svasdssvasds

กรมทรัพยากรธรณียืนยัน ฟอสซิลกลางห้างดังเป็นของจริง

กรมทรัพยากรธรณียืนยัน ฟอสซิลกลางห้างดังเป็นของจริง

พบ ซากฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ บนพื้นห้างดังสยามใจกลางกรุง ในสื่อโซเชียลมีเดีย เกิดการตั้งคำถามในสังคม หายากไหม ต้องอนุรักษ์หรือเปล่า กรมทรัพยากรธรณีชี้แจงมันคือของจริง

กรณีข่าวในโซเชียลมีเดียเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 ว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง พบซากฟอสซิลหอย “แอมโมไนต์” ประดับบนพื้นสยามสแคว์ ใจกลางกรุงและเผยแพร่ลงโลกออนไลน์ แล้วมีข้อสงสัยว่านี่เป็นฟอสซิลของจริงหรือไม่ กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและอธิบายชี้แจงว่าฟอสซิลดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า

ซึ่งก็ได้มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟอสซิลออกมาสันนิษฐานว่า ซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์ดังกล่าวอาจจะเป็นของจริง ของแท้ที่มาจากแหล่งหินจากทวีปแอฟริกา (มาดากัสการ์) เพราะฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ลักษณะนี้ไม่ได้หายาก มีจำนวนมากและหาซื้อได้จากทั่วโลก สามารถซื้อขายได้ ราคาถูก (ขั้นอยู่ตามขนาดตัว)

หอยฟอสซิลแอมโมไนต์ Cr.กรมทรัพยากรธรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายพงศ์บุณย์ ปองทอง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี มอบหมายให้กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ (กคบ.) โดย นายอดุลวิทย์ กาวีระ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการและคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบฟอสซิล แอมโมไนต์ ที่ห้างดังสยามสแควร์ ผลการตรวจสอบ พบว่า

  1. ฟอสซิลแอมโมไนต์เป็นของจริง แต่พื้นหินเป็นพื้นหินขัด ทำขึ้นมาภายหลัง ไม่ใช่หินจริง เพราะเนื้อหินไม่ได้เกิดจากการสะสมตัวตามธรรมชาติ
  2. พบฟอสซิลจำนวน 77 ชิ้น ตลอดสองฝั่งถนนซอยสยามสแควร์ กระจายตัวทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ 400 เมตร พบฝั่งซ้าย จำนวน 28 ชิ้น ฝั่งขวา จำนวน 49 ชิ้น
  3. ฟอสซิลมีขนาดตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร ส่วนใหญ่พบอยู่ตามหน้าร้านค้า ทางแยก และหน้าบันได
  4. แอมโมไนต์ที่พบมีลักษณะหลากหลาย คาดว่ามาจากแหล่งหลายประเทศ แต่แหล่งที่โด่งดังในโลก คือ มาดากัสการ์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบเยอะ และจำหน่ายส่งออกเป็นจำนวนมากในเว็บขายของออนไลน์
  5. ฟอสซิลมาจากผู้รับเหมา ซึ่งทางจุฬาฯ เป็นผู้จ้างให้ดำเนินการเมื่อปี 2563 โดยทางผู้รับเหมานำมาตกแต่งเอง โดยไม่ทราบที่มาของฟอสซิล เนื่องจากผู้รับเหมารายย่อยหลายราย

กรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่ตรวจสอบหอยแอมโมไนต์ Cr.กรมทรัพยากรธรณี

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟอสซิล แอมโมไนต์

ฟอสซิลหอแอมโมไนต์ (Ammonite fossil) เป็นฟอสซิลของสัตว์ประเภทนอติลอยด์ชนิดหนึ่ง (กลุ่มหอยทะเล) ปัจจับนมีการค้นพบฟอสซิลหอยนี้เป็นจำนวนมาก พบได้หลายที่บนโลก รวมถึงประเทศไทยเองด้วย การวิวัฒนาของแอมโมโนต์ ได้พัฒนาจากหอยไปเป็นปลาหมึก หอย และหอยงวงช้าง

หอยโข่ง pompilius ในกลุ่มนอติลอยด์ Cr.hmong.in.th/wiki/Nautiloidea

การเกิดขึ้นของแอมโมไนต์ เกิดจากการแทรกตัวของตัวแอมโมไนต์กับหินอะราโกไนต์ (Aragonites) และอาจไปแทรกตัวอยู่ในหินแร่ชนิดอื่นได้ เช่น ซิลิกา, แคลไซต์, ไพไรต์และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่ซากหอยดึกดำบรรพ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์เมื่อ 66 ล้านปีก่อน ปลายยุคครีเทเชียส

ที่มาของชื่อ แอมโมไนต์ มาจากคำว่า อัมโมน เป็นชื่อของเทพเจ้าอียิปต์ที่มีลักษณะเด่นคือมีเขาม้วนขดเหมือนแกะ เทพอัมโมนเป็นเทพที่ชาวลิบโบน ชนเผ่าเก่าแก่ในเอธิโอเปียนับถือ แต่ต่อมาก็ได้รับการบูชาสักการะทั้งในอียิปต์และบางส่วนของกรีก

ความเชื่อ

การมีแอมโมไนต์ครอบครองมีความเชื่อว่า แอมโมไนต์เป็นหินที่ดูดซับพลังงานจากโลก มีอำนาจมากในพลังการรักษาและบำบัด กระตุ้นพลังภายใน (ชิ ‘Chi’)

กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความภูมิปัญญาความรู้ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการได้ นอกจากนี้ความเชื่อในเรื่องเครื่องรางว่าสามารถป้องกันงูได้

ในด้านของการรักษาสามารถรักษาศีรษะล้านและภาวะมีบุตรยาก ความดันโลหิต เป็นต้น

 

ที่มาข้อมูล

https://www.facebook.com/100069335434607/posts/290872079900638/?d=n

https://www.pwsalestone.com/category/

related