ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร และ ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย วิเคราะห์เจาะลึก 4 ปัจจัยเสี่ยง 1. ดอกเบี้ย 2.น้ำมัน 3.ค่าเงินบาท และ 4. การเมือง ปัจจัยเสี่ยงใดน่ากังวลมากที่สุด ในการก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
สุดกับหมาแก่ ชวน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร และ ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย วิเคราะห์เจาะลึก 4 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่
1. ดอกเบี้ย
2.น้ำมัน
3.ค่าเงินบาท
และ 4. การเมือง
ว่าเรื่องไหนต้องจัดการอย่างเร่งด่วน ? เรื่องไหนต้องอาศัยตัวช่วย ? และเรื่องไหนต้องทำใจ ? โดยทั้งสองได้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์เจาะลึก ดังต่อไปนี้
บทความต่างๆ ของรายการสุดกับหมาแก่
ชัยวัฒน์ เปิดปฏิบัติการ แจ้งเอาผิดพ่อลูกวิลาวัลย์ รุกป่าเขาใหญ่
เสรีพิศุทธ์ ชำแหละร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ปฏิรูปตำรวจได้จริงหรือไม่ ?
1. ดอกเบี้ย น้ำมัน ค่าเงินบาท เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผูกโยงกัน
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กล่าวว่า ทั้งดอกเบี้ย น้ำมัน และค่าเงินบาท เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อมโยงกัน สืบเนื่องมาจากปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ ต้องมีนโยบายขึ้นดอกเบี้ย
และจากการที่เงินดอลล่าร์สหรัฐมีอิทธิพลเป็นอย่างสูง ทำให้หลายประเทศต้องทยอยขึ้นดอกเบี้ยตาม แต่กรณีของไทยการขึ้นดอกเบี้ยกลับเป็นไปอย่างล่าช้า และมีส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยกับประเทศอื่นค่อนข้างสูง ทำให้เงินไหลออก ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อน และเมื่อค่าเงินบาทอ่อน ก็ทำให้ไทยต้องซื้อน้ำมันในราคาที่แพงขึ้น
ฉะนั้นแล้ว ทั้งดอกเบี้ย น้ำมัน ค่าเงินบาท จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผูกโยงกัน ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะเกิดปัญหาการเมืองตามมา ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่น่ากัลมากที่สุด ดร.ศุภวุฒิ เห็นว่าคือเรื่องดอกเบี้ย
2. การเมืองเป็นปัจจัยซ้ำเติม แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้น ก็จะส่งผลกระทบมหาศาล
ดร.อมรเทพ จาวะลา กล่าวว่า จากปัจจัยเสี่ยงที่ผูกโยงกัน ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ และมีความเห็นเช่นเดียวกับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ว่าดอกเบี้ยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุด
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลรองลงมาก็คือ เรื่องน้ำมัน และค่าเงินบาท ตามลำดับ โดยเรื่องการเมืองในเวลานี้ ยังถือว่าเพียงปัจจัยซ้ำเติม แต่ถ้าเกิดปัญหาเรื่องการเมืองขึ้น ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
3. การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ กับการขึ้นดอกเบี้ย
จากการวิเคราะห์ของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ และ ดร.อมรเทพ จาวะลา แม้การขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบค่อนข้างสูง แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะหากไม่จัดการอะไรเลย ปัญหาเงินเฟ้อก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
ดังนั้นเมื่อการขึ้นดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ จังหวะเวลา ซึ่งหากขึ้นดอกเบี้ยอย่างไม่ทันท่วงที ก็จะเกิดปัญหาเงินไหลออกเป็นจำนวนมาก
และหากเงินไหลออกเป็นจำนวนมาก ผลกระทบที่ตามมาก็คือเงินบาทยิ่งอ่อนค่า ซึ่งถ้าอ่อนลงมากๆ จนถึงขั้นต้องซื้อเงินดอลล่าร์สหรัฐ มาพยุงค่าเงินบาท ก็ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยหายไปเป็นจำนวนมหาศาล
ติดตามรายการสุดกับหมาแก่ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ดำเนินรายการ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.30 น. ทาง Facebook : SpringNews , YouTube : Spring เเละ Nation TV 22