ท่ามกลางไฟสงครามและความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ที่เริ่มปะทุอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2023 ในช่วงเวลาที่การโจมตีจากทั้ง 2 ฝ่ายมีขึ้นอยู่เนื่องๆ ในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ ผู้นำโลกอย่างสหรัฐ ก็แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า หนุนหลัง "อิสราเอล" เต็มที่
วันที่ 18 ตุลาคม 2023 โจ ไบเดน ถึงอิสราเอล ในช่วงเวลาที่ พื้นที่ ณ ตรงนี้ กำลังเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมอย่างรุนแรงในฉนวนกาซ่า ก่อนที่อิสราเอลจะส่งกำลังทหารภาคพื้นดินบุกเข้าจู่โจม มีความเป็นไปได้ที่ โจ ไบเดน จะใช้โอกาสเยือนอิสราเอลครั้งนี้ เพื่อหารือถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษธรรมเข้าไปยังฉนวนกาซา
โดย โจ ไบเดน มีกำหนดการเยือนกรุงเทลอาวิฟเป็นแห่งแรก ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศจอร์แดน เพื่อเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์อัลดุลลาห์แห่งจอร์แดน และร่วมหารือกับประธานาธิบดีอียิปต์ อับเดล ฟัตตาห์ เอล-ซิสซี และประธานาธิบดีของชาวปาเลสไตน์ มาห์มูด อับบาส ต่อไป
การมาท่ามกลางไฟสงคราม ของ โจ ไบเดน ตีความได้อย่างชัดเจนว่า เขาต้องการจะบอกให้โลกรู้ว่า สหรัฐฯ หนุนหลัง อิสราเอล และเป็นไหล่ให้อิสราเอลพิง และโจ ไบเดน ก็ประกาศคำสัญญาว่าจะ “ยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอล” และขอประณามการกระทำของกลุ่มฮามาสที่เปิดฉากโจมตีและจับตัวประกัน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
หลายคนอาจจจะสงสัยว่า แล้ว เพราะเหตุผลใด สหรัฐฯ ที่อยู่ไกลออกไปหลายพันกิโลเมตร และมีมหาสมุทรแอตแลนติกคั่น จึงแสดงท่าที และจุดยืน อิสราเอล , เรื่องนี้ คงต้องย้อนกลับไปไกล ตั้งแต่อิสราเอล ตั้งประเทศ เมื่อปี 1948 หรือเมื่อ 75 ปีที่แล้ว (โลกเพิ่งจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นเวลา 4 ปี โดยในช่วงสงครามโลกนั้น ชาวยิวเผชิญกับความอคติ ความเกลียดชัง และการกดขี่ข่มเหง มานาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิว 6 ล้านคน ถูกพรรคนาซีเยอรมันและผู้สนับสนุนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือที่เรียกว่าเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ ) ซึ่งจากแนวความคิด การรวมตัวกันก่อตั้งประเทศ ชาวยิวซึ่งอยู่กระจัดกระจายทั่วโลก ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ต้องการกลับมาตั้งรกรากในดินแดนเยรูซาเล็ม เพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิว
แต่ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลานั้น ดินแดนตรงนี้ ได้เป็นของชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับอื่น ๆ ไปแล้ว แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น แต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น แฮร์รี ทรูแมน เป็นผู้นำโลกคนแรกที่รับรองรัฐยิวแห่งใหม่ ถึงจะยังไม่มีสถานะเป็นประเทศอย่างเป็นทางการก็ตาม
การกระทำของแฮร์รี่ ทรูแทน ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ คนที่ 33 เป็นที่ยอมรับและชื่นชมในอิสราเอลมาก ถึงขั้นมีการตั้งชื่อหนึ่งในชุมชนเกษตรว่า “ฟาร์ทรูแมน” (Kfar Truman) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รายนี้ด้วย
เวลาต่อมา ในช่วง สมัยของประธานาธิบดี ดไวต์ ไอเซนฮาวเออร์ , ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิสราเอล ได้ร่วมกันโจมตีอียิปต์ในปี 1956 เพื่อพยายามยึดคลองสุเอซและโค่นล้มประธานาธิบดี กามาล อับเดล นัสเซอร์ ของอียิปต์ ทำให้ไอเซนฮาวเออร์ต้องกดดันประเทศเหล่านี้ให้ถอนทหาร และเขาไม่พอใจที่อิสราเอลไปร่วมวงในการโจมตีประเทศอื่น
ส่วนในยุคของ จอห์น เอฟ.เคนเนดี แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เขาได้บริหารประเทศ แต่ เคเนดี ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิสราเอล จึงได้พยายามหาทางส่งผู้ตรวจสอบของสหรัฐฯ เข้าไปในพื้นที่นิวเคลียร์ และระงับโครงการนิวเคลียร์ของอิสราเอล
จากนั้น ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อิสราเอล เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นในยุคของประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสัน โดยเขาให้ความช่วยเหลือและจัดหาสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ให้อิสราเอลในช่วงหลายปีก่อนสงคราม 6 วันในปี 1967
ต่อมาในสมัยของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้เกิด “สงครามยมคิปปูร์” ขึ้นในปี 1973 โดยแนวร่วมรัฐอาหรับ ซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำ ได้เปิดฉากโจมตีอิสราเอล สหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของนิกสัน ตัดสินใจช่วยสนับสนุนอิสราเอล โดยการส่งความช่วยเหลือให้ทางอากาศ รวมถึงมีการส่งมอบอาวุธให้ด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การสนับสนุนอาวุธของสหรัฐฯ ในช่วงโลกสงครามเย็น และ ในช่วงที่อิสราเอล ก่อร่างสร้างประเทศนั้น มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของอิสราเอล ณ เวลานั้นมากๆ
ส่วนในการโจมตีและปะทะกันครั้งนี้ ใน ตุลาคม 2023 ทันทีที่ มีการปะทะกันในวันที่ 7 ตุลาคม ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาสว่า "ไร้สามัญสำนึก" พร้อมยืนยันว่าสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลในการป้องกันตนเองตามที่อิสราเอลต้องการ
"สหรัฐฯ ยืนเคียงข้างประชาชนอิสราเอลในการเผชิญกับการโจมตีของผู้ก่อการร้าย และอิสราเอลมีสิทธิในการป้องกันตนเองและประชาชนของตน" ไบเดนแถลงที่ทำเนียบขาว โดยมี แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ร่วมด้วย และจากนั้น ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ไบเดน ก็มา ปรากฏตัว บนแผ่นดินของอิสราเอลทันที.
และเมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้ว , ก่อนการมาเยือน , ประธานาธิบดีไบเดนได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลก่อนแล้ว โดยทำเนียบขาว ระบุว่า สหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง โดยจะมอบความช่วยเหลือด้านการทหารให้แก่อิสราเอลเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงเครื่องกระสุน ขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศ “ไอเอิร์นโดม” (Iron Dome) เรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่อิสราเอลแล้ว 3,800 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ไม่ใช่ สหรัฐฯ ประเทศเดียว ที่มีท่าทีอยู่เคียงข้าง อิสราเอล เพราะนับตั้งแต่มีการปะทะตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2023 บรรดาผู้นำยุโรปต่างออกมาประณามการโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาส พร้อมทั้งแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับอิสราเอล อาทิ
เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ชี้ว่า การโจมตีของกลุ่มฮามาส “เป็นการก่อการร้ายในรูปแบบที่เลวทรามและน่ารังเกียจที่สุด” และ “อิสราเอลมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองจากการโจมตีที่ชั่วร้ายเช่นนี้” , ฝั่งนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ของเยอรมนี กล่าวว่า “เยอรมนีขอประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาส และขอยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอล”
ขณะที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ออกมาประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดยเรียกว่าเป็น ‘การโจมตีของผู้ก่อการร้าย’ ต่ออิสราเอล พร้อมแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้ประสบภัยและครอบครัว
ด้านสหราชอาณาจักรได้ประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาสต่ออิสราเอล โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ เจมส์ เคลฟเวอร์ลี โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียว่า “สหราชอาณาจักรจะสนับสนุนสิทธิของอิสราเอลในการปกป้องตนเองตลอดไป” เช่นเดียวกับเบลเยียม, สาธารณรัฐเช็ก, กรีซ, โปแลนด์ , อิตาลี และสเปน ที่ออกมาประณามการโจมตีเช่นกัน
Credit ภาพปก : reuters
ข่าวที่เกี่ยวข้อง