ทั่วโลกจับตามอง อินเดียมุ่งหน้าทำภารกิจใหม่ สำรวจดวงอาทิตย์ กับ “ยานอาทิตยา-แอล 1” (Aditya-L1) ที่จะสามารถสังเกตดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา และต่อเนื่องที่สุดมากกว่าปฏิบัติการณ์ชาติไหน
หลังจากที่อินเดียประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดวงจันทร์แล้ว ตอนนี้องค์การอวกาศแห่งอินเดียได้เริ่มภารกิจใหม่ นั่นคือการปล่อยจรวดสำรวจดวงอาทิตย์โดยยานที่มีชื่อว่า ยานอาทิตยา-แอล 1 (Aditya-L1)
ภารกิจนี้ของอินเดียไม่ได้เป็นภารกิจศึกษาดวงอาทิตย์ครั้งแรก เพราะนาซาได้เคยส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงอาทิตย์เพื่อทำการศึกษามาแล้วนั่นก็คือ "ยานอวกาศพาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ" ซึ่งได้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า "โคโรน่า" มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เพียงแค่ 13 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น
แต่การส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งนี้ของอินเดียมีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ เพราะเมื่อยานอวกาศไปถึงจุดหมายที่ต้องการซึ่งห่างจากดวงอาทิตย์มากถึง149ล้านกิโลเมตรแล้ว
ยานจะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์อย่างชัดเจนตลอดเวลา และจุดนั้นแหละที่จะเพิ่มความได้เปรียบซึ่งจะแตกต่างจากภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งก่อนๆ เพราะนี่จะสามารถสังเกตการณ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ รวมถึงอิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อสภาพอากาศในอวกาศแบบเรียลไทม์
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2023 คืออีกวันที่ทั่วโลกจับตามองกับ ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ ของ ยานอาทิตยา-แอล 1 เมื่อทางองค์กรวิจัยอวกาศของอินเดีย หรือ ไอเอสอาร์โอ ได้มีการถ่ายทอดสดการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศผ่านทางเว็บไซต์ขององค์กรเอง โดยการถ่ายทอดสดครั้งนี้มีผู้เข้าชมมากกว่า 860,000 คน ขณะที่อีกหลายพันคนก็มารวมตัวกันที่แกลเลอรีใกล้กับจุดปล่อยจรวด เพื่อดูการเคลื่อนตัวของยานสำรวจ "ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลมสุริยะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการรบกวนบนโลกที่มักพบเห็นได้ในแสงออโรรา"
หลังจากนั้นไม่นาน องค์กรวิจัยอวกาศของอินเดียได้โพสต์ข้อความลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X หรือชื่อเดิมที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Twitter บอกว่า "ขณะนี้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรแล้ว"
ยานอาทิตยา-แอล 1 ตั้งชื่อตามคำภาษาฮินดี ที่แปลว่า "ดวงอาทิตย์" เริ่มต้นภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ต่อทันที เพียงไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่อินเดียเอาชนะรัสเซียนำยานลงจอดบนขั้วใต้ดวงจันทร์ได้สำเร็จ ซึ่งแม้รัสเซียจะมีจรวดที่ทรงพลังกว่า อย่าง Luna-25 แต่ความสามารถของ Chandrayaan-3 ของอินเดียก็ไม่แพ้ใคร และถือเป็นชาติแรกของโลกที่ทำสำเร็จ
ไอเอสอาร์โอ ใช้จรวดที่ทรงพลังน้อยกว่าที่ใช้สำหรับภารกิจสำรวจห้วงลึกของอวกาศ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงเพื่อเดินทางให้ไกลขึ้นแทน ส่งผลให้ระยะเวลาที่ยานอวกาศจะเดินทางไปถึงจุดหมายใช้เวลานานขึ้น เมื่อเทียบกับการเดินทางไปดวงจันทร์และดาวอังคาร แต่ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงมาก
ไอเอสอาร์โอ หวังว่าภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์นี้ จะได้ข้อมูลที่ช่วยให้เราเข้าใจคุณลักษณะของดวงอาทิตย์ ยกตัวอย่างเช่น วงโคโรนา (ภาพวงที่ซับซ้อนเกิดจากการบิดเบี้ยวของแม่เหล็กดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นภายในดวงอาทิตย์) การปลดปล่อยมวลของดวงอาทิตย์ แสงสุริยะ และคุณลักษณะอื่น ๆ เช่นเดียวกับ พลวัตของสภาพอวกาศ
และนักวิทยาศาสตร์ในโครงการยังหวังอีกว่าจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์ ที่มีต่อดาวเทียมหลายพันดวงในวงโคจร ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับความสำเร็จของการร่วมลงทุน เช่น เครือข่ายการสื่อสาร Starlink ของ Elon Musk
นายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย นเรนทรา โมดี ได้ผลักดันภารกิจบนอวกาศของอินเดียให้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลกที่ครอบงำโดยสหรัฐอเมริกาและจีน
“เรามั่นใจว่าเราจะสามารถเก็บข้อมูลเฉพาะที่ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์อื่นๆยังไม่สามารถทำได้” ซันการ์ ซูบรามาเนียน นักวิทยาศาสตร์หลักของภารกิจกล่าว
ตอนนี้ "วงโคจรต่ำของโลก" ซึ่งเป็นระยะทางจากพื้นโลกขึ้นไปไม่เกิน 2,000 กิโลเมตร เป็นวงโคจรที่ดาวเทียมจะสามารถโคจรรอบโลกได้ ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ กำลังได้รับมลพิษอย่างหนัก ดังนั้นการทำความเข้าใจวิธีการปกป้องดาวเทียมจะมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
ในระยะยาว ข้อมูลจากภารกิจนี้อาจช่วยให้เข้าใจผลกระทบของดวงอาทิตย์ที่มีต่อรูปแบบภูมิอากาศของโลกและต้นกำเนิดของลมสุริยะ ซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคที่ไหลจากดวงอาทิตย์ผ่านระบบสุริยะได้ดีขึ้น
ด้วยแรงผลักดันของ Modi อินเดียได้พัฒนาเรื่องการสำรวจอวกาศมากขึ้นและกำลังมองหาลู่ทาง จะเปิดภาคส่วนนี้ให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดการเปิดตัวทั่วโลกถึงห้าเท่าภายในทศวรรษหน้า
เมื่อ "อวกาศ" จะกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ประเทศนี้ก็กำลังติดตามความสำเร็จของ ISRO เพื่อแสดงความสามารถของตนในภาคส่วนนี้ และอาจกลายเป็นมหาอำนาจใหม่ที่ทั่วโลกต้องหันมาโฟกัสในไม่ช้า
บทความอื่นที่น่าสนใจ
อ้างอิงบทความ