ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คะแนนยังนำเป็นอันดับ 1 ในการสำรวจสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.65 รอบที่ 2 ส่วนอันดับ 2 ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร แต่คะแนนลดลงเหลือ 11.42 % จากการสำรวจครั้งก่อน 26.58 %
ศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คะแนนของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในการสำรวจของนิด้าโพล ยังคงเป็นอันดับหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การสำรวจก่อน กกต. กำหนดวันเลือกตั้ง และหลังจาก กกต. ได้กำหนดวันเลือกตั้งแล้ว
โดยล่าสุดวันที่ 1 พ.ค. 65 นิด้าโพลได้เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นชาว กทม. เรื่อง “สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 65 รอบที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29เมษายน 2565จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,357 หน่วยตัวอย่าง
อาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97 โดยมีผลสำรวจดังนี้
ผลสำรวจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก่อนหน้านี้
ผลสำรวจนิด้าโพล นโยบายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในการชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังยืนหนึ่ง
นิด้าโพล เผย คนไทย 76.75 % เชื่อมากว่า มีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง
บุคคลที่ประชาชน จะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม.
อันดับ 1 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (อิสระ) 44.58 %
อันดับ 2 ยังไม่ตัดสินใจ 11.42 %
อันดับ 3 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (อิสระ) 11.27 %
อันดับ 4 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) 8.99 %
อันดับ 5 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (อิสระ) 6.93 %
อันดับ 6 ไม่ลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote No) 5.75 %
อันนดับ 7 สกลธี ภัททิยกุล (อิสระ) 3.17 %
อันดับ 8 น.ต.ศิธา ทิวารี (พรรคไทยสร้างไทย) 2.51 %
อันดับ 9 รสนา โตสิตระกูล (อิสระ) 2.28 %
อันดับ 10 จะไม่ไปลงคะแนนเลือกตั้ง 2.14 %
คำถามที่ประชาชนต้องการจะถามผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.
อันดับ 1 ท่านมีวิธีแก้ปัญหาเรื่องการจราจร (รถติด) ในกรุงเทพฯ อย่างไร 23.34 %
อันดับ 2 นโยบายที่หาเสียงสามารถทำได้จริงหรือไม่ 14.09 %
อันดับ 3 ท่านมีวิธีแก้ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ อย่างไร 13.33 %
อันดับ 4 คุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ ในมุมมองของผู้สมัครเป็นอย่างไร 9.09 %
อันดับ 5 ท่านมีแนวทางแก้ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯ อย่างไร 8.94 %