ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีจำนวนกว่า 4.5 ล้านคน มีนิวโหวตเตอร์ที่เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งแรก สูงถึง 16 % แต่ถ้าแบ่งเป็นเจเนอเรชั่นแล้ว กลุ่ม Baby Boomer ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากที่สุด
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ในปีนี้ เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในรอบ 9 ปี โดยการเลือกตั้งฯ ก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2556 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียงที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ กว่า 1.2 ล้านคะแนน ในขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ ผู้ท้าชิง ก็ได้คะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน โดยได้ไปกว่า 1 ล้านคะแนน
ต่อมาปี 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะ คสช. ก็ได้ใช้อำนาจตาม ม.44 มีคำสั่งให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯ กทม. ในเวลานั้น เป็นผู้ว่าฯ กทม. แทน ร่วมเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี
บทความเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
นิด้าโพล เผย ชัชชาติ คะแนนยังพุ่งกระฉูด 44.58 % ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ย้อนศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 56 กลยุทธ์โค้งสุดท้าย ดันสุขุมพันธุ์ คว้าชัย
เงินที่ "อีลอน มัสก์" ซื้อทวิตเตอร์ เป็นงบประมาณ กทม. ได้กี่ปี ?
โดยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ประมาณ 4.5 ล้านคน เป็นผู้ที่เพิ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งแรก หรือนิวโหวตเตอร์ กว่า 7 แสนคน คิดเป็น 16%
แต่ถ้าแบ่งช่วงอายุออกเป็นเจเนอเรชั่น ก็พบว่ากลุ่ม Baby Boomer อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป มีจำนวนผู้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มากที่สุด กว่า 1.57 ล้านคน คิดเป็น 35 % ของผู้มีสิทธิ์ฯ ทั้งหมด
ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ เจเนอเรชั่น X ที่มีช่วงอายุระหว่าง 40 – 54 ปี มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ประมาณ 1.33 ล้านคน คิดเป็น 29 % ของผู้มีสิทธิ์ฯ ทั้งหมด
อันดับที่ 3 ได้แก่ เจเนอเรชั่น Y มีช่วงอายุระหว่าง 25 – 39 ปี มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ประมาณ 1.15 ล้านคน คิดเป็น 26 % ของผู้มีสิทธิ์ฯ ทั้งหมด
อันดับที่ 4 ได้แก่ เจเนอเรชั่น Z มีช่วงอายุระหว่าง 18 - 24 ปี มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ประมาณ 1.15 ล้านคน คิดเป็น 10 % ของผู้มีสิทธิ์ฯ ทั้งหมด
ที่มา MI GROUP