กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ฉบับที่ 2 เตรียมรับมือ "พายุฤดูร้อน" ช่วง 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 2566 หลายพื้นที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ วันไหนจังหวัดไหนโดนบ้างเช็กเลย
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัย พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 2 (122/2566) มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2566
วันที่ 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 9 พายุฤดูร้อน ถล่มหนัก 63 จังหวัดเตรียมรับมือ
อุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อนถล่ม ประเทศไทย 25-26 เม.ย. พื้นที่ไหนโดนบ้างเช็กเลย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 29 เมษายน 2566
วันที่ 30 เมษายน 2566
วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2566
ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา