ฉายภาพฉากทัศน์ หรือ Scenario ต่างๆ ในวันโหวตเลือกนายกฯ ชี้ชะตานายกฯพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นผู้นำประเทศหรือไม่ , วันนั้น มีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กความเป็นไปได้แต่ละเหตุการณ์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นี้ จะมีการเปิดรัฐสภา โหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30 ,สำหรับ การโหวตครั้งนี้ จะเป็นไปตามที่คาดหวังกันไว้หรือไม่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคจะถูกโหวตผ่านฉลุยหรือไม่ คงต้องมาลุ้นกัน , แต่อย่างที่ทราบๆกันดีว่า พิธา จะต้องเจอกับด่านสำคัญ นั่นคือการโหวต จาก ส.ว.
โดยคาดว่า การเมืองไทย อาจจะเจอกับ ฉากทัศน์ หรือ Scenario ต่างๆ ดังนี้
• ตัวแปรอยู่ที่ ส.ว. 250 เสียง จะโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์กี่เสียง ?
ฉากทัศน์ ที่ 1 หรือ Scenario ที่ 1 การโหวตเลือกนายกฯ พิธา มีเสียง ส.ว.พอหนุน ว่าที่นายกฯพิธา เป็นนายกฯตัวจริงได้หรือไม่ หากวิเคราะห์กันตามตัวเลขแล้ว , พรรคร่วมรัฐบาล ทั้ง 8 พรรค มีอยู่ทั้งสิ้น 312 เสียง หักเสียงของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส. ของพรรคก้าวไกลที่ลาออกไป
ทำให้ ณ ขณะนี้ มีเสียงสนับสนุนนายพิธา คงเหลือ 310 เสียง ยังขาดอยู่ 66 เสียง ถึงจะได้เสียงกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง ตามที่รัฐสภากำหนด => ถ้าหากเสียง ส.ว. ไม่พอ จะนำไปสู่ฉากทัศน์ที่ 2 หรือ Scenario ที่ 2
ฉากทัศน์ที่ 2 Scenario ที่ 2 การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล สามารถ ดึงพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันมาร่วมหนุนได้หรือไม่ => น่าจะใช้วิธีโหวตหลายครั้ง => ถ้ายังได้เสียงไม่ครบ 376 อีก ก็จะนำไปสู่ฉากทัศน์ที่ 3
ฉากทัศน์ที่ 3 Scenario ที่ 2 ก้าวไกลต้องยอมเปลี่ยนให้เพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรณี พรรคเพื่อไทย มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แทนก้าวไกล
ฉากทัศน์ที่ 1 Scenario ที่ 1
รักษาพันธสัญญาร่วมตั้งรัฐบาล 8 พรรคไว้ตามที่ตกลงกันไว้
ถ้าเลือกฉากทัศน์ นี้ แล้วหวังจะได้เสียง ส.ว. เพื่อไทยต้องแสดงจุดยืนชัดว่า ทั้ง 8 พรรค จะไม่แก้มาตรา 112 รวมทั้งการดำเนินการอื่นที่ ส.ว. คัดค้าน ถ้าก้าวไกลยอมรับเงื่อนไข เพื่อไทยคงตั้งรัฐบาลได้ แต่กระทรวงที่เป็นโควตาแต่ละพรรค ต้องเจรจากันใหม่
ฉากทัศน์ที่ 2 หรือ Scenario ที่ 2
ถ้าพรรคก้าวไกลไม่ยอมรับเงื่อนไข ก็ต้องฉีก MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล แล้วเพื่อไทยจำเป็นต้องเริ่มกระบวนการเปิดเจรจากับพรรคการเมืองอื่นเพื่อตั้งรัฐบาล
แนวโน้มสถานการณ์ของการจัดตั้งรัฐบาล
ก้าวไกลไม่ได้ประธานสภาไปเป็นของตนเองตามที่หวัง ทำให้เสนอกฎหมาย หรือเปลี่ยนกติกาสภาให้เข้าทางตัวเองไม่ได้ตามที่คิด
ในแง่ของตัว "วันนอร์" เมื่อได้รับเลือกด้วยเสียงเอกฉันท์ จะกลายเป็นแรงกดดันให้ต้องแสดงบทบาทที่เป็นกลางจริงๆ เหมือนกรณี "ชวน หลีกภัย" และเป็นการปรามพรรคประชาชาติ ไม่ให้ "ล้ำเส้น" เรื่องชายแดนใต้ เพราะมีตำแหน่งประธานสภาค้ำอยู่ ขยับยาก ต้องเป็นกลาง
อย่างไรก็ตาม ในประเด็น อาจารย์ "วันนอร์" เป็นการผูกเกลียวกันแน่นขึ้นระหว่างเพื่อไทย - ก้าวไกล โดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ชี้ ประเด็นการเลือกประธานสภา ซึ่งสุดท้ายแล้ว ลงเอยที่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เชื่อว่า การที่ ฉากการเมือง หลังเลือกตั้ง 2566 ลงเอยแบบนี้ในตำแหน่งประธานสภาฯ จะส่งผลผูกมัดแน่นขึ้นด้วยซ้ำ เพราะต่างฝ่ายต่างยอมกัน