เปิดข้อมูลเส้นทางการบินที่มีเหตุการณ์เครื่องบินตกหลุมอากาศมากที่สุดในโลก 10 อันดับของปี 2566 ญี่ปุ่นและจีน ติดอยู่ในลิสต์ กวาดเรียบ 6 เส้นทาง
จากเหตุระทึกขวัญของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ 321 เจออากาศปั่นป่วนระดับรุนแรง ทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศ ทางดิ่งเป็นระยะทาง 1,536 ฟุต (1.6 กิโลเมตร) ในเวลาเพียง 3 วินาที เป็นเหตุทำให้มีผู้โดยสารบาดเจ็บจำนวนมากและเสียชีวิต 1 ราย
ซึ่งการที่เครื่องบินตกหลุมอากาศเกิดขึ้นในทุกระดับความสูง ซึ่งอาจทำให้เครื่องบินเสียการควบคุมร่วงหล่นจากเพดานบินปกติ และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่บนเครื่องบินได้ โดยสภาพอากาศแปรปรวนถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการบิน Clear Air Turbulance – CAT หรือหลุมอากาศ ที่เกิดจากกระแสลมปั่นป่วนอย่างรุนแรงที่ระดับความสูงเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินโดยสาร
หลุมอากาศ (Turbulence) คือ บริเวณที่ความหนาแน่นของอากาศไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดแรงลมกระโชกแรงและอากาศปั่นป่วน เวลาเครื่องบินบินอยู่กลางอากาศ ต้องใช้แรงยกจากอากาศที่เคลื่อนที่ผ่านปีกไป ซึ่งโดยปกติแล้ว อากาศจะมีความหนาแน่นเท่ากัน และเคลื่อนที่สม่ำเสมอไปพร้อมกัน แต่บางครั้งเมื่ออากาศส่วนบน และส่วนล่างมีความเร็วในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน หรือมีความหนาแน่นต่างกันมากๆ บริเวณรอยต่อจึงเกิดการปั่นป่วน และเคลื่อนที่คล้าย ๆ กับระลอกคลื่น เมื่อเครื่องบินบินผ่านเข้าไปในบริเวณนี้จึงเกิดการสั่นสะเทือน เหมือนตกหลุม
เมื่อเกิดหลุมอากาศขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเครื่องบินอาจทำให้นักบินสูญเสียการควบคุมเครื่องบินชั่วขณะ และผู้โดยสารอาจได้รับบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงได้ รวมทั้งอาจเกิดความเครียดและความวิตกกังวลตามมา
ขณะที่เว็บไซต์ Turbli วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความปั่นป่วน (turbulance) ในการบิน เปิด 10 เส้นทางบินที่มีโอกาสเจอหลุมอากาศที่รุนแรงมากที่สุด วัดจากค่าเฉลี่ย EDR หรือ eddy dissipation rate ดังนี้
โดยปกติแล้ว นักบินจะศึกษาเส้นทางที่อาจเกิดหลุมอากาศอย่างดี และพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางนั้น อย่างไรก็ดี เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เวลาอยู่บนเครื่องบินผู้โดยสารก็ควรรัดเข็มขัดนิรภัยไว้ตลอดการเดินทาง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง