ความเท่าเทียมที่ยังไม่เท่าเทียม เผยข้อมูลอัตราค่าธรรมเนียม จดทะเบียนคู่ชีวิตสำหรับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศเสียเงิน 500 บาท แต่ชาย-หญิง จดทะเบียนสมรสฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
หลังจากที่เข้าสู่เดือน Pride Month และมีการขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมใหักับคู่รักชาวที่มีความหลากหลายทางเพศ ในการนำเสนอร่างพรบ.ที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่เสนอโดย กระทรวงยุติธรรมและ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมที่ยื่นโดย สส.พรรคก้าวไกล
โดยเส้นทางการเรียกร้องยาวนานกว่าจะเป็นที่มาของ พ.ร.บ. คู่ชีวิต เดินทางมากว่า 10 ปี เริ่มจากกระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้เริ่มหารือร่วมกับภาคส่วนต่าง ในการจัดทำร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มของการผลักดันกฎหมายออกมาอย่างเป็นทางการ
จนมีการประกาศจาก ครม.ได้มีการผ่านร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสตีกลับ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ทันทีจากผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและประชาชนทั่วไปที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฉบับนี้ เนื่องจากในรายละเอียดของ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยังไม่ครอบคลุมสิทธิทางกฏหมายอย่างเท่าเทียมกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างชาย-หญิง ว่าด้วยในหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้คือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยสามารถรับชม พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.คู่ชีวิต คืออะไร? อัพเดทความต่าง และความคืบหน้าล่าสุด จาก SPRiNGสรุปให้
นอกจากนี้ในโลกโซเชียลตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมในร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ถึงมีการระบุ อัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนคู่ชีวิต ซึ่งแตกต่างจากการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดไว้ว่า
รายละเอียดเอกสารฉบับเต็ม ของ พ.ร.บ. คู่ชีวิต
ส่วนข้อมูลจากสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ในหัวข้ออัตราค่าเนียมการจดทะเบียนสมรส ระบุไว้ดังนี้
ชาวโซเชียลจึงสงสัยว่า จริงๆ นี่คือสิทธิทางกฏหมายเพื่อความเท่าเทียมที่รัฐพยายามนำเสนอและเป็นของขวัญให้กับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศจริงๆ แล้วหรือ ทำไมจึงยังแบ่งแยกและมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากันเช่นนี้
ที่มา