svasdssvasds

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ กทม. กับพวกร่วมกันชดใช้บีทีเอสกว่า 1.2 หมื่นล้าน

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ กทม. กับพวกร่วมกันชดใช้บีทีเอสกว่า 1.2 หมื่นล้าน

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ กทม. จ่ายหนี้ BTS แล้ว! ย้อนไทม์ไลน์มหากาพย์หนี้ “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ปมหนี้จ้างเดินรถ และซ่อมบำรุงส่วนต่อขยาย วงเงินรวมกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท

SHORT CUT

  • BTSC ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเรียกร้องให้กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคม ชำระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุง (O&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว
  • 26 ก.ค.67 ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) กรณีผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี
  • ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ กทม. จ่ายหนี้ BTS แล้ว! ย้อนไทม์ไลน์มหากาพย์หนี้ “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ปมหนี้จ้างเดินรถ และซ่อมบำรุงส่วนต่อขยาย วงเงินรวมกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2226/2565ที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี (ผู้ฟ้องคดี) กับกรุงเทพมหานครกับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว)
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ส่วนต่อขยายที่ 1 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลว. 3 พฤษภาคม 2555
ส่วนต่อขยายที่ 2 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส.024/59 ลว. 1 สิงหาคม 2559

กรณีผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยผู้ฟ้องคดี ได้มีหนังสือ ลว. 18 กันยายน 2563 และหนังสือ ลว. 15 มกราคม 2564 ทวงถามไปยังผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ให้ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงนำคดีมาฟ้อง)

ยังเป็นปัญหาที่ค้างคามาจนถึงทุกวันนี้ ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ที่ กทม. ค้างชำระ ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS 

ล่าสุดได้รับการชำระก้อนแรก เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 โดยเป็นการชำระหนี้ค่าติดตั้งระบบรถไฟฟ้า (E&M) ส่วนต่อขยาย รวมประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย

  • ส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง , สะพานตากสิน-บางหว้า
  • ส่วนต่อขยายที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ , หมอชิต-คูคต

 

 

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวนจำนวน 2,348,659,232 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 2,199,091,830  บาท และสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 8,786,765,195 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาท บวกร้อยละ 1 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกัน
ชำระเงิน สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ส่วนต่อขยายที่ 1จำนวน 2,348,659,232 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน  2,199,091,830.27 บาท และสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน8,786,765,195 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาท บวกร้อยละ 1 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น

 

ย้อนไทม์ไลน์ ปมหนี้ “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบั

  • วันที่ 15 ก.ค. 2564

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเรียกร้องให้กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคม ชำระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุง (O&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน - วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง (ส่วนต่อขยายที่ 1) ระหว่างเดือน พ.ค.2562 ถึง พ.ค.2564 และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต (ส่วนต่อขยายที่ 2) ระหว่างเดือน เม.ย.2560 - พ.ค.2564 ทุนทรัพย์ประมาณ 12,000 ล้านบาท (เรียกว่า “คดี O&M1”)

  • วันที่ 7 ก.ย. 2565

ศาลปกครองกลางพิพากษาคดี O&M 1 ให้ กทม. และกรุงเทพธนาคม ร่วมกันชำระหนี้ให้ BTSC ตามคำฟ้องทั้งหมดประมาณ 11,755.06 ล้านบาท โดยให้ชำระภายใน 180 วัน นับตั้งแต่คดีเป็นที่สิ้นสุด

  1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 รวมประมาณ 2,348.65 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้นประมาณ 2,199.09 ล้านบาท และดอกเบี้ยอีกประมาณ 149.56 ล้านบาท (ค้างชำระหนี้ตั้งแต่เดือนพ.ค.2562 ถึงพ.ค.2564)
  2. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 รวมประมาณ 9,406.41 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้นประมาณ 8,786.76 ล้านบาท และดอกเบี้ยประมาณ 619.65 ล้านบาท (ค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เดือนเม.ย.2560 ถึงพ.ค.2564)
  • วันที่  22 พ.ย. 2565 

BTSC ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเรียกร้องให้ กทม. และกรุงเทพธนาคม ชำระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุง (O&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ระหว่างเดือน มิ.ย.2564 ถึงเดือน ต.ค.2565 ทุนทรัพย์ประมาณ 11,068.50 ล้านบาท (เรียกว่า “คดี O&M 2”) ปัจจุบันคดี O&M2 อยู่ระหว่างการวินิจฉัย และทำคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

  • วันที่ 6 ต.ค. 65 

กทม. และ KT ยื่นอุทธรณ์คดี O&M 1 ต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง

  • วันที่ 17 ส.ค. 2566

ศาลปกครองสูงสุดนัดพิจารณาคดี O&M 1 ครั้งแรก ตุลาการผู้แถลงคดีได้มีความเห็นให้ยืนตามศาลปกครองกลาง ที่มีคำพิพากษาให้ กทม. และ KT ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงส่วนต่อขยาย

  • วันที่ 26 ก.ค.67

ปัจจุบันหนี้ค่าจ้างงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง (O&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว คดี O&M 1 และคดี O&M 2 อยู่ที่ประมาณ 39,000 ล้านบาท

ล่าสุดวันศุกร์ที่ 26 ก.ค. 2567 เวลา 09.00 น. ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.2226/2565 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี)

โดยคดีดังกล่าวศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน แบ่งเป็น

  • หนี้ค่าจ้างเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 2,199,091,830.27 บาท
  • หนี้ค่าจ้างเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 8,786,765,195.47 บาท
  • ตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาทบวกร้อยละ 1 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

ด้าน บล.กรุงศรี จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าหากศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จะเป็นประโยชน์ต่อ BTS ในหลายๆ ด้าน

  1. ช่วยเพิ่มกระแสเงินสดของ BTS เนื่องจาก BTS รับรู้รายได้จากข้อตกลง O&M ในส่วนขยายสีเขียวในงบกำไรขาดทุน อย่างไรก็ตาม จะต้องบันทึกรายได้นี้เป็นลูกหนี้ค้างชำระ (AR) จาก KT ในงบดุล เมื่อได้รับการชำระเงิน O&M สิ่งนี้จะกลับ AR เป็นกระแสเงินสดให้กับ BTS
  2. จะมีผลกระทบเชิงบวกต่อการฟ้องร้องที่คล้ายกันโดย BTS ต่อ กทม.และ KT โดยขอให้ชำระเงิน 11.068 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย และ BTS ก็มีคดีคล้าย ๆ กัน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของศาลชั้นต้น

นอกจากนี้ คำตัดสินของศาลฎีกาอาจบอกเป็นนัยว่าสัญญา O&M ระหว่าง BTS และ KT อาจมีผลให้ กทม. และ KT จะต้องเริ่มชำระเงิน O&M ให้กับ BTS ตามการดำเนินงานปัจจุบันด้วย
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศาลปกครองสูงสุด” นัดพิพากษาคดีหนี้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.2 หมื่นล้าน

เปิดผลงาน ชัชชาติ ผู้ว่ากทม.ฯ 2 ปี ใช้หนี้ BTS 23,000 ล. ไม่คิดตั้งพรรคการเมือง

BTS จัดแคมเปญ “1 สถานี = 1 พอยท์” สะสมพอยท์แลกเที่ยวเดินทางฟรี !