้นการแสดงล้อเลียนภาพวาด 'The Last Supper' อาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ผลงานชิ้นเอกของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ศิลปินเอกชาวอิตาลี
มีหนึ่งในนักแสดงแต่งตัวเป็น Drag Queen แสดงเหตุการณ์จำลอง คล้ายกับภาพวาด The Last Supper ซึ่งเป็นเหตุการณ์ตามพระวรสารภาพเกี่ยวกับอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับอัครทูต ก่อนที่จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขน
จนมาสู่การตั้งคำถามของชาวคริสต์ทั่วโลกว่านี่คือการล้อเลียนหรือไม่?
อีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัท เทสลา สเปซเอ็กซ์ และ CEO ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ได้ออกมาวิจารณ์การแสดงดังกล่าวว่า การแสดงนี้ไม่ให้ความเคารพต่อคริสเตียนอย่างยิ่ง
"Unless there is more bravery to stand up for what is fair and right, Christianity will perish" แปลว่า "หากไม่มีความกล้าหาญที่จะยืนหยัดเพื่อสิ่งยุติธรรม และถูกต้องมากขึ้น ศาสนาคริสต์ก็จะพินาศไป"
ในขณะที่ บริษัท ซีสไปร์ ผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายในสหรัฐฯ ได้ออกมาระบุว่าพวกเขารู้สึกช็อกกับการล้อเลียนอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปารีส พวกเขาได้ประกาศถอดโฆษณาออกจากการเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ที่ปารีสแล้ว
เจ้าภาพไม่ได้มีเจตนาที่จะแสดงการลบหลู่ หรือไม่เคารพกลุ่มศาสนาใด ผ่านการแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันที่แม่น้ำแซน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หากมีใครรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเราขอแสดงความเสียใจอย่างถึงที่สุด
การแสดงที่มีแดร็กควีน และคนทาตัวสีฟ้า สื่อถึงเทพในปกรณัมกรีก ต้องการสื่อถึงการเฉลิมฉลองของคนนอกรีต ที่เชื่อมโยงกับเทพกรีก ไม่เคยล้อเลียน หรือด้อยค่าใครผ่านชิ้นงาน และต้องการจัดพิธีเปิดที่รวมคนเข้าด้วยกัน ประนีประนอมกัน ในขณะเดียวกันก็เพื่อตอกย้ำถึงคุณค่าแห่งเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ อันเป็นหลักการอันสำคัญของประเทศฝรั่งเศส