svasdssvasds

งดออกเสียง เท่ากับ ไม่เห็นชอบ จริงหรือไม่ ? ในการโหวตเลือกนายกฯ

งดออกเสียง เท่ากับ ไม่เห็นชอบ จริงหรือไม่ ? ในการโหวตเลือกนายกฯ

มาลองวิเคราะห์ หาคำตอบ เกี่ยวกับประเด็นการ งดออกเสียง ในการโหวตเลือกนายกฯนั้น เท่ากับ ไม่เห็นชอบ จริงหรือไม่ ? ทำไม ส.ว. จำนวนมาก เลือกที่จะ งดออกเสียง หรือนี่คือการแทงกั๊ก อยากจะบอกว่า ไม่เห็นชอบ แต่ก็ไม่พูดตรงๆ และเลือก "ถอดปลั๊ก" ตัวเองแบบนี้ ?

เรื่องของการโหวตนายกฯ ยังคงเป็นที่พูดถึงในสังคมเรื่อยมา นับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2566 ที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทย หน้าหนึ่ง จะบันทึกไว้ว่า เป็นอีกวันที่ การโหวตเลือกนายกฯไม่ผ่าน ไม่ได้รับเสียงเห็นชอบถึง "กึ่งหนึ่ง" ของรัฐสภา 376 เสียง  โดยข้อสรุปการลงเสียงโหวตนายกในวันนั้น  เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 คน 

 และ จากการ รวมเสียงทั้ง "เห็นชอบ" , ไม่เห็นชอบ" และ "งดออกเสียง" ทั้งหมด แล้วได้ตัวเลขทั้งสิ้น 705 เสียง จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 750 เสียง , นั่นหมายความว่า ยังมี สมาชิกรัฐสภา ไม่มาลงคะแนน ถึง 45 เสียง โดยจากการ ตรวจสอบจาก SPRiNG พบว่า 44 คน เป็นส.ว. แต่หนึ่งในนั้น ได้ประกาศลาออกจากจากการเป็น ส.ว. ไปแล้ว และ นอกจากนี้ ยังมี ส.ส. จากพรรคภูมิใจไทย 1 คน ที่ไม่มาร่วมโหวต

อย่างไรก็ตาม เมื่อผลโหวตนายกฯ ออกมาในรูปแบบนี้ ส่งผลให้  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล  ยังได้รับคะแนนเสียงไม่เพียงพอให้นั่ง "นายกฯ"  แม้จะได้เสียงสนับสนุนจาก 13 ส.ว. แต่ยังมีโอกาสอีก 2 ครั้ง คือวันที่ 19 ก.ค. และ 20 ก.ค. 2566 นี้ ตามที่ อาจารย์วันนอร์ ประธานสภาฯ ได้บอกไว้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลของการโหวตนายกฯ ที่ออกมานั้น ทำให้มี เสียงสะท้อนจากสังคม ถึงประเด็นการโหวต "งดออกเสียง" ที่ออกมาเป็นจำนวนมาก และ ส่วนใหญ่มาจากฝั่ง ส.ว. ที่ได้รับสิทธิโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 

ในประเด็นนี้ ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความคิดเห็นถึงประเด็น "งดออกเสียง" ไว้อย่างร้อนแรง ด้วยข้อความว่า "การงดออกเสียงมีผลทางกฎหมายเท่ากับไม่เห็นชอบนั่นเอง แต่พูดให้สวย ๆ ไปหยั่งงั้น"

ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความคิดเห็นถึงประเด็น "งดออกเสียง"


อย่างไรก็ตาม ในการโหวตนายกฯ นั้น  การ "งดออกเสียง" ของประธานสภาฯ  ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกรณี ที่น่าสนใจ และต้องให้ความรู้กับประชาชน ที่อาจจะไม่ค่อยได้ติดตามข่าวการเมือง สำหรับเรื่องนี้ ในโลกออนไลน์ ไม่เข้าใจว่า พรรคประชาชาติของ "วันนอร์" ซึ่งเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล แต่ทำไม อาจารย์ "วันนอร์" จึงเลือกโหวต "งดออกเสียง" ให้พิธา เป็นนายกฯ จนทำให้มี เสียงหนุนพิธา จาก ส.ส. เหลือ 311 เสียง  (เสียง ส.ส.รัฐบาล มี 312 เสียง) 

SPRiNG ขออธิบายเพิ่มเติมว่า "โดยธรรมเนียมปฏิบัติ" แล้ว ตำแหน่งประธานสภาฯ เพื่อความเป็นกลาง และควบคุมการทำหน้าที่ การควบคุมการประชุมรัฐสภา จึงต้อง "งดออกเสียง"  ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัตินี้ มาแต่ครั้งในอดีตแล้ว  และเป็นเรื่องที่ "พึงกระทำ" 

งดออกเสียง เท่ากับ ไม่เห็นชอบ จริงหรือไม่ ? ในการโหวตเลือกนายกฯ

• งดออกเสียง คืออะไร  ทำได้อย่างไร ? 

ทั้งนี้การ "งดออกเสียง" ถือเป็นสิทธิของสมาชิกสภาที่สามารถทำได้ซึ่งไม่ถือว่าขัดข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 แล้วแต่กรณี
คะแนนเสียงที่งดออกเสียงนั้น จะไม่นำมานับรวมเป็นเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จึงไม่มีผลในทาง "สนับสนุน" หรือ "คัดค้าน" ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในกรณีที่ใช้เสียงข้างมากธรรมดาในการชี้ขาดญัตติหรือข้อปรึกษานั้น 

งดออกเสียง กระทำได้ในการประชุมลงมติแบบเปิดเผย และแบบลงมติเป็นการลับ

ลงมติแบบเปิดเผย 

1.การลงมติโดยใช้วิธีการเรียกชื่อสมาชิกสภาเป็นรายบุคคล สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียง ต้องกล่าวคำว่า “งดเว้นการออกเสียงหรืองดออกเสียง” เมื่อเลขาธิการสภาเรียกชื่อตน 
2.การลงมติโดยใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงจะต้องสอดบัตรและกดปุ่มงดเว้นการออกเสียง 
3.การลงมติโดยใช้วิธีการยกมือพร้อมแสดงบัตรลงคะแนนซึ่งมีเฉพาะในวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงต้องยกมือพร้อมแสดงบัตรลงคะแนนสีขาว

ลงมติเป็นการลับ

1.การลงมติโดยใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงจะต้องสอดบัตรและกดปุ่มงดเว้นการออกเสียง 

2.การลงมติโดยใช้บัตรออกเสียงลงคะแนน หากเป็นการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเขียนเครื่องหมายกากบาท (x) ลงในช่องทำเครื่องหมายหน้าคำว่างดเว้นการออกเสียงหรืองดออกเสียง แต่หากเป็นการดำเนินการในวุฒิสภาหรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกรัฐสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงต้องเขียนเครื่องหมายวงกลม (O) บนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้

งดออกเสียง เท่ากับ ไม่เห็นชอบ จริงหรือไม่ ? ในการโหวตเลือกนายกฯ
ส่วนเรื่องการ "โหวตนายกฯ" นั้น รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นคนเดิมหรือคนใหม่ แต่เบื้องต้นต้องเป็นคนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดคุณสมบัติครบถ้วน 

สำหรับบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณา ต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 คือ ต้องมาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ไม่น้อยกว่า 5% ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือมี ส.ส. มากกว่า 25 คนขึ้นไป

แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่ต้องใช้เสียงข้างมากเด็ดขาดในการชี้ขาด การงดเว้นการออกเสียง ก็อาจมีผลเท่ากับเป็นการไม่เห็นด้วยกับญัตตินั้นได้ เช่น ในกรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 151 ซึ่งกำหนดให้มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

การงดเว้นการออกเสียง ในการโหวตนายกรัฐมนตรี จึงทำให้เกิดผลเท่ากับว่า ไม่เห็นด้วย กับญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนั้นนั่นเอง  

related