svasdssvasds

ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ จากความเห็น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ จากความเห็น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

เส้นทางของธุรกิจผู้ให้บริการข้อมูลการประเมิน ESG ยังมีโอกาสพัฒนาและเติบโตได้อีกมาก จึงไม่แปลกที่ขนาดของตลาดข้อมูล ESG จะมีมูลค่ากว่า 1.3 พันล้านเหรียญในปีนี้ จากความเห็นของดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์

ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ องค์กรสาธารณะประโยชน์ เป็นองค์กรที่ขับเน้นทางด้านวิชาการ พยายามสร้างความยั่งยืนในลักษณะเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกับภาคเอกชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของสถาบัน  ได้ให้ความเห็น ต่อประเด็นการเติบโต ธุรกิจบริการข้อมูล ESG หรือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG)  ผ่าน เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ Bizweek  ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า 


ปัจจุบัน ความสนใจของผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ที่มีต่อข้อมูลการดำเนินงานของบริษัทในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) สำหรับใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน ได้ทวีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ตามเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในหมวดการลงทุนที่ยั่งยืน

โดยจากการสำรวจของ บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ เผยว่า ขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ในกอง ESG ทั่วโลก ในปี พ.ศ.2563 มีตัวเลขอยู่ที่ 35 ล้านล้านเหรียญ และในปีนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 41 ล้านล้านเหรียญ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านล้านเหรียญ ในอีกสามปีข้างหน้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ ตัวเลขการสำรวจของออพิมัส ที่ปรึกษาด้านการจัดการลงทุนในตลาดทุนทั่วโลก ระบุว่า ขนาดของตลาดข้อมูล ESG มีมูลค่าเกินระดับ 1 พันล้านเหรียญเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีมูลค่าเกิน 1.3 พันล้านเหรียญในปีนี้ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงห้าปีที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 28 ต่อปี (CAGR) แยกเป็นข้อมูลในส่วนวิเคราะห์วิจัย เติบโตร้อยละ 24 ต่อปี มีสัดส่วนตลาดอยู่ราวร้อยละ 70 ของขนาดตลาด ขณะที่ข้อมูลในส่วนดัชนี เติบโตร้อยละ 38 ต่อปี โดยมูลค่าตลาดข้อมูลดัชนี ESG มีตัวเลขเกิน 300 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา (https://www.opimas.com/research/742/detail/)

ในส่วนที่เป็นข้อมูลวิเคราะห์วิจัย ผู้เล่นสำคัญในตลาด คือ หน่วยงานผู้ประเมิน ที่เรียกว่า ESG Rating Providers ซึ่งทำการประมวลข้อมูลป้อนให้กับผู้จัดทำดัชนี และยังมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการยกระดับการเปิดเผยข้อมูล ESG ของกิจการ ช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนให้แก่กิจการ และช่วยขับเน้นภาพลักษณ์ให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรม
ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ จากความเห็น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

ด้วยบทบาทของผู้ให้บริการ ทำให้งานประเมิน ESG ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในตลาดทุน ที่ช่วยลดภาระงานวิจัยของผู้จัดการกองทุนในการมองหาการลงทุนที่มีศักยภาพ ช่วยชี้จุดที่เป็นข้อควรกังวลต่อการลงทุน รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสานสัมพันธ์ภายใต้ธีมกลยุทธ์การลงทุนที่ยั่งยืน

ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ จากความเห็น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

อย่างไรก็ดี งานประเมิน ESG มิใช่งานที่ทำให้ดีได้โดยง่าย เนื่องจาก ประการแรก ข้อมูลเบื้องหลังที่ใช้สำหรับประเมินมีปริมาณที่มากและซับซ้อน เพราะการประเมินต้องครอบคลุมข้อมูลที่มาจากสามส่วนหลักทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ผู้ประเมินจำต้องวิเคราะห์ประเด็นย่อยนับร้อยในแต่ละหัวข้อหลัก พร้อมกับการให้น้ำหนักหรือการจัดลำดับความสำคัญ (ในแต่ละอุตสาหกรรม ก็จะมีน้ำหนักและลำดับความสำคัญของประเด็นที่แตกต่างกัน)

ประการที่สอง รูปแบบการประเมิน มิได้มีแบบเดียวที่เหมือนกันตายตัว เพราะผู้ประเมินจะต้องออกแบบการประเมินให้เหมาะสมกับความมุ่งประสงค์ในการใช้และกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายแตกต่างกัน จึงทำให้มีผลิตภัณฑ์ประเมินในหลายรูปแบบ อาทิ การประเมินที่เน้นพิจารณาเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคในมิติหญิงชาย การต้านทุจริต ฯลฯ

ประการที่สาม ความพร้อมใช้และความเพียงพอของข้อมูลที่ใช้ประเมิน แม้การรายงานความยั่งยืนจะมีมานานระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องดำเนินการสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ โดยจากการสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี พ.ศ.2564 (The State of Corporate Sustainability in 2021) โดยสถาบันไทยพัฒน์ พบว่า มีเพียงร้อยละ 15.13 จาก 826 กิจการ ที่มีการเปิดเผยข้อมูลในรูปของรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report)
 

ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ จากความเห็น ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

นอกจากนี้ มาตรฐานและแนวทางการรายงานที่กิจการใช้อ้างอิง ก็ยังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป รวมทั้งมิได้มีมาตรฐานหรือแนวทางการรายงานเดียวที่ถูกแนะนำให้กิจการใช้ในการเปิดเผยข้อมูล ทำให้รูปแบบการรายงานของกิจการมิได้คล้องจองเป็นแบบเดียวกัน ส่งผลให้มีความยากลำบากต่อการประเมิน และเมื่อไม่พบข้อมูลที่จะใช้สำหรับประเมิน บ่อยครั้งที่สำนักประเมินจะใช้วิธีสันนิษฐานข้อมูลจากแบบจำลองที่สร้างขึ้นเอง ซึ่งอาจให้ผลลัพธ์การประเมินที่ขาดความแม่นยำ และไม่สามารถตรวจสอบที่มาได้

ด้วยเหตุผลข้างต้น เราจึงพบว่า ผลการประเมิน ESG ของแต่ละสำนักประเมิน มิได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้แต่การประเมิน ESG ของกิจการเดียวกัน ยังให้ผลประเมินที่ต่างกัน จึงทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลประเมิน ESG ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการประเมินตามแต่บุคคล รวมถึงความสามารถในการเปรียบเทียบกันได้ระหว่างกิจการที่ถูกประเมิน อาทิ การเปรียบเทียบสมรรถนะการดำเนินงาน (Benchmarking) ก็ยังมีข้อสงสัยในความเที่ยงตรงของผลการเปรียบเทียบเช่นกัน

เส้นทางของธุรกิจผู้ให้บริการข้อมูลการประเมิน ESG ยังมีโอกาสพัฒนาและเติบโตได้อีกมาก จึงไม่แปลกที่ขนาดของตลาดข้อมูล ESG จะมีมูลค่ากว่า 1.3 พันล้านเหรียญในปีนี้ โดยมากกว่าสองในสามของตลาด เป็นของผู้ให้บริการในส่วนข้อมูลวิเคราะห์วิจัย ESG ตามการคาดการณ์ของออพิมัส

: แหล่งที่มา ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ ใน เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 

related