svasdssvasds

ทำไม ยาสึเกะ ใน AC Shadows มีปัญหามากกว่าซามูไรผิวขาวในหนัง !

ทำไม ยาสึเกะ ใน AC Shadows มีปัญหามากกว่าซามูไรผิวขาวในหนัง !

"ยาสึเกะ ซามูไรผิวดำใน Assassin’s Creed Shadows จุดชนวนดราม่า: เส้นแบ่งระหว่างการตีความประวัติศาสตร์กับการบิดเบือนอยู่ตรงไหน?"

SHORT CUT

  • แฟนเกมเฝ้ารอการนำเสนอฉากหลังเป็นยุคซามูไรของญี่ปุ่น แต่เมื่อ Ubisoft เปิดตัวเกมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมปีที่แล้ว กลับได้รับเสียงวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะจากชาวญี่ปุ่นที่ไม่พอใจเนื้อหาในเกมอย่างรุนแรง
  • ตัวละครหลักในเกมคือ "ยาสึเกะ" ชายผิวดำจากโมซัมบิก ซึ่งเคยเป็นทาสและกลายมาเป็นผู้ติดตามของ "โอดะ โนบุนางะ" ขุนศึกสำคัญของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 16 แม้ยาสึเกะจะมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่การนำเสนอเขาในบทบาท "ซามูไรผิวดำ" ยังคงเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ายาสึเกะได้รับยศหรือสถานะเป็น "ซามูไร" อย่างแท้จริงหรือไม่
  • บทความยกตัวอย่างสื่อบันเทิงอื่น ๆ ที่นำเสนอตัวละครชาวต่างชาติในบทบาทซามูไร เช่น นวนิยาย "Shōgun" และภาพยนตร์ "The Last Samurai" ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งที่มีการปรับแต่งประวัติศาสตร์เช่นกัน ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมการนำเสนอยาสึเกะใน Assassin’s Creed Shadows จึงถูกวิจารณ์มากกว่า

"ยาสึเกะ ซามูไรผิวดำใน Assassin’s Creed Shadows จุดชนวนดราม่า: เส้นแบ่งระหว่างการตีความประวัติศาสตร์กับการบิดเบือนอยู่ตรงไหน?"

แฟนเกมซีรีส์ Assassin’s Creed เฝ้ารอกันมานานหลายปี กับความหวังว่าจะได้เห็นภาคหนึ่งที่พาผู้เล่นย้อนเวลาสู่ยุคซามูไรของญี่ปุ่น เพราะมองแบบกว้าง ๆ มันน่าจะเป็นการจับคู่ที่ลงตัวสุด ๆ

เกมซีรีส์ Assassin’s Creed เริ่มต้นในปี 2007 และทำยอดขายทะลุ 200 ล้านชุดทั่วโลก โดยมีจุดเด่นคือการหยิบเอาช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เช่น ยุคกรีกโบราณ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอิตาลี หรือช่วงปฏิวัติอเมริกา มาเล่าเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างกลุ่มนักฆ่า (Assassins) กับกลุ่มเทมพลาร์ จึงไม่น่าแปลกที่ยุคสงครามภายในญี่ปุ่น (1477-1600) ซึ่งเต็มไปด้วยซามูไรและนินจา จะเป็นเป้าหมายที่แฟน ๆ อยากเห็นมากที่สุด

แต่เมื่อ Ubisoft เปิดตัว “Assassin’s Creed Shadows” เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมปีที่แล้ว กลับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ กระแสตอบรับจากแฟนเกมทั่วโลกกลายเป็นเสียงวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะจากชาวญี่ปุ่นที่ไม่พอใจเนื้อหาในเกมอย่างรุนแรง

เพียงแค่เดือนต่อมา ก็มีคำร้องออนไลน์เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นที่รวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยได้เกิน 100,000 คน โดยระบุว่า เกมนี้ "บิดเบือนวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น" และอาจ "สะท้อนอคติต่อชาวเอเชีย"

Ubisoft ต้องออกมาขอโทษสาธารณะ และเลื่อนการวางจำหน่ายเกมออกไปหลายครั้ง จนกระทั่งวางจำหนายในวันที่ 20 มีนาคม

Assassin’s Creed Shadows

ยาสึเกะ ซามูไรผิวสี จุดชนวนขัดแย้ง ?

สิ่งที่กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดคือ ตัวละครหลักคนหนึ่งในเกม ที่อ้างอิงจากบุคคลจริงชื่อ “ยาสึเกะ”  ชายผิวดำจากประเทศโมซัมบิก ซึ่งเคยเป็นทาสมาก่อน ก่อนจะได้กลายมาเป็นผู้ติดตามของ “โอดะ โนบุนางะ” ขุนศึกคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคปลายศตวรรษที่ 16

แม้จะมีหลักฐานชัดเจนว่ายาสึเกะมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่สิ่งที่หลายคนไม่เห็นด้วย คือการที่เกมเลือกนำเสนอเขาในบทบาท “ซามูไรผิวดำ” ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังมีข้อถกเถียง เนื่องจากแหล่งข้อมูลในอดีตไม่ได้ระบุชัดเจนว่ายาสึเกะได้รับยศหรือสถานะเป็น “ซามูไร” อย่างแท้จริงหรือไม่

เรื่องนี้ทำให้แฟนเกมบางกลุ่มมองว่า Ubisoft กำลังตีความประวัติศาสตร์ในแบบที่เกินเลย และอาจบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจ มากกว่าจะให้เกียรติกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอย่างแท้จริง 

 

ซามูไรที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นในสื่อดัง

แม้เกม จะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากประเด็นเรื่องซามูไรที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น แต่จริง ๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สื่อบันเทิงนำเสนอแนวคิดนี้

PHOTO Shōgun  2024

ย้อนกลับไปในปี 1975 นักเขียนชื่อดังอย่าง เจมส์ แคลเวลล์ เคยตีพิมพ์นวนิยายชื่อ Shōgun ซึ่งเล่าเรื่องของ "จอห์น แบล็กธอร์น"  นักเดินเรือชาวอังกฤษที่ได้รับตำแหน่งเป็นข้ารับใช้ระดับสูง หรือ ฮาตาโมโตะ ของขุนศึกชื่อ "โทรานางะ" ตัวละครที่อิงจาก โทกุงาวะ อิเอยาสุ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

แม้ในโลกวิชาการจะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า “วิลเลียม อดัมส์” บุคคลต้นแบบของแบล็กธอร์น ได้รับการยอมรับว่าเป็นซามูไรจริงหรือไม่ แต่ภาพจำของ “ซามูไรผิวขาว” ก็ยังคงถูกพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเวอร์ชันซีรีส์ Shōgun ปี 2024 จากช่อง FX ที่ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่การเล่าเรื่องและการตีความวัฒนธรรมญี่ปุ่นในแบบที่ลึกซึ้งและเคารพต้นฉบับ

PHOTO Warner Bros

อีกตัวอย่างที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยดี ก็คือภาพยนตร์เรื่อง The Last Samurai (2003) ที่นำแสดงโดย ทอม ครูซ  ในบทของ “นาธาน ออลเกรน” ทหารอเมริกันที่เข้าร่วมการกบฏซัทสึมะในปี 1877 ซึ่งในเรื่องมีผู้นำคือ “คัตสึโมโตะ” ซามูไรผู้เปี่ยมด้วยบารมี รับบทโดย เคน วาตานาเบ้ ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ คือ ไซโก ทากาโมริ

ในหนัง คัตสึโมโตะเป็นตัวแทนของอุดมคติแบบซามูไรแท้ ๆ  มีเกียรติ ยึดมั่นในหน้าที่ ซื่อสัตย์ และพร้อมยืนหยัดเพื่อหลักการ แม้รู้ว่าต้องเผชิญกับกองทัพอาวุธทันสมัยก็ตาม

แม้สุดท้ายคัตสึโมโตะจะสละชีวิตในสนามรบ แต่นาธาน ผู้รอดชีวิต ได้นำเรื่องราวของเขากลับไปเล่าต่อหน้าจักรพรรดิ เพื่อเตือนให้ญี่ปุ่นไม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง แม้กำลังเดินหน้าสู่ความทันสมัยก็ตาม

ทั้งสองเรื่องนี้ ได้รับการยอมรับและเสียงชื่อชนมหาศาล แต่ไม่ใช่กลับตรงกันข้ามกับซามูไรผิวดำ !  

เหตุใดซามูไรผิวดำของ UBISOFT ถึงไม่ได้แจ้งเกิด

เหตุใดการแสดงของยาสึเกะในฐานะซามูไรผิวสีจึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาก ในขณะที่ชาวต่างชาติผิวขาวที่มีบทบาทคล้ายกันก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง?

ประเด็นนี้อาจมาจาก ความไม่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยาสึเกะเป็นซามูไรหรือไม่ หรือแม้แต่เรื่องชุดเกราะและอาวุธไม่ตรงกับสมัยจริงของสงครามเซงโกคุ แต่น่าสังเกตตรงที่  เกม Ghost of Tsushima ในปี 2020 ก็ไม่ได้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์เช่นกัน

เนื้อเรื่องของ Ghost of Tsushima ถูกตั้งอยู่ในช่วงการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลในศตวรรษที่ 13 แต่ทีมผู้พัฒนากลับเลือกนำเสนอภาพลักษณ์ของซามูไรในแบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ขาวดำยุค 1950 ของผู้กำกับอากิระ คุโรซาวะ ซึ่งเป็นซามูไรที่โรแมนติก มีศักดิ์ศรีสูงส่ง และเต็มไปด้วยจริยธรรม  ต่างจากซามูไรในยุคศตวรรษที่ 13 จริง ๆ แต่เกมกลับได้รับคำชมอย่างกว้างขวาง  

อย่างไรก็ตาม แม้หนังและเกมอีกมากมายจะไม่ได้แม่นยำทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นทุกจุด แต่เพราะภาพของซามูไร ที่ใส่ชุดเกราะ คาดดาบสองเล่ม และยึดถือ “บูชิโด” หรือจรรยาบรรณนักรบ (ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นแนวคิดที่ถูกแต่งเติมในภายหลัง) สอดคล้องกับภาพจำของผู้ชม ทำให้หลายคนรู้สึกว่าสื่อบันเทิงเหล่านั้นยัง “สมจริง”

Assassin’s Creed Shadows

ในทางตรงกันข้าม การที่ Ubisoft เลือกนำเสนอ "ยาสึเกะ" แลเวดูขัดใจผู้เล่น อาจเพราะมันไปกระทบกับความเชื่อฝังลึกว่าญี่ปุ่นในอดีตนั้นปิดประเทศและต่อต้านคนต่างชาติ ทั้งที่ในศตวรรษที่ 16 ญี่ปุ่นมีการติดต่อกับโลกภายนอกมากกว่าที่หลายคนคิด !

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่ถูกใจแฟนๆ อาจเป็นเพราะการดัดแปลงครั้งนี้ดู Ubisoft เอาแต่ใจเกินไป เพราะอย่างที่รูกันว่าแฟนๆ ต่างรอ Assassin’s Creed ในยุคซามูไร ดังนั้นมันควรจะเป็นตัวละครที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นเหมือนกับภาคอื่นๆ แต่การนำตัวละครผิวดำที่มีประวัติศาสตร์คลุมเคลือมาแต่งเติมให้เด่นเกอนหน้าเกินตาแบบนี้ ก็ดูเป็นความพยายามที่มากเกินไป เรียกได้ว่าเป็นการดัดแปลงที่ไม่มีใครร้องขอ ราวกับ Ubisoft ทำเพราะเป็นนโยบายที่ต้องทำตามกระแส ไม่ได้ทำเพื่อแฟนๆ หรือวัฒนธรรมนั้นอย่างที่อ้าง ?

 

ที่มา : nationalgeographic ,The Conversation

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related