อ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความคิดเห็น ชี้ว่า ภาวะโลกร้อน มีส่วน เกี่ยวข้องทำให้ กทม. น้ำท่วม เกือบทุกครั้งที่ฝนตกหนักด้วย รวมถึงปัญหา ญี่ปุ่นเจออากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ด้วย
อ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง วิทยาเขตบางเขน ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ภาวะโลกร้อน โดยระบุว่า ปัญหาเรื่องนี้ มีส่วน
เกี่ยวข้องทำให้ กทม. น้ำท่วม เกือบทุกครั้งที่ฝนตกหนักด้วย รวมถึง เหตุการณ์เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาอย่างหนักและน้ำฝนระบายได้ช้า
และ เหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น ต้องเจอกับปัญหาอากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมาด้วย โดยทำสถิติสูงถึง 40.2 องศาเซลเซียส โดยทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ
ภาวะโลกร้อน ทั้งหมด
โดย อ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความคิดเห็น ผ่านทาง Facebook Thon Thamrongnawasawat ด้วยข้อความว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ.ธรณ์ ยกเคส แตงโม นิดา ตกเรือ แนะมีสติ ว่ายกรรเชียง แขนกวาดน้ำประคองตัว
เลสเตอร์ ซิตี้ เปิดตัวชุดใหม่ เข้าเทรนด์รักษ์โลก มีวัสดุรีไซเคิล 60% ผสม
เมื่อคืนพูด live เรื่องญี่ปุ่นร้อน japan heat wave และฝนตกหนักจนวิภาวดีท่วมฉับพลัน โยงไปหาโลกร้อน จึงนำมาสรุปให้เพื่อนธรณ์ฟังครับ อุณหภูมิที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ 24-30 มิย. สูงมากจนหลายแห่งกลายเป็นร้อนสุดเท่าที่เคยบันทึก โตเกียวเจอความร้อนเกิน 35 ต่อกันหลายวัน
คำถามสำคัญคือเกี่ยวกับโลกร้อนไหม ? เพื่อหาคำตอบ เราต้องย้อนไปสมัย japan heat wave ปี 2018 นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ทำโมเดลเชื่อมกับโลกร้อน คำตอบคือใช่ครับ นักวิจัยบอกว่า คลื่นความร้อนระดับนี้จะไม่เกิดแน่นอน หากโลกไม่ร้อนเพราะฝีมือมนุษย์ (human induced) ผลการศึกษาอีกอย่างระบุว่า ในกรณีที่โลกร้อนไม่เกิน 2 องศา (ก็คือที่เราพยายามอยู่นี่แหละ) ญี่ปุ่นจะเจอคลื่นความร้อนมากกว่าเดิม 1.8 เท่า หมายความง่ายๆ คือยังไงก็เกิดผลกระทบและจะแรงกว่านี้แน่
ปัญหาคือหากเราหยุดโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาไม่ได้ ตัวเลข 1.8 อาจทวีคูณ ร้อนตับแตกเลยนะนั่น และจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง เช่น สัตว์น้ำตาย พืชเกษตรเสียหาย หรือไฟฟ้าไม่พอเนื่องจากทุกคนต้องการแอร์
กลับมาเมืองไทย เมื่อคืนฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันเป็นระยะ วิภาวดีถึงขั้นจม
หากลองดูตัวเลขฝนตก น้ำไหลโครมลงมาจากฟ้า ตูมเดียว 92 มิลลิเมตร สมัยก่อนฝนตกขนาด 50 มม. ก็นับว่าหนักแล้ว แต่ยุคนี้เราเจอฝนถล่มกว่าสมัยก่อน ไม่ใช่แค่ไทย แต่เป็นหลายแห่งทั่วโลก
โมเดลง่ายๆ โลกร้อน น้ำทะเลระเหยมากขึ้น อากาศร้อน จุไอน้ำได้มากขึ้น เมฆแต่ละก้อนจึงมีน้ำอยู่เพียบ เมื่อตกลงมาในเวลาเท่ากัน เมื่อเทียบกับสมัยก่อน น้ำฝนย่อมเยอะกว่า
.
จุดบอบบางที่น้ำรอการระบายอยู่แล้ว ย่อมเจอปัญหาหนักขึ้น ลักษณะจึงไม่เหมือนน้ำปี 54 แต่เป็นฝนหนักน้ำท่วมฉับพลันเฉพาะจุดมากกว่า
หลายคนสงสัยเรื่องน้ำทะเลท่วมกรุงเทพจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย อันนั้นเป็นลองเทอม แต่ที่เห็นและเจอกันถี่ขึ้นคือน้ำท่วมตามที่บอก
เจอถี่ขึ้นเรื่อยตรงนั้นตรงนี้ทั่วไทยทั่วโลก เราคงต้องระบุจุดเหล่านั้นและหาทางรับมือด้วยวิธีต่างๆ ไม่ให้รอการระบายนานหรือน้ำท่วมหนักจนทรัพย์สินเสียหาย
นั่นคือ 2 เรื่องโลกร้อน หนึ่งร้อนจัด หนึ่งท่วมหนัก โลกเรายุคนี้ ลำบากกว่าก่อน คงทำได้แต่เพียงช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกให้มากสุด
ไม่ใช่แค่เพื่อลูกหลาน แต่เพื่อตัวเรานี่แหละ เพราะโลกร้อนแรงจริง มาถึงเรียบร้อยแล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม เชิญดูในไลฟ์เมื่อคืน
งานวิจัย ญี่ปุ่นhttps://www.researchgate.net/publication/333256513_The_July_2018_High_Temperature_Event_in_Japan_Could_Not_Have_Happened_without_Human-Induced_Global_Warming