ย้อนภาพสันติภาพในอดีต ที่อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว มีฉากภาพจับมือกันระหว่างอดีตผู้นำอิสราเอล ยิทซัก ราบิน กับ ยัสเซอร์ อาราฟัต อดีตผู้นำ PLO 1และเกิด ข้อตกลงออสโลครั้งแรก เมื่อปี 1993 แต่ทว่า สุดท้าย สันติภาพ ตอนนี้ มันได้กลายเป็นฝุ่นไปแล้ว
ย้อนภาพสันติภาพในอดีต ที่อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว มีฉากภาพจับมือกันระหว่างอดีตผู้นำอิสราเอล ยิทซัก ราบิน กับ ยัสเซอร์ อาราฟัต อดีตประธานองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) โดยมีนายบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ เวลานั้น อยู่ตรงกลาง จนเกิดข้อตกลงออสโลครั้งแรก เมื่อปี 1993 แต่ทว่า สุดท้าย ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ตอนนี้ สันติภาพ ตอนนี้ มันได้กลายเป็นฝุ่นไปแล้ว
ท่ามกลางไฟความรุนแรงระหว่างอิสราเอล กับ กลุ่มฮามาส ณ ตุลาคม 2023 ตอนนี้ , ใครหลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่า พื้นที่ตรงนี้ เคยเกิดสันติภาพในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว , โดยในอดีต เคยเกิด “ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords)” ซึ่งนับมาซึ่ง รางวัลโนเบลสันติภาพ 1994 ด้วย
ย้อนเวลากลับไปตอนนั้น “ยัสเซอร์ อาราฟัต” อดีตผู้นำปาเลสไตน์ เคยผลักดันการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งกับอิสราเอล แม้ทั้ง 2 จะขัดแย้งและมีปัญหากันมาอย่างยาวนาน
โดยมีการลงนามกับ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization: PLO) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายปาเลสไตน์ ซึ่งมี ยิทซัก ราบิน ผู้นำอิสราเอล จับมือกัน และมี บิล คลินตัน เป็นตัวเชื่อม และตอนนั้น ทำให้เกิด กำหนดขอบเส้นดินแดนใหม่ระหว่าง 2 ประเทศนี้ ทั้งนี้ ‘ฉนวนกาซา’ และ ‘เวสต์แบงก์’ ตามข้อตกลงจะตกเป็นของปาเลสไตน์ ด้วย
อย่างไรก็ตาม คงต้องขอปูพื้น เล่าก่อนว่าการเมืองใน ปาเลสไตน์ ก็เปิดศึกชิงอำนาจกันเองเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในฝั่งของอาราฟัต และ กลุ่มฮามาส (Hamas) ที่ขบเหลี่ยม กันอยู่ และต้องยืนยันตรงนี้ ว่า กลุ่มฮามาส ไม่ใช่ ตัวแทนปาเลสไตน์ , และ ปาเลสไตน์ ไม่ใช่ตัวแทนกลุ่มฮามาส , แต่ทั้ง 2 มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการเป็นประเทศปาเลสไตน์
โดย ฮามาส ก็คือกลุ่มชาวมุสลิมปาเลสไตน์ติดอาวุธ ที่ได้ก่อตั้งตนเองขึ้นในปี 1987 ซึ่งแยกตัวออกมาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ในประเทศอียิปต์ และกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ก็ต่อต้านแนวทาง และการตัดสินใจของยัสเซอร์ อาราฟัต อดีตผู้นำปาเลสไตน์มาตลอดนับตั้งแต่ที่มี ข้อตกลงออสโล มา กลุ่มฮามาสเองก็ แสดงออกชัดเจนว่าไม่พอใจ และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดของอาราฟัต
แต่ ทราบกันหรือไม่ว่า กว่าที่ยัสเซอร์ อาราฟัตได้เลือกใช้วิธีประนีประนอม เจรจาอย่างสันติวิธี จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1994 ร่วมกับนายกรัฐมนตรียิทซัก ราบิน ของอิสราเอล และรัฐมนตรีการต่างประเทศ ชิมอน เปเรส ของอิสราเอล , เขาก็คือเด็กชายคนหนึ่งที่มีความเกลียดชังอิสราเอล หรือ ชาวยิว และพร้อมถือปืนเพื่อยืนหยัดความเป็นธรรมให้แก่ปาเลสไตน์สู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์อย่างเคย
โดย ในปี 1969 ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหารของ PLO องค์กรร่วมที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1964 โดยสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งจนถึงตอนนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวอียิปต์ และภาพของอาราฟัตสู่ชาวโลกก็ชัดเจนขึ้น
จากที่ก่อนหน้านี้ PLO อยู่ภายใต้รัฐอาหรับ เมื่ออาราฟัตขึ้นบังลังก์ทำให้ขั้วอำนาจเปลี่ยนมือ PLO ไม่ได้เป็นองค์กรหุ่นเชิดของรัฐอาหรับอีกต่อไป กลายเป็นองค์กรชาตินิยมอิสระ
โดย เนื้อหาของข้อตกลงออสโลครั้งแรก (ลงนามวันที่ 13 ก.ย. 1993) ถือเป็นข้อตกลงที่อิสราเอลและปาเลสไตน์ ยอมรับสถานะกันและกันเป็นครั้งแรก ทั้งสองฝ่ายยังแสดงเจตจำนงยุติความขัดแย้งระหว่างกันที่ยืดเยื้อมายาวนาน (ข้อตกลงออสโลครั้งที่ 2 มีพิธีลงนามเมื่อปี 1995 โดยข้อตกลงนี้ถูกตั้งความหวังว่าจะนำไปสู่การลงรายละเอียดในกระบวนการทางสันติมากขึ้น)
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มที่มีแนวคิดทางการเมืองในฝ่ายขวาของอิสราเอลไม่เห็นด้วยกับแนวทางผ่อนปรนใด ๆ และไม่ต้องการทำข้อตกลงกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การลงนามในข้อตกลงเมื่อปี 1993 นำมาสู่รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพซึ่งทั้งยิทซัก ราบิน และนายยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับในปี 1994 จากความพยายามสร้างสันติในพื้นที่ตะวันออกกลาง แต่สุดท้าย มันก็เป็นเพียงความสงบ ชั่วคราวเท่านั้น
เพราะ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนในปาเลสไตน์ (รวมถึงในอิสราเอลด้วย) ที่เห็นด้วยกับท่าทีใหม่ของอาราฟัต เพราะคนกลุ่มใหญ่ยังต้องการให้เขาสนับสนุนวิธีความรุนแรงต่อต้านอิสราเอลอยู่ รวมถึง กลุ่มฮามาส ซึ่งมองว่าชาวปาเลสไตน์ควรได้พื้นที่เดิมคืนทั้งหมด และมองว่า PLO ประนีประนอมจนมากเกินไปในการลงนามข้อตกลงออสโล
ทั้งนี้ สนธิสัญญาสันติภาพออสโล (Oslo Accord) ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นพยานและคนกลางในการเจรจา โดยกำหนดขอบเส้นดินแดนใหม่ระหว่าง 2 ประเทศนี้ ทั้งนี้ ฉนวนกาซา และ เวสต์แบงก์ ตามข้อตกลงจะตกเป็นของปาเลสไตน์ , และ ในช่วง ปลายเดือนตุลาคม 1994 นายราบิน ยังเจรจากับกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดน และร่วมกันลงนามสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน
ห้วงเวลาหลังจากนั้น ยิทซัก ราบิน พยายามผลักดันแนวทางสันติในช่วงต้นยุค 90s กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเมื่อปี 1995 ภายหลังเข้าร่วมการชุมนุมเดินขบวนเพื่อสันติภาพในเทล อาวีฟ ซึ่งสนับสนุนข้อตกลงออสโล
ในวันที่ความตายเดินทางมาถึง , วันที่ 4 พ.ย. 1995 หลังจากการชุมนุมเดินขบวนเสร็จสิ้นแล้ว ขณะที่นายราบิน เปิดประตูรถที่จอดด้านหลังเวทีเพื่อเดินทางกลับ เขาถูกชาวยิวหัวรุนแรงยิง 2 นัด (จากการยิง 3 นัด กระสุนนัดที่ 3 โดนบอดี้การ์ดของนายราบิน)
โดยภายหลังนายราบิน เสียชีวิตลง จากควันไฟปืนที่ทะลวงร่างกาย , ฉากทัศน์การเมืองอิสราเอลในระยะหลังตกเป็นของกลุ่มฝ่ายขวาและกลุ่มการเมืองสายกลาง พรรคแรงงานในอิสราเอลไม่สามารถหาผู้นำทางการเมืองที่จะมานำเสนอทางเลือกแบบที่นายราบิน เคยกระทำ ซึ่งต้องอาศัยทักษะที่ผสมผสานกันระหว่างความมุ่งมั่นที่จะประนีประนอมเพื่อสันติ กับความน่าเชื่อถือและพลังทางการเมืองที่มากพอสำหรับขับเคลื่อนแนวทางนี้
Credit ภาพปก : Getty Image
ข่าวที่เกี่ยวข้อง