หลายคนต้องมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเนื่องจากมีทั้งปัญหาน้ำท่วมขังหลายจุด และบางคนกังวลถึงระบบไฟฟ้าที่อาจช็อตหรือเสียหายได้จากน้ำเข้าตัวรถ จริงแล้วข้อมูลและทดสอบเป็นอย่างไรมาไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงในปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือก เพราะประหยัดกว่า แต่ก็ยังกังวลกับปัญหาที่อาจตามมา ไม่ว่าจะสภาพอากาศ และยิ่งในกรุงเทพมหานครที่มีทั้งฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง เราจึงสรุปไว้ให้ดังนี้
รถยนต์ไฟฟ้า จะมีแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ภายใต้ห้องโดยสารเป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนและมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอยู่เพลาหน้า หรือบางรุ่นอยู่ที่เพลาหลัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
รถยนต์ไฟฟ้าเรียกง่ายๆว่าเป็น “เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ติดล้อและสามารถนั่งได้” ซึ่งทำให้มีมาตรฐานควบคุมอยู่แล้วในเรื่องความปลอดภัยก่อนที่จะผลิตออกนำมาให้ใช้กันในชีวิตประจำวัน
มาตรฐานที่กำหนดรถยนต์ไฟฟ้ามีทั้ง IP (Ingress Protection) ที่คุณอาจได้ยินในสเปกมือถือ และตัวถังรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในมาตรฐาน IP65 เลข 6 = ป้องกันของแข็ง เช่น ฝุ่นได้สูงสุด 2-8 ชม. , ส่วนตัวเลข 5 หมายถึงค่าการกันน้ำ กันของเหลวได้ที่แรงดันต่ำ
แต่อุปกรณ์อื่นๆเช่นแบตเตอรี่และมอเตอร์จะมีมาตรฐานอยู่ที่ IP67 ขึ้นไป ซึ่งสามารถกันน้ำได้ลึก 1 เมตร ไม่เกิน 30 นาที
ซึ่งทำให้เราทราบได้ว่าต่อให้เกิดอุทกภัย หรือเกิดต้องจอดหรือขับลุยน้ำเป็นเวลานาน รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ปล่อยประจุไฟฟ้าสู่คนขับหรือภายนอก
และหากเลวร้ายที่สุดคือเกิดอุบัติเหตุที่เกิดการกระแทกหรือชนทำให้ระบบเสียหาย รถยนต์ไฟฟ้าจะสั่งตัดระบบไฟต่างๆไม่ให้ทำงาน ซึ่งระบบพวกนี้อยู่ในรถยนต์ไฟฟ้าทุกคัน และยังมีระบบอื่นๆอีกที่รักษาความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และรอบข้าง
อีกหนึ่งเคสทดสอบที่ Volvo XC40 ได้เผยวีดีโอรถที่สามารถลุยน้ำได้ลึกถึง 1.7 เมตรโดยไม่เกิดความเสียหาย ที่จะทำให้คุณเชื่อได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า “สามารถลุยน้ำได้จริง”