แอนนา ทีวีพูล ยูทูปเบอร์ชื่อดัง สะท้อนความจริงและความต่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ สมรสเท่าเทียม แค่สีสันและการเลือกปฏิบัติของรัฐบาล
แอนนา ทีวีพูล ยูทูปเบอร์ชื่อดังเจ้าของชาแนล Anna Celebeauty แอนนา พี่จี้ และเป็น LGBT ที่โด่งดังในโลกโซเชียลให้สัมภาษณ์กับ สปริงนิวส์ หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการติดแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม และตามมาด้วย #ไม่เอาพรบชีวิตคู่ หลังจากที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เปิดรับความคิดเห็นในส่วนของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่) พ.ศ. …. ซึ่งแอนนา เผยมุมมองเรื่องที่ไม่เอา พ.ร.บ.ชีวิตคู่ เพราะสิทธิที่ได้จะได้ในบางข้อ แต่การจดทะเบียนสมรสได้ทุกข้อ หญิงชายได้ทุกอย่าง
LGBT ทุกคนไม่ได้ต้องการ พรบ. คู่ชีวิต
"ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่หยิบ พ.ร.บ. คู่ชีวิต ขึ้นมาพิจารณาแต่แอนนาเชื่อว่า LGBT ทุกคนไม่ได้ต้องการ พ.ร.บ. คู่ชีวิต ต้องเล่าก่อนทำไมไม่ต้องการเพราะว่ามันมีการเลือกปฏิบัติ อย่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต สิทธิที่จะได้ในบางข้อและไม่ได้ในหลายๆ ข้อ แต่ทะเบียนสมรสได้ทุกข้อหญิงชายได้ทุกอย่าง
ดังนั้นเ พ.ร.บ. คู่ชีวิต กับทะเบียนสมรสไม่เท่ากัน แอนนาดีใจนะคะ ที่เขาหยิบขึ้นมาแต่ในความรู้สึกเราในความคิดของเราอันนี้อย่าเอาไปดราม่านะ เรามองว่าหยิบขึ้นมาเป็นสีสันหรือเปล่า เพราะรัฐบาลทุกชุดหยิบมันขึ้นมาตลอด หยิบขึ้นมาพูด หยิบขึ้นมาพิจารณา แล้วก็วางไว้ที่เดิม
ไม่เชื่อลองกลับไปดูข้อความหรือว่าข่าวเก่าๆ มีการล่ารายชื่อ มีการดำเนินการมาต่อเนื่องเรื่อยๆ แต่ว่ากฎหมายบางกฎหมายบางข้อนะคะ มาทีหลังอนุมัติไปแล้วแต่กฎหมายของการแต่งงานของเพศเดียวกันก็ยังได้อยู่ระหว่างพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ได้ซักที" แอนนา ทีวีพูล เผยต่อในเรื่องการสมรสของคนที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
"จริงๆ แล้วต้องบอกก่อนว่าหลายครั้งที่เรามีแอ็คชั่นความต้องการอยากจะจดทะเบียนสมรส มีสังคมมากมายบอกว่าหลายคนนะคะ ในสังคมบอกว่าความรักแค่รักกันก็พอแล้ว ถ้าคุณคิดว่าการรักกันก็พอแล้ว จงยกเลิกการจดทะเบียนสมรสทั้งประเทศ อันนี้คือเราจะยอมรับว่าความรักมีความรักก็พอแล้ว แต่พอกฎหมายจดทะเบียนสมรสตั้งไว้ว่า ชายและหญิงนั่นหมายความว่าความรักที่ถูกต้องตามกฎหมายคือความรักของชายและหญิง"แต่ความรักของชายและชาย หญิงกับหญิงเป็นความรักที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
"ความรักมันไม่ได้ผิดนะคะ แต่ทำไมถึงไม่ได้ให้สิทธิ์เรา และแอนนาก็มองว่ามันเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่จะรักใครก็ได้ถูกไหมคะ ในปัจจุบันมันก้าวข้ามไปไกลมาก อย่างเช่น แอนนาเป็น LGBT ผ่าตัดแปลงเพศทำทุกอย่างหมดแล้วเป็นผู้หญิงใช้ชีวิตแบบผู้หญิง มีรับบุตรบุญธรรมเป็นลูกด้วย แต่สังคมก็ยังมองว่าเราคือผู้ชาย เวลาที่เราต้องกรอกข้อมูลว่าเราเป็นเพศอะไรจะเขียนแค่ว่าชายหญิง ยังมีบางหน่วยงานที่ยังไม่มีอื่นๆ ให้ฉันเลือก ฉันต้องรู้สึกว่าแบบ บางทีฉันก็อยากจะกรอกว่าเป็น LGBT เราไม่กรอกว่าตัวเราเป็นผู้หญิงงด้วยเราไม่แอบอ้าง
เราจะกรอกว่าเราเป็น LGBT ก็ได้แต่ก็ยังไม่มีช่องหรือบางครั้ง บางหน่วยงานนะคะบอกว่า ขอโทษนะคะคุณแอนนาคุณโสดหรือว่าแต่งงานแล้วหรือว่ามีคู่ชีวิต มีคู่ชีวิตค่ะ งั้นรบกวนกรอกว่าโสดนะคะ เราก็ถามเขาว่าแล้วทำไมเราต้องกรอกว่าเราโสดเขาบอกว่าตามกฎหมาย แสดงว่ากฎหมายไม่ได้ต้องการความจริง กฎหมายไม่ได้ต้องการว่าเรามีคู่ชีวิตอยู่อย่างนี้หรอ
กฎหมายต้องการให้เรากรอกว่าโสดเพราะว่าชายกับชายแต่งงานกันไม่ได้เท่ากับโสดแบบเนี่ยหรอ แอนนามองว่าบางครั้งมันก็ไม่ยุติธรรมค่ะ จริงๆ แล้วแอนนาดีใจนะที่มีคนหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา แต่สำหรับตัวแอนนาที่อยู่ตรงนี้มานานและก็เรามองเห็นมาตลอดๆ เรามองว่ามันคือสีสันรัฐบาลที่หยิบขึ้นมาให้เราได้ดีใจ ให้ทั่วโลกจับตามองและสุดท้ายแล้วมันก็จบลงด้วยการวางเอาไว้แล้วก็รอรัฐบาลชุดใหญ่ขึ้นมาหยิบขึ้นมาอีกครั้ง"
สมรสเท่าเทียมที่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
"สำหรับเรื่องราวการสมรสเท่าเทียมที่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยแอนนา มองเรื่องนี้ว่า ส.ส.หลายคนที่อยู่ในสภาไม่ใช่เจ้าของปัญหา หรือต่อให้เป็นเจ้าของปัญหาก็ไม่กล้าแสดงตัว เราดีใจมากนะคะ ที่ล่าสุดของการเลือกตั้งมีกลุ่ม LGBT ที่ยอมรับว่าตนเองเป็น LGBT เข้าไปในสภาอย่างน้อยเขายอมรับ เขากล้าทำ เขามีแอ็คชั่น
คราวเนี่ยมาดูกันว่าการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐหรือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือตอนนี้เขาหยิบเอา พ.ร.บ. คู่ชีวิต แล้ว พ.ร.บ. คู่ชีวิต ไม่โคฟเวอร์ในเรื่องของสิทธิในเรื่องของคู่แต่งงานอย่าง ข้าราชการอะไรแบบเนี่ยค่ะ มันเป็นการเลือกปฏิบัติคือเหมือนมีคนเดินเข้ามาสองคน ผู้หญิง ผู้ชายเชิญค่ะ สำหรับสาวประเภทสองเดี๋ยวดูก่อนนะคะว่ากฎหมายคุ้มครองหรือเปล่าอันนี้มันเลือกปฏิบัติมันไม่โอเค รู้สึกไม่ดี"
ไม่เอาพรบ. คู่ชีวิต เหมือน LGBT ได้คืบจะเอาศอก
"แอนนาก็ดีใจนะ แต่เป็นความดีใจที่แบบว่าดีใจไม่สุด คือเราดีใจมากตอนแรกที่บอกว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิต ผ่านแล้วก็มีการร่างใหม่มีการปรับให้ดูทันสมัยแต่พอมาดูในข้อที่ควรจะได้แล้วไม่ได้เนี่ยมันคือ พ.ร.บ. คู่ชีวิต เลือกปฏิบัติ เราเองเนี่ยที่ในฐานะที่เป็น LGBT เราก็ไม่อยากมีแอคชั่นที่ไม่ดีออกไปเพราะว่าพอเราแอคชั่นที่ไม่ดีหรือรุนแรงหรือการทำอะไรที่ไม่ดูเป็นปัญญาชนมันก็กลายเป็นว่า LGBT เรื่องมากดูสิเรื่องมากกลุ่มคนเหล่าเนี่ย พอจะให้แล้วก็ไม่เอาพอจะให้แล้วก็มาเรียกร้องโน่นนี่นั่น อยากจะให้ทุกคนกลับมามองอีกครั้งว่าสิ่งที่ LGBT ต้องการไม่ได้ต้องการมากกว่าหญิงหรือชายแค่ต้องการเท่ากับทุกคนในประเทศคือเท่านั่นจบ"
การสมรสเท่าเทียมที่ LGBT ต้องการเป็นอย่างไร
"พ.ร.บ. คู่ชีวิตนะคะ อย่างที่บอกไปว่าคือการเลือกปฏิบัติ อย่างสิทธิบางอย่างเราไม่ได้หลายอย่าง แล้วการจดทะเบียนสมรสสมมติมี 10 ข้อ พ.ร.บ. คู่ชีวิตจะมี 3-4 ข้อที่ได้รับ อีก 6 ข้อไม่ได้ ซึ่งเราก็มองว่าทำไมเราต้องไม่ได้หรือว่าเราเป็นแบบนี้หรอเราถึงไม่ได้ คือเราอยากทราบเหตุผลขอเหตุผลที่ดีว่าทำไมเราถึงต้องใช้ พ.ร.บ. คู่ชีวิต แค่นั้นเองค่ะ อย่างสวัสดิการคู่แต่งงานสมมติวันนึงแฟนแอนนาไปเป็นข้าราชการ
"แล้วแอนนาควรจะได้ในสิ่งต่างๆ แอนนาก็ไม่ได้ ถามกลับไปสมมติว่ามีผู้ชายคนนึงกำลังตกหลุมรักผู้หญิงคนนึงกับสาวประเภทสองคนนึง เขาจะต้องคิดถึงอนาคตข้างหน้าแล้วอนาคตข้างหน้าเขาจะต้องคิดว่า ถ้าเขาตัดสินใจแต่งงานกับสาวประเภทสอง อันนี้พูดถึงความรักเท่ากันนะ
ถ้าเขาตัดสินใจกับสาวประเภทสองเขาจะต้องออฟเฟอร์ดูแลในเรื่องของ ค่าใช้จ่ายในการป่วยเอ่ย สมมติถ้ารับลูกขึ้นมาก็ไม่ได้รับสิทธิ์อะไร แต่ในขณะที่ผู้หญิงคนนึง รักเท่ากัน แต่ผู้หญิงคนนึงถ้าเขาแต่งงานด้วย เขาจะได้รับสิทธิ์ต่างๆ เห็นไหมว่ามันมีผลต่อการตัดสินใจ"
ประเด็นต่อมาจากการทำวิจัยในต่างประเทศในอเมริกาหรือว่าในยุโรปเนี่ยเขาบอกว่ากฎหมายคือสิทธิขั้นพื้นฐาน เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายเข้ามารองรับหรือว่าเข้ามาให้สิทธิในการแต่งงาน สายตาของประชาชนทั่วประเทศหรือว่าคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายนั้นๆ จะมีมุมมองที่เปลี่ยนไป
เหมือนอย่างปัจจุบันเรามีกลุ่มคนเขาเรียกว่ากลุ่มคนในโลกยุคก่อนยังมีความเชื่อว่า ชายต้องแต่งงานกับหญิงแต่ถ้ากฎหมายตามมาทันแล้วกลุ่มคนยุคก่อนเขาก็จะมีความคิดเปลี่ยนไปว่ากฎหมายรองรับแล้ว การแต่งงานชายชาย หญิงหญิงไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่ามันเป็นเรื่องของการเลือกไม่ได้"
https://www.youtube.com/watch?v=xwyuCsaua-4&feature=youtu.be
ขอบคุณภาพ เฟซบุ๊กแอนนา