svasdssvasds

กทม. ยัน ผังเมืองไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ก้าวไกลฟาดร่างผังเมืองใหม่

กทม. ยัน ผังเมืองไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ก้าวไกลฟาดร่างผังเมืองใหม่

กทม. ยัน ผังเมืองรวมไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ พรรคก้าวไกล เริ่มเปิดประเด็น ฟาดโจมตีว่า มี 10 ข้อสังเกต ผังเมืองกทม. ใหม่ สะท้อนปัญหาการพัฒนาแบบกระจุกความเจริญ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกำหนด โดย กทม. พร้อมขยายเวลาชวนประชาชนแสดงความคิดเห็นถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567

วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นต่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) โดยมี รศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางชูขวัญ นิลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ในวันที่ 9 มกราคม 2567 

 วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า  ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งโดยปกติจะมีการปรับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน/การปรับผังเมืองใหม่ทุก 5 ปี ในการนี้ กรุงเทพมหานครโดยสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองได้ดำเนินโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ในปี พ.ศ. 2560 – 2562 เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป 

ต่อมาในปี 2562 ได้มีพระราชบัญญัติการผังเมืองใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผังเมืองรวมมีรายละเอียดเพิ่มเติมจาก 4 แผนผังเป็น 6 แผนผัง ประกอบด้วย แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท แผนผังแสดงที่โล่ง แผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแผนผังแสดงผังน้ำ จึงต้องมีการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้

กทม. ยัน ผังเมืองไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ก้าวไกลฟาดร่างพังเมืองใหม่
 

สำหรับการวางและจัดทำผังเมืองรวมตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย 18 ขั้นตอน ดังนี้ 
1. กรุงเทพมหานครได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผังเมืองให้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม 
2. จัดเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 
3.วางและจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 
4. คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม 
5. ประชุมรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชน 
6. ประมวลผลความคิดเห็นของประชาชนและนำมาปรับปรุงร่างผังเมืองรวม 
7. คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม 
8. กรมโยธาธิการและผังเมืองให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม 
9. คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดให้ความเห็นชอบต่อร่างผังเมืองรวม 
10. ปิดประกาศ 90 วัน และให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นคำร้องขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดของผังเมืองรวม 
11. รวบรวมคำร้อง และจัดทำความเห็นประกอบคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย 
12. คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครพิจารณาคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย 
13. คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดพิจารณาคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย 
14. กรมโยธาธิการและผังเมืองให้ความเห็นต่อการพิจารณาคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย 
15. คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดแจ้งผลการพิจารณาคำร้องให้ผู้ยื่นคำร้องทราบ
 16. แก้ไขปรับปรุงร่างผังเมืองรวมตามมติคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด 
17. ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับผังเมืองรวม 
18. ประกาศข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในราชกิจจานุเบกษา

กทม. ยัน ผังเมืองไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ก้าวไกลฟาดร่างพังเมืองใหม่
 

 วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า

 เนื่องจากเมืองกรุงเทพฯ มีการพัฒนา ฟื้นตัว และมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับนโยบายหลักที่อยากทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน เมืองที่มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เมืองที่ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเท้า ฯลฯ การปรับผังเมืองจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะนำสิ่งที่เราอยากให้มีบรรจุในผังเมืองใหม่ ซึ่งไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนกลุ่มใด หากมีการได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการปรับผังสีจะต้องแบ่งส่วนหนึ่งของพื้นที่ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์สาธารณะ  

โดยขณะนี้กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างดำเนินการขั้นตอนที่ 5 คือได้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชนแล้ว 7 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ณ ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง สำนักงานเขตมีนบุรี ในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2 กลุ่มกรุงเทพกลาง ณ ห้องบางกอก ชั้น บี 2 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ครั้งที่ 3 กลุ่มกรุงธนใต้ ณ ห้องประชุมเอกชัย 1 ชั้น 2 สำนักงานเขตบางบอน ในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ครั้งที่ 4 กลุ่มกรุงเทพเหนือ ณ ห้องประชุมเบญจจินดา โรงเรียนวัดหลักสี่ ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ครั้งที่ 5 กลุ่มกรุงธนเหนือ ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานเขตบางพลัด ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 ครั้งที่ 6 กลุ่มกรุงเทพใต้ ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานเขตคลองเตย ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 และครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร (50 เขต) ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง ในวันที่ 6 มกราคม 2567 พร้อมเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นหนังสือแสดงความคิดเห็นเพื่อให้มีผลเกี่ยวกับสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยขยายระยะเวลาการยื่นหนังสือได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 (เดิมสามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 22 มกราคม 2567) 

นางชูขวัญ นิลศิริ รองผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง  ยืนยัน ผังเมืองรวม ไม่เอื้อประโยชน์นายทุน แบบที่ก้าวไกลฟาดร่างพังเมืองใหม่

ในส่วนของช่องทางการแสดงความคิดเห็น ได้แก่ ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 45 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ยื่นทางเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร https://webportal.bangkok.go.th/cpud ยื่นทางเว็บไซต์โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร https://plan4bangkok.com หรือโทรศัพท์ 0 2354 1275

รับฟังการแถลงข่าวย้อนหลังได้ที่เฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร https://fb.watch/pspnIYoFyW/?mibextid=2JQ9oc

สำหรับ ประเด็น ผังเมืองกรุงเทพฯ กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เนื่องจาก พรรคก้าวไกล นำโดย  แบงค์  ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.ก้าวไกล กทม. เริ่มตั้งข้อสังเกต 10 ข้อกังวล ผังใหม่กรุงเทพฯ เมืองเหลื่อมล้ำ กระจุกความเจริญ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกำหนด ? 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related