อีสานไม่ได้แห้งแล้งเหมือนในหนัง สิ่งแวดล้อมใหม่ต้องเป็นของคนทุกรุ่น ซีพี ออลล์ เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรเพาะต้นกล้าท้องถิ่น กระจายต้นไม้สู่วัดในภาคอีสาน 200 วัด
ภาพจำของภาคอีสานมักจะเป็นการปลูกฝังภาพความแห้งแล้ง ความยากจนและวิถีท้องถิ่นแบบฉบับคนอีสาน ซึ่งก็ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหนังไทยอีสานที่ถูกส่งต่อมาสู่การรับรู้ของคนภาคอื่น ๆ ซึ่งก็ดีในแง่ของการเผยแพร่วัฒนธรรมและการเป็นอยู่คนผู้คน แต่เพราะภาพจำของพื้นที่แห้งแล้งเหล่านั้น ที่อยู่ในเกือบทุกเรื่องของหนังไทยอีสาน จึงทำให้บางคนมักเข้าใจผิดไปว่าภาคอีสานนั้นแห้งแล้ง ไม่สมบูรณ์
แต่ในตอนนี้ บางพื้นที่ของอีสานได้เปลี่ยนไปแล้ว ในความเป็นจริงพื้นที่ส่วนใหญ่ของอีสานไม่ได้แห้งแล้งอย่างตาเห็น ยังมีป่าไม้และภูเขาเขียวขจีอีกมากมายที่ทำให้ผู้คนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนและพึ่งพาอาศัยจากทรัพยากรเหล่านั้น
แต่ในอีกแง่หนึ่ง ปัจจุบันหลายประเทศกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิกฤตอาหารที่อาจเกิดขึ้น หากเราคาดหวังให้สังคมนั้นน่าอยู่ โดยการคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ พื้นที่สีเขียวและการส่งต่อความรู้เรื่องป่าไม้สู่คนรุ่นใหม่ สิ่งเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศสามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายเพื่อแก้ไขวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกำลังรุนแรงขึ้นหลายประเทศทั่วโลก เมืองไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะได้รับผลกระทบเหล่านั้น ข้อมูลจากสถาบัน Climate central (องค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำหน้าที่ติดตามการเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงของโลก) ได้จัดทำภาพจำลองประเทศที่จะจมน้ำในอนาคต หากอุณหภูมิของโลกเดินทางไปแตะถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยเราเองเป็นหนึ่งในเมืองเสี่ยงเหล่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GULF จับมือ SCG ตั้งบริษัท SG Solar ดำเนินธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์
Swap & Go จับมือ 7-Eleven และ Swag EV ใช้มอไซค์ไฟฟ้าสลับแบตเตอรี่ ส่งเดลิเวอรี่
เครือซีพี-กลุ่มทรู มอบเงินบริจาค 3.9 ล้านบาท จากลูกค้าสู่สภากาชาดไทย
อยากพัฒนาธุรกิจสู่ โมเดิร์นเทรด ทำไง? อบรมออนไลน์ DIPROM MOVE TO MODERN TRADE
สรุปให้...ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส ชวนบริจาคยาเหลือใช้ ส่งให้โรงพยาบาลอุ้มผาง
แล้วมันเกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร?
แน่นอนว่าประเทศไทยก็กำลังประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองยังคงเพิ่มขึ้น โดยการกินพื้นที่ป่าไม้มากขึ้น หรือแม้กระทั่งในเมืองใหญ่เองก็มีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก สังเกตได้จากมลพิษที่เราเผชิญในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ฝุ่นควันที่ลอยไปมา หรือควันจากการเผาพื้นที่นา ภัยแล้ง และภัยพิบัติอีกมากมาย การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มการปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศเรื่องจึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญของหลายประเทศกำลังผลักดันให้โลกมีอุณหภูมิไม่แตะถึง 1.5 องศาเซลเซียส
โครงการจากซีพี ออลล์ จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
โดยมองเห็นโอกาสที่จะช่วยสังคมจากวิกฤตการณ์เหล่านี้ ด้วยการจัดทำโครงการปลูกป่า และส่งเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้เพาะปลูกไปยังชุมชน วัด โรงเรียนและมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้ชุมชนหันมาเพาะปลูกกล้าเพิ่มเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่ว่างเว้นจากการทำงาน
โครงการ CP ALL Planting Model จาก บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี มีเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของ ESG ซึ่งในโครงการนี้จะอยู่ในส่วนของ E-Environment โดยในไตรมาสแรกนี้มีเป้าหมายคือปลูกพืชไม้ยืนต้นในวัดภาคอีสานกว่า 200 วัด (โครงการป่าล้อมวัด) ตั้งเป้าปลูกต้นไม้ให้ได้ 160,000 ต้น
ใครเป็นคนปลูกต้นกล้าบ้างและปลูกที่ไหน
เราเน้นไปที่เด็กๆ กับชุมชน ให้เป็น model ต้นแบบแก่ชุมชนอื่น ๆ เพื่อจะเปิดโอกาสให้ชุมชนอื่น ๆ สามารถทำตามได้ โดยชาวบ้านและชุมชน มหาวิทยาลัย โรงเรียนจะเป็นผู้ปลูกต้นกล้าของไม้ยืนต้น ก่อนที่จะส่งให้วัด โดยสถานที่เพาะต้นกล้าที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้แก่
ภาคอีสาน (จ.สุรินทร์)
3.1 วัดป่าบวรสังฆาราม วัดต้นแบบโครงการป่าล้อมวัด ตอนนี้มีการทดลองวัดขนาดไม้ยืนต้นเพื่อคำนวนค่าคาร์บอนเครดิตจำนวน 1 ไร่
ภาคใต้ (จ.สงขลา)
4.โรงเรียนโคกค่าย เป้าปลูกต้นกล้า 10,000 ต้น
ใครได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้บ้าง?
1.ชุมชนและชาวบ้านที่ว่างเว้นจากฤดูทำนา ระหว่างรอฤดูกาลถัดไปสามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อหารายได้เสริมและเรียนรู้เพื่อสืบสานวิชาเพาะกล้าไม้อย่างถูกต้องไปยังลูกหลานต่อได้ หรือจะเอาไปขยายเป็นสายอาชีพในอนาคตได้ด้วย โดยจะมีวิทยากรที่มีความรู้มาคอยสอนและกระจายรายได้ให้กับชุมชน
ต้นกล้าบางชนิด ชาวบ้านเน้นไปเก็บเองตามที่ต่าง ๆ การเลือกต้นกล้าที่มาเพาะ ยกตัวอย่างเช่น เม็ดจานดอกสีเหลือง (ต้นทองกวาวดอกสีเหลือง), ประดู่ป่า, แดง, ขี้เหล็กสะเดา, ยางนา ฯลฯ การเลือกพันธุ์ไม้ยืนต้นแบบนี้เพราะว่าทนทาน โตง่าย และเป็นพื้นท้องถิ่นที่เหมาะกับพื้นที่แถบภาคอีสาน อีกทั้งบางต้นใช้เวลาปลุกเพียง 2-3 เดือนก็เติบโตต่อได้อย่างแข็งแรง
การสอนจะเน้นไปที่ Learning by doing ไม่ได้สอนให้ทำแต่ให้ลองทำ โดย ซีพี ออลล์จะเข้ามาสนับสนุน ให้ชาวบ้านในชุมชนได้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาต่อเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนา ทั้งต้นกล้า อุปกรณ์ ถุงปลูกปุ๋ย ดินและโรงเรือนเพาะชำ
2. เด็กๆในโรงเรียนมหิธรวิทยาจะถูกเสริมการเรียนการสอนวิชาเพาะกล้าไม้ลงไปในหลักสูตรการศึกษาด้วย โดยทาง ซีพี ออลล์ ตั้งเป้าจะสร้างให้โรงเรียน มหิธรวิทยา จ.สุรินทร์ กลายเป็นโรงเรียนป่าไม้ ที่จะเป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีวิชาต้นไม้อยู่ในหลักสูตร
โรงเรียนที่อยู่ในความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและเอกชน การร่วมมือของ ซีพี ออลล์ มีเป้าหมายเพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ทำโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็น Forestry school แห่งแรกของประเทศ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีองค์ความรู้ในการเพาะปลูกต้นกล้าเพื่อนำส่งต่อให้โครงการป่าล้อมล้อมวัด โคกหนองนาและอื่นๆ
จะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานเรื่องการปลูกฝังเรื่องต้นไม้ให้แก่เด็ก เพื่อให้สิ่งแวดล้อมของเขาในอนาคต ดูแลโดยพวกเขาเอง โดยตั้งเป้าเพาะกล้าต้นไม้ 20,000 ต้นส่งมอบภายในเดือนสิงหาคม
วิชาที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนมีอยู่ 2 วิชาหลักแยกระหว่างม.ต้นกับม.ปลาย ตอนช่วงม.ต้นเด็กจะได้เรียนวิชาผลิตต้นไม้ วีการขยายพันธุ์ดอกไม้ วิชาเพาะชำต้นไม้ ส่วนม.ปลาย จะเรียนรู้ความหมายและความสำคัญของพันธุ์ไม้ต่างๆ
3.มทร.อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรอินทรีย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 24 ไร่ พื้นที่ออกแบบในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และเรื่องการเกษตรผสมผสาน ต้องการใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ฝึกการเกษตรให้กับนักศึกษาและเกษตรกรในพื้นที่จ.สุรินทร์มาศึกษาดูงานในการทำการเกษตร
ได้รับงบประมาณเพาะกล้าไม้จากซีพี ออลล์ และกระจายกล้าไม้ต่าง ๆ ไปยังพื้นที่เกษตรกร และมีการติดตามผล ซีพีออลล์เห็นความสำคัญของแหล่งต้นน้ำในการปลูกกล้าไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ที่นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่หัวไร่ปลายนา
ซีพี ออลล์สนับสนุนด้านงบประมาณในการรับอนุบาลกล้าไม้และเพาะกล้าไม้ และทางมหาวิทยาลัยได้ดึงเอาชาวบ้านที่ว่างงานและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ว่างงาน หรือมีเวลาว่างจากการปิดเทอม นำมาช่วยเตรียมบรรจุดินลงถุง ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์จากภายในมหาวิทยาลัยเอง เพราะมหาวิทยาลัยมีป่าอนุรักษ์ ซึ่งสร้างรายได้เสริมให้นักศึกษาปัจจุบัน หรือศิษย์เก่า และชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง
นอกจากนี้เป้าหมายที่เกือบสุดปลายทางคือการคำนึงภาวะโลกร้อน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งมีอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
โครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยโลกในด้านของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและออกซิเจนให้กับโลก รวมไปถึงต้นไม้เหล่านี้จะช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศด้วย ยิ่งโลกของเราสีเขียวมากเท่าไหร่ โลกเราก็จะยิ่งน่าอยู่และร่มรื่นเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างงาน รายได้ และองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน รวมไปถึงได้มีส่วนร่วมในการช่วยโลกให้น่าอยู่ขึ้นด้วย
โครงการ CP All Planting Model เป็นโครงการปลูกป่าที่มีขึ้นทุกๆ ปี เพื่อช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างออกซิเจนสู่โลกมากขึ้น แน่นอนว่าจะกลายเป็นภูมิภาคนำร่องเพื่อขยายโครงการสู่ภูมิภาคอื่นๆ และเราก็จะได้เครือข่ายที่เข้มแข็งในการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนกับเอกชนในการสร้างโลกที่ดี สร้างโลกสีเขียวที่เป็นมิตรต่อประชากรโลก ด้วยปณิธาน “ร่วมสร้างสรรค์ และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”