svasdssvasds

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคล

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคล

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคลชีวิต ร่วมกิจกรรมเวียนเทียนยามค่ำคืน บูชาพระพุทธศาสนาระลึกถึงคุณงามความดีของพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคล

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ ความหมายโดยย่อ

ปีนี้ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่ง "วิสา - ขบุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" สรุปเป็นข้อๆคือ

  • เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่สวนลุมพินีสถาน ประเทศอินเดียว เมื่อ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ประมาณปี พ.ศ.294 หรือก่อนพุทธศักราช 80 ปี 
  • ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา
  • พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง 

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคล

กิจกรรม วันวิสาขบูชา 22 พ.ค. 2567 

  • ทำบุญใส่บาตร ถวายภัตตาหารที่วัดเนื่องในวันพระใหญ่

  • กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร

  • ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ปล่อยนกปล่อยปลา สร้างบุญกุศล

  • เวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

วันวิสาขบูชา ประวัติ ความสำคัญ บทสวดวันพระใหญ่ และหลักธรรมเสริมมงคล

วันวิสาขบูชา บทสวด - หลักธรรมเสริมมงคล

ยึดถือ ปฏิบัติ หลักอริยสัจ 4 "ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ"

ทุกข์ - เข้าใจความเป็นไปของชีวิต การเกิด แก่ ตาย คือสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญ และ "ทุกข์จร" คือสิ่งที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน อาทิ ความจน อุบัติเหตุ หรือความสูญเสีย

สมุทัย - เข้าใจต้นเหตุของปัญหา ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เป็นผลของการกระทำโดยมีต้นเหตุมาจาก "ตัณหา" ความต้องการ อยากได้ อยากมี ไม่มีที่สิ้นสุด

นิโรธ - ภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา

มรรค - เจริญภาวนาเพื่อนำไปสู่หนทางไปสู่การดับทุกข์ ประกอบด้วยแนวทาง 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

 

บทสวดบูชาวันวิสาขบูชา (ที่บ้าน หรือที่วัด)

(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
วิสาขะ ปุณณะมายัง โยชาโต อันติมะชาติยา
ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต
โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย
นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา
อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา
อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง
สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง
ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง สะยัมภุโน
ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ
ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ
ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร มาลาวิกะติอาทะโย
ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง
ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง
พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ

 

บทสวดมนต์เวียนเทียนวันวิสาขบูชา 

บทสวนเวียนเทียน รอบที่หนึ่ง ระลึกถึงพระพุทธ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วัชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ 

บทสวนเวียนเทียน รอบที่สอง ระลึกถึงพระธรรม

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทสวนเวียนเทียน รอบที่สาม ระลึกถึงพระสงห์

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

 

 

 

Cr. ภาพปก สสส.

 

related