เปิดข้อกฎหมาย การ ห้ามขายเหล้าเข้าพรรษา วันพระใหญ่ ติดคุกนานเท่าใด ? และเรื่องราวนี้ มี จุดเริ่มต้นมาจากรัฐบาลไหน ?
ในประเทศไทย เรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ อ่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และผู้คนสามารถหาซื้อได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม การกินดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย ถือเป็นกิจกรรมที่ถูกควบคุมโดยกฎหมายของรัฐ เพราะมีกฎหมายควบคุม กฎหมายห้ามขายอยู่ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายการจำกัดเวลาขาย การห้ามขายในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ การห้ามโฆษณาหรือการโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดล้วนเป็นการจำกัด/ข้อห้าม ที่มีที่มาจากกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551 ที่ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งเรื่องของเวลาขายและการห้ามโฆษณา ถือเป็นเพดานที่จำกัดและกระทบต่อทั้งนักดื่ม และกระทบการเกิดใหม่ของแวดวงผู้ผลิตสุรา-เบียร์รายเล็กด้วย
ทราบหรือไม่ว่า เพียงแค่โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงบนโซเชียลมีเดีย ก็อาจจะเข้าข่ายว่าผิด พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 32 และอาจได้รับโทษปรับหลายแสนบาทเลยทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ วันพระใหญ่ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา 2566 นี้ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นการขายได้ 2 กรณีเท่านั้น
- ร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ
- ผู้ผลิต นำเข้า หรือตัวแทนของผู้ลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดย การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทั้งขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักร ตลอด 24 ชั่วโมง (เริ่มนับตั้งแต่หลังเวลา 24.00 น.ของวันก่อนหน้าไปจนถึงเลา 24.00 น. ของวันที่ห้าม)
• กฎหมายห้ามขายเหล้า ห้ามขายแอลกอฮอล์ วันพระใหญ่ เริ่มตอนไหน
สำหรับ กฎหมายห้ามขายเหล้า ห้ามขายแอลกอฮอล์ วันพระใหญ่ ทั้งวันมาฆบูชา , วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหาบูชา เริ่มต้นมาในช่วงหลังจากเกิดการปฏิวัติปี 2549
- มรดรจากสภาฯแต่งตั้งหลังรัฐประหาร 2549 (พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
• บังคับใช้สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประกาศสำนักนายกฯ เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2552)
• รัฐบาล คสช. เพิ่มวันห้ามขายเหล้า ขายแอลกอฮอล์ "วันออกพรรษา" เพิ่งอีก 1 วัน (ประกาศสำนักนายกฯ เรื่องกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 รัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม”
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น
ในส่วนของการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายมีทั้ง
อวดอ้าง โฆษณาสรรพคุณ ว่ามีการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้สุขภาพและชีวิตดีขึ้น
ใช้เซเลบ ดารา นักกีฬา หรือเด็กต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เป็นผู้โฆษณา
แสดงภาพสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ชักจูง เชิญชวนในซื้อ
ให้รางวัล ของแถม ชิงโชค
ใช้ภาพการ์ตูน
โฆษณาเกินเวลา (22.00-05.00 น.)
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 หมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 32 การปรับวันละไม่เกิน 50,000 บาท ถ้ายังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะทำให้ถูกต้อง
สำหรับการโฆษณาที่ทำได้ไม่ผิดกฎหมาย
1.โฆษณาตามที่กฎหมายกำหนด
2.ให้ข่าวสารความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม และไม่แสดงภาพสินค้า ยกเว้น ภาพสัญลักษ์ หรือ สัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
3.โฆษณาที่ถ่ายทอดสดจากต่างประเทศ เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลที่เห็นสัญลักษณ์สินค้า