svasdssvasds

“ชายรักชาย” เรื่องแสนธรรมดาในสมัย กรีกโบราณ-ซามูไรญี่ปุ่น

“ชายรักชาย” เรื่องแสนธรรมดาในสมัย กรีกโบราณ-ซามูไรญี่ปุ่น

“ชายรักชาย” เรื่องแสนธรรมดาในสมัยกรีกโบราณ-ซามูไรญี่ปุ่น สะท้อนคุณค่าความสัมพันธ์ในอดีตที่เคยถูกแต่ปัจจุบันถูกให้ผิดเสียอย่างนั้น

SHORT CUT

  • “ชายรักชาย” เรื่องแสนธรรมดาในสมัย กรีกโบราณและซามูไรญี่ปุ่น
  • ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา ศาสนจักรคริสต์ออกกฎหมายห้ามการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการลงโทษอย่างรุนแรง
  • ทางออกของปัญหาดังกล่าว คือเราต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น หรือความแตกต่างทางด้านเพศสภาพ

“ชายรักชาย” เรื่องแสนธรรมดาในสมัยกรีกโบราณ-ซามูไรญี่ปุ่น สะท้อนคุณค่าความสัมพันธ์ในอดีตที่เคยถูกแต่ปัจจุบันถูกให้ผิดเสียอย่างนั้น

ความรักคืออะไรเหตุไฉนถูกกำหนดให้เป็นเพียงเรื่องของหญิงชาย ? เป็นความเชื่อที่มีมานานแล้วจริงหรือไม่ที่ชายต้องรักกับหญิงหญิงต้องรักกับชาย ?

คำตอบนั้นคือไม่ใช่เพราะหากเราย้อนไปมองอดีตไม่ว่าจะเป็นกรีกโบราณในโลกตะวันตก หรือสังคมญี่ปุ่นในยุคซามูไรในโลกตะวันออก จะพบว่าชายรักชายเป็นเรื่องปกติไม่ได้ผิดแปลกอะไร 

จักพรรดิโรมันและคู่รักชายของเขา

ในทางตรงกันข้ามผู้ชายมีสัมพันธ์กับหญิงเพียงเพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องผลิตประชากรเท่านั้น SPRiNG พาไปย้อนประวัติศาสตร์ ความรักของชายกับชายจากโลกของชาวกรีกถึงโลกซามูไร เพราะเรื่องรักเป็นเรื่องปกติ แต่เพราะอิทธิพลของศาสนาและภาระหน้าที่ทำให้สิ่งนี้กลายเป็นเรื่องผิดปกติเสียอย่างนั้น

กรีกโบราณชายรักชายคือเรื่องปกติ

ในยุคกรีกโบราณ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย 2 คน มีชื่อเรียกว่า Pederastic Relationships หรือ เปเดรัสตี (Pederasty) แปลตรงตัวตามภาษากรีกว่า “ผู้รักเด็กชาย” พฤติกรรมดังกล่าวคือพฤติกรรมที่ชายที่เป็นผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-40 ปี จะจับคู่กับเด็กผู้ชายวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ชายผู้มีอายุมากกว่าจะเป็นผู้ดูแลเด็กชายในลักษณะ Mentor คือ เป็นที่ปรึกษา สอนเรื่องต่างๆ แก่เด็กชาย ทั้งการดำเนินชีวิต สังคม วิชาการ และเรื่องอื่นๆ รวมถึงเรื่องเพศด้วย

รูปปั้นชายเปลือกายของกรีกโบราณ

โดยฝ่ายชายที่เป็นผู้ใหญ่เรียกว่า อีราสเตส (Erastes) ส่วนเด็กชายที่รับการดูแลจะเรียกว่า อีโรเมนอส (Eromenos)

นอกจากผู้ชายที่มีอายุมากกว่าจะมีหน้าที่ดูแลเรื่องวิชาการและการดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขายังมีความพิเศษ คือ เขาจะแสดงความรักที่มีต่อเด็กหนุ่มด้วยการมีสัมพันธ์ทางเพศ โดยฝ่ายชายที่มีอายุมากกว่าเป็นฝ่ายรุก ส่วนเด็กหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าเป็นฝ่ายรับหรือสนองตอบความต้องการนั่นเอง

แต่การแสดงจะเน้นกิจกรรมร่วมเพศภายนอกเท่านั้นโดยทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ล่วงล้ำภายในของกันและกัน เพราะเชื่อว่าเป็นการรักษาศักดิ์ศรีความเป็นชายของทั้ง 2 ฝ่าย ถึงอย่างนั้น ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าเปเดรัสตีสแต่ละคู่รักษาขนบนี้อย่างเคร่งครัดมากน้อยแค่ไหน

สถาปัตยกรรมกรีก

แต่เมื่อเด็กหนุ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องยุติลง เพราะความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ด้วยกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ยกเว้นการซื้อทาสมาบำเรอกาม)

หลักฐานดังกล่าวพบเพิ่มเติมในสมัยโบราณมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ "อคิลิส" และ "แพโทรคลัส" ในมหากาพย์อีเลียด เรื่องของ “เอล็กซานเดอร์มหาราช” กับ “เฮเฟสเตียน” แห่งมาซิโดเนีย ตลอดจนสืบทอดมาถึงยุคโรมันที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีกมีหลักฐานบันทึกเรื่องของระหว่าง “จักรพรรดิเฮเดรียน” แห่งจักรวรรดิโรมันกับเด็กหนุ่มชาวกรีกที่ชื่อ “แอนทิโนอุส” อีกด้วย

อคิลิสที่ตำนานเชื่อว่าเป็นชายรักชาย

และโรมันโบราณมีความเชื่อทางศาสนาว่าร่างกายเปลือยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้หญิง การแยกชายหญิงออกจากกันจึงเป็นการรักษาความสุภาพและความเป็นส่วนตัว โรงอาบน้ำโรมันมักมีพื้นที่จำกัด การแยกชายหญิงออกจากกันช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ตัวอย่างเช่นการ์ราคัลลา (Caracalla) โรงอาบน้ำสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม แยกชายหญิงออกจากกันอย่างชัดเจน

ภาพจิตรกรรมฝาผนังกรีก

และชายกับชายเองยังพบรักกันที่โรงอาบน้ำสาธารณะอีกด้วยเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี: พบภาพวาดและประติมากรรมที่สื่อถึงกิจกรรมทางเพศของชายรักชายในหลายๆ โรงอาบน้ำ เช่น โรงอาบน้ำการ์ราคัลลา (Caracalla) และไดโอคลีเชียน (Diocletian) หรือวรรณกรรม: มีการเขียนถึงกิจกรรมทางเพศของชายรักชายในโรงอาบน้ำในวรรณกรรมโรมันโบราณ เช่น ผลงานของกวี Juvenal

ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันของพลเมืองของแต่ละรัฐที่มีความรักสามัคคีกันอย่างลึกซึ้งทั้งด้านการเมืองและเป็นเพื่อนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันในสนามรบด้วย

ซามูไรญี่ปุ่นความสัมพันธ์ของชายรักชายที่เรียกว่า "ชูโด"  

ข้ามมาที่ญี่ปุ่นช่วงเซนโกคุ (1647-1603) จนถึงช่วงเอโดะ (1603-1868) วัฒนธรรมชายรักชายหรือ Shudo แพร่หลายและเป็นเรื่องปกติในสังคมซามูไร

Shudo คือประเพณีของซามูไรประกอบด้วย ซามูไรอาวุโสซึ่งจะถูกเรียกว่า Nenja และ ซามูไรเด็กหนุ่มถูกเรียกว่า Wakashu โดยทั้งคู่นั้นจะมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและลึกซึ้งในทุกๆ เรื่องรวมถึงเรื่องเพศด้วย เพราะทำให้การถ่ายทอดทักษะการเป็นนักรบจากครูไปสู่ศิษย์สามารถทำได้ดีขึ้น ตรงจุดนี้จะต่างกับชายรักชายทั่วๆ ไปเพราะ Shudo นั้นถือเป็นเรื่องของเกียรติของซามูไร โดยทั้งคู่จะมีความผูกพันกันถึงขนาดตายแทนกันได้เลยทีเดียว

ซามูไรชายญี่ปุ่นออกสู้รบเคียงข้างกัน

Nenja และ Wakashu จะมีคู่กันแค่คนเดียวเสมอ โดยในเรื่องของเพศสัมพันธ์นั้นจะหยุดลงเมื่อซามูไรที่เด็กกว่าอายุถึงกำหนดกลายเป็นผู้ใหญ่แล้วนั่นเอง ซึ่งความสัมพันธ์จะเปลี่ยนกลายเป็นมิตรสหายแทน โดย Nenja ผู้เสีย Wakashu ไปก็จะสามารถหาซามูไรหนุ่มคนใหม่มาแทนได้ และ Wakashu ที่เติบใหญ่ไปเป็น Nenja แล้ว ก็สามารถหา Wakashu ของตนเองได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขาทั้งคู่ไม่ได้ถูกห้ามในการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงแต่อย่างใดเลย

ความคล้ายกันในสังคมนักรบ

หากสังเกตจะพบว่าวัฒนธรรมในสังคมกรีกโบราณกับซามูไรญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายกันในเรื่องของชายรักชาย และทั้ง 2 วัฒธรรมเป็นสังคมนักรบที่ต้องการให้ผู้ชายเป็นแถวหน้าในการปกป้องรัฐหรือเมืองของตนด้วย

อเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์กรีกที่เชื่อว่าเป็นชายรักชาย

เราอาจสันนิษฐานได้หรือไม่ว่าสังคมที่เป็นสังคมนักรบ สังคมที่ต้องต่อสู่ตลอดเวลามีรัฐเล็กรัฐน้อยจำนวนมาก ล้วนสร้างปรัชญาความสามัคคีของพลเมืองชายโดยให้พวกเขาล้วนรักกันถ่ายทอดวิชาให้กันทั้งยามบ้านเมืองสงบและยามสงคราม ขณะที่เพศหญิงนั้นมักถูกจำกัดให้เป็นพลเมืองชั้น 2 หรือเครื่องผลิตลูกมากกว่าการมีความรักระหว่างชายกับหญิง

สถานะของเพศหญิงเป็นเรื่องของหน้าที่มากกว่าความรัก

เมื่อสังคมให้ค่ากับความเป็นชายหรือชายรักชาย สิ่งที่ตามมาคือคำถามว่าผู้หญิงต้องอยู่ในสถานะไหน เป็นพลเมืองหรือไม่ และพวกเธอมีหน้าที่อะไรในสังคม

เมื่อความรักเป็นเรื่องของเพศชายผู้หญิงในกรีกโบราณมีหน้าที่เพื่อผลิตลูก

เมื่อชายรักชายเป็นเรื่องความรักแล้วเพศหญิงจะอยู่ตรงไหนของสังคมกรีกโบราณ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือนครเอเธนส์ผู้ชายต้องแน่ใจว่าลูกๆ ของภรรยาทั้งหมดเป็นของเขา และเพื่อไม่ให้เธอถูกล่อลวงผู้หญิงมักถูกขังไว้ในห้องพักของผู้หญิงและมีผู้ชายคอยติดตามไปด้วยทุกครั้งที่เธอออกไปข้างนอก 

สังคมนักรบที่เป็นเรื่องของผู้ชายอย่างซามุไรญี่ปุ่น

หากเธอถูกจับได้ว่ามีชายอื่นชายคนนั้นอาจถูกฆ่าหรือถูกนำตัวขึ้นศาล และเมื่อผู้หญิงแต่งงานเธอต้องกลายเป็นทรัพย์สินชิ้นหนึ่งที่โอนจากพ่อของเธอ (หรือผู้ปกครองชายคนอื่น) ไปให้สามีของเธอ

และผู้หญิงเองไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ออกเสียงหรือร่วมหาลือการบ้านการเมืองในสภากรีกโบราณ นั่นเท่ากับว่าสถานะของเธอไม่อยู่ในสถานะพลเมืองเป็นเพียงทรัพย์สินของผู้ชายเท่านั้น และที่สำคัญการมีเพศสัมพันธ์กับสามีนั้นเป็นเพียงหน้าที่ที่พวกเธอมีหน้าที่ผลิตลูก สร้างประชากรของรัฐเท่านั้นเอง

สตรีญี่ปุ่นยุคซามูไรมีสถานะเป็นตัวประกันและแต่งงานเชื่อมความสัมพันธ์

สตรีญี่ปุ่นยุคซามูไรอยู่ในสถานะของการเป็นทูตหรือตัวประกัน โดยสังคมที่ถูกปกครองโดยทหารและมีการทำสงครามเป็นเวลายาวนาน ส่งผลต่อสถานะของสตรี สตรีหลายคนที่มีสถานะเป็นตัวประกันและ ทูต เนื่องจากการแต่งงานของชนชั้นทหารในสมัยนี้ มีความสำคัญต่อการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก

ปราสาทเป็นทั้งที่ปลอดภัยและที่คุมขังผู้หญิง

การแต่งงานเป็นการผูกรวมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว หรือกลุ่มของทหาร โดยเฉพาะในสมัยเซ็งโงะกุตัวอย่างเช่นน้องสาวของ โอดะโนะบุนะงะ และโฮะโซะกะวะกราเซียบุตรสาวของอะเกะจิมิสึฮิเดะ ซึ่งกลายเป็น โศกนาฏรรมในชีวิตของสตรีเหล่านี้ เนื่องจากสตรีใน สมัยนี้เป็นผู้ที่ต้องเสียสละเพื่อครอบครัวและบ้านเมือง หลายคนที่จะต้องเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยต้อง แต่งงานเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตระกูล และหลายคนต้องมีการแต่งงานและหย่าร้างหลายครั้ง ในชีวิต

ปราสาทโอซาก้า

เรียกได้ว่าพวกเธอไม่สามารถเลือกที่จะรักใครได้เลย และพวกเธอเปรียบเสมือนเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าที่ผู้ชายจะมอบความรักให้เธอเสียด้วยซ้ำไป

และสถานะของพวกเธอจะตกต่ำลงอีกหากไม่มีลูกหรือไม่มีลูกชายสืบทอดตระกูลนั่นเท่ากับว่าในยุคสังคมนักรบนี้สถานะของผู้หญิงล้วนไม่มั่นคง ตกต่ำ รวมถึงเป็นพลเมืองชั้น 2 ที่ไม่มีสิทธิเท่าเทียมผู้ชายเลย

แล้วชายรักชายเริ่มเป็นเรื่องที่ผิดตอนไหน

เมื่อศาสนาคริสต์ มีบทบาทสำคัญในการตีตราความสัมพันธ์ชายรักชายว่าเป็นบาป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา ศาสนจักรคริสต์ออกกฎหมายห้ามการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การประหารชีวิตกลุ่มชายรักชาย 

หรือในจักรวรรดิโรมันหลังจากยอมรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาตินั้นได้เริ่มมีการประหารชีวิตชายรักชายไม่ว่าจะจับโยนให้สัตว์กินในโคลอสเซียม หรือจับพวกเขาตรึงกางเขน

ภาพการตรึงกางเขน

หรือในสังคมตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลจากลิทธิขงจื่อ และศาสนาพุทธ ที่ให้ความสำคัญกับครอบครัว และการสืบทอดทายาท ประกอบกับในญี่ปุ่นเองภายหลังปฏิรูปเมจิอิทธิพลของลัทธิซามูไรเริ่มหมดบทบาทลง ส่งผลให้เกิดมุมมองต่อความสัมพันธ์ชายรักชายที่แตกต่างกันไป ในบางสังคม ความสัมพันธ์ชายรักชายอาจถูกมองว่าขัดต่อค่านิยมดั้งเดิม

และปัจจุบันกฎหมายในหลายประเทศเอเชียยังไม่ยอมรับการสมรสเพศเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของสังคมในเชิงบวกมากขึ้น เกิดขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของ LGBTQ+

การแสดงออกและต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมของชาว LGBTQ+

ทางออกของปัญหาดังกล่าว คือเราต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น หรือความแตกต่างทางด้านเพศสภาพ ไม่ต้องจำกัดว่าความรักต้องเป็นเรื่องของชายชาย หญิงหญิง หรือหญิงชาย เพราะสุดท้ายแล้วความรักเป็นของทุกคน และคนที่มีความรักล้วนมีสิทธิเลือกที่จะรักใครโดยที่ไม่มีอะไรมีขวางกั้นได้

อ้างอิง

SilpaMag1 / SilpaMag2 / BrandThink / YoungPrideClub / OS / GreeLane

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related