เป็นประจำทุกปีในวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน จะร่วมเข้าวัดทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปัจจัย ในปีนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ได้จัดประเพณีตักบาตรดอกไม้ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
ตักบาตรดอกไม้ ปีนี้ชุ่มฉ่ำ ก่อนที่จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักแต่พอถึงเวลาเริ่ม ฝนได้หยุดตก ทำให้พุทธศาสนิกชน และ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเป็นจำนวนมากต่างพากันดีใจที่ได้ชำระล้างก่อนถือศีลในวันเข้าพรรษา ซึ่งการใส่บาตร ดอกไม้ ที่สืบทอดมานาน และ จัดขึ้นทุกปี หลังจากสถาณการณ์ โควิด 19 ทำให้ ประเพณีนี้หยุดไป โดยในปีนี้ มีพุทธศาสนิกชน ชาวพุทธ และ ชาวต่างชาติ ให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก ต่างพาลูกหลาน มาพับกลีบดอกบัว เพื่อใช้ใส่บาตร
ข่าวที่น่าสนใจ
ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรดอกไม้ ตามความเชื่อของชาวพุทธ การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง โดยปรากฎตาม พุทธตำนานว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายถึง วันละ 8 กำมือ วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตร นายมาลาการสังเกตุเห็นพรรณรังษี ฉายประกาย รอบ ๆ พระวรกาย ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อย่างยิ่ง นายมาลาการตัดสินใจนำดอกมะลิที่มีไปถวายแด่ พระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม ครั้นภรรยานายมาลาทราบความ ก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร ก็หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก และได้ปูนบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมาชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข
สำหรับฆราวาส ในช่วงเข้าพรรษา ถือเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชนจะได้บำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัด ทำบุญตักบาตรดอกไม้ ทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีลเจริญภาวนา งดเว้นอบายมุข และสิ่งที่พิเศษซึ่งต่างจากวันสำคัญอื่นๆ คือมีการถวายเทียนพรรษา ซึ่งวัดหลายแห่งจะจัดประเพณี การหล่อเทียนพรรษาขึ้นและนำเทียนที่หล่อนี้ไป ถวาย
เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้จุดบูชาพระประธานในพระอุโบสถตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เป็นงานบุญครั้งใหญ่ที่ชาวพุทธทั้งหลายเข้าร่วม