นโยบายชัชชาติ ในหมวด ที่เกี่ยวข้องกับ LGBTQIA+ มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ข้อ ส่งเสริมหน่วยงาน กทม.ทำความเข้าใจยอมรับความหลากหลายทางเพศ ปรับแนวคิดและเปิดกว้างเรื่องการแต่งกาย ให้ความรู้เยาวชนเพื่อให้เท่าทันกับการเป็นพลเมืองโลกยุคใหม่
มิถุนายนถือได้ว่าเป็น Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของผู้มี ความหลากหลายทางเพศ หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยได้มีการจัดการเดินขบวนพาเหรด เพื่อเฉลิมฉลองและร่วมแสดงจุดยืนในการสนับสนุน ส่งเสริม เรื่องความเท่าเทียมกันในประเทศ
แม้ไทยจะยังไม่ผ่านกฏหมายสมรสเท่าเทียมได้สำเร็จ ในครั้งแรก แต่ก็ยังมีการพยายามผลักดันเข้าสภาอีกครั้งในวันที่ 8 มิถุนายนนี้ โดยครั้งนี้จะช่วยให้เห็นว่าพรรคไหน ส.ส. คนใดที่สนับสนุนความเท่าเทียมและหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นจริง นอกจากการเปลี่ยนรูปโลโก้เป็นสีรุ้งบนโซเชียล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปให้! ทัวร์ลง Gym and Swim หลังสมาชิกวงคอมเมนต์วิจารณ์ พีพี-บิวกิ้น
ผู้หญิงข้ามเพศ เป็นต้นแบบตุ๊กตาบาร์บี้ครั้งแรกของโลก ส่งเสริมสิทธิ LGBTQ
ส่วนในอาณาเขตของระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร ที่นำโดยผู้ว่าฯ กทม. คนล่าสุดนาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีการวางแนวนโยบายนำร่องให้กับหน่วยงานราชการที่สังกัด กทม. และ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กนักเรียน เพื่อขยายกรอบการรับรู้เรื่องเพศแบบเดิม ที่มีอยู่ในตำราตอบรับการเป็นพลเมืองโลก ที่โอบรับ ความหลากหลายทางเพศ หรือรวมถึงเรื่องชาติพันธุ์ด้วยเช่นกัน
โดยในหัวข้อนโยบายชัชชาติ LGBTQIA+ นั้นประกอบไปด้วย 4 ข้อดังนี้
เพื่อทำความเข้าใจประเด็นอ่อนไหว เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังสอนให้เด็กตระหนักถึงการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและโลกออนไลน์ พัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ เช่น การใช้เทคโนโลยี
การจัดเทศกาลคือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการเปิดโอกาสประกอบธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับคนกรุงเทพฯ โดยเทศกาลสามารถเป็นเครื่องมือผลักดันความสร้างสรรค์ โดยระบุไว้ว่า เดือนที่ 6 มิถุนายน ของทุกปีส่งเสริมให้จัดกิจกรรม Pride Month
ผู้ใช้บริการไม่กังวลเรื่องการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตร และเชื่อมั่นในการรักษาและการให้คำแนะนำทางสุขภาพแบบเฉพาะทาง
และยอมรับความหลากหลายทางเพศ (ปลอดภัยดี) กำหนดหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานใน กทม. ให้การยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขในสังคมและสนับสนุนความเท่าเทียม
ซึ่งในช่วงนึงของบทสัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่งาน บางกอก นฤมิตร ไพรด์ 2022 จัดขึ้นบนถนนสีลมอย่างสนุกสนานที่ผ่านมานายชัชชาติได้กล่าวเสริมจากนโยบาย สนับหนุนความเท่าเทียม LGBTQIA+ ไว้ว่า ย้ำว่า ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. จะอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ความปลอดภัย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ภาคประชาสังคมหรือเอกชนต้องการใช้พื้นที่ กทม. จัดงานต่างๆ
ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายนนี้ คือยื่นร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งโดย ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ เรียกร้องให้ผู้แทนราษฎรในสภาทุกท่านเห็นด้วยกับการพระราชบัญญัติดังกล่าว คืนความเท่าเทียมในการก่อตั้งครอบครัวแก่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ
โดยประชาชนทั่วไปสามารถร่วมลงชื่อ เห็นชอบผลักดันกฏหมายสมรสเท่าเทียมได้ที่ https://www.support1448.org/ ปัจจุบันมีผู้ลงชื่อรวมแล้วเกือบ 4 แสนคน
ที่มา