ชวนมาทำความรู้จักกับ มรดกโลกของไทย ที่ได้รับการรับรองจาก ยูเนสโก ทั้งในมุม มรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ และ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ตอนนี้มีอะไรบ้าง ?
ถือเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ล่าสุด สงกรานต์ไทย ได้กลายเป็น มรดกโลกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ จากการรับรองของ "ยูเนสโก" UNESCO
โอกาสนี้ ขอชวนมาทำความรู้จักกับ มรดกโลกของไทย ที่ได้รับการรับรองจาก ยูเนสโก ทั้งในมุม มรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ และ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ก่อนอื่นเลย ต้องเท้าความ ทำความรู้จัก คำว่า มรดกโลก คืออะไร กันก่อน แล้ว ทำไมต้องมีการรับรอง ?
คำว่า “มรดกโลก” (World Heritage) มีความหมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่มีความโดดเด่น ทรงคุณค่าในระดับสากล เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในขอบเขตดินแดนของประเทศใด ถือได้ว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งหมด
ส่วนประเด็นว่า ทำไมต้องรับรองมรดกโลกนั้น เหตุผลของเรื่องนี้ ก็คือเพราะต้องการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลก ในการคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ให้คุณค่าความโดดเด่นเป็นมรดกของมวลมนุษยชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตตลอดไป เพราะ ทุกอย่างมันมีคุณค่า และ หากเราไม่รักษาไว้ มันอาจโดนกัดกร่อน ทำค่อยๆเสื่อมสลายไป ตามเข็มกาลเวลา
ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตาม อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ หรือ "อนุสัญญาคุ้มครอง มรดกโลก" (The World Heritage Convention) ที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมใหญ่สมัยสามัญครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 และโดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 (1975) เป็นต้นมา
มรดกโลกแบบที่เป็นสถานที่ หรือสิ่งที่จับจ้องได้ มีอะไรบ้าง ?
1. มรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural World Heritage) ประกอบด้วย ผลงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม แหล่งโบราณคดี ที่มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในมิติประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา เช่น เมมฟิส และเนโครโพลิส - ทุ่งพีระมิดจากกีซาถึงดัชเชอร์ (Memphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur) ประเทศอียิปต์
2. มรดกโลกทางธรรมชาติ (Natural World Heritage) : ประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพและทางชีวภาพ หรือกลุ่มสภาพทางธรรมชาติ ที่มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลในมิติวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ และความงดงามตามธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน (Grand Canyon National Park) ในสหรัฐอเมริกา ภูมิทัศน์หินผาอันสวยงามตระการตาเกิดจากการสึกกร่อนของหิน ประกอบกับการยกตัวของเปลือกโลก จนกลายเป็นร่องเหวลึกสลับซับซ้อน ซึ่งต้องใช้เวลานับล้านปี เป็นต้น
3. แหล่งมรดกโลกแบบผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Mixed Cultural and Natural World Heritage) พิจารณาจากแหล่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ส่วนใด ส่วนหนึ่งของมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไท่ซาน (Mount Taishan) ประเทศจีน ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นภาพสะท้อนคติทางความเชื่อในวัฒนธรรมจีน
โดยในประเทศไทยนั้น มี 7 สถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากในอดีตที่ผ่านมา โดย มรดกโลกของไทย ณ เวลานี้ (2566) ได้รับการขึ้นทะเบียน ทั้งหมด 7 แห่ง ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 4 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ได้แก่
โดย ประเด็นที่ควรโฟกัส สำหรับคนทั่วไปนั้น ก็นั่นคือ การเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของ 3 สถานที่ในไทยนั้น ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่สำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ เท่านั้น แต่ยังถือเป็นแหล่งสำคัญในการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ขณะที่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นหมวดหมู่ในวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ยังมีอีกหลายรายการเตรียมพิจารณาลงทะเบียนกับองค์การยูเนสโก โดยประเทศไทย ณ เวลานี้ มี 4 ความภาคภูมิใจ ได้แก่
"โขน" ถูกขึ้นทะเบียนในปี 2561
"นวดไทย" ถูกขึ้นทะเบียนในปี 2562
"โนรา" ของภาคใต้ ถูกขึ้นทะเบียน ในปี 2564
และล่าสุด สงกรานต์ในประเทศไทย" ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของไทย ในวันที่ 6 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา
ที่มา
whc.unesco whc.unesco worldheritagesite.onep.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง