Nakagin Capsule Tower ที่พักแคปซูลชื่อดังแห่งย่านกินซ่าเกียวโต กำลังถูกรื้อถอนในวันที่ 12 เมาษายนนี้แล้ว หลังยื้อมานานหลายปี และวิกฤตต่างๆมากมาย ไปต่อไม่ไหวต้องปิดตัวลง
หากใครเคยผ่านไปย่านกินซ่าของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อาจจะเคยผ่านๆตา กับอาคารชุดรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นกล่องๆเหมือนแคปซูล พร้อมหน้าต่างวงกลมบานใหญ่ ๆ อยู่บ้าง อาคารนี้เป็นสถาปัตยกรรมล้ำสมัยสุดโด่งดังของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า นาคากิน แคปซูล ทาวเวอร์ (Kanagin Capsule Tower) และเป็นอารยธรรมที่หลงเหลืองจากสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อไม่นานมานี้สื่อต่างประเทศรายงานว่า หลังจากยื้ออายุตึกมานานหลายปี ในปีนี้ก็ได้ประกาศปิดตัวลงอย่างเป็นทางการและจะถูกรื้อถอนในวันที่ 12 เมษายน 2022 แม้ว่าจะเสียดายกับการจากไปของอาคารแปลกตาและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นไป แต่เจ้าของก็กล่าวอย่างเสียดายว่า “มันไปต่อไม่ไหวจริงๆ”
ตึกแคปซูลนี้สร้างแล้วเสร็จในปี 1972 มีห้องแคปซูลทั้งหมด 144 ห้อง แต่ละห้องมีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางเมตร พร้อมอัตลักษณ์อันโดดเด่นคือบานหน้าต่างวงกลมอันใหญ่ พร้อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์แปลกตาเหมือนย้อนไปยุค 2000s ต้นๆ
ซึ่งโครงสร้างสถาปัตยกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นจากซากปรักหักพังของสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมวิสัยทัศน์โดยสมาชิกกลุ่มล้ำยุคในญี่ปุ่น (The Avant garde) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผู้ออกแบบอาคารอย่าง คิโช คุโรคาวะ (Kisho Kurokawa) ซึ่งเป็นสถาปนิกผู้สนับสนุนหลักการ “เมตาบอลิซึม (Metabolism)” ด้วยการผนวกความเป็นเมืองล้ำยุคให้เติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชากรที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมตัว! เกมโชว์สุดปั่น ‘โหด มัน ฮา’ กลับมาทำภาคใหม่ บน Amazon Prime
เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ
นิสสัน เปิดตัวรถเสิร์ฟราเมน น่ารัก สะดวก หมดปัญหาเรื่องความร้อน
ญี่ปุ่น ถนนพังจากเหตุแผ่นดินไหวซ่อมไม่ถึงวันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
คุโรคาวะ ได้จินตนาการไว้ว่า อาคารนี้จะสามารถเปลี่ยนแคปซูลใหม่ได้ทุกๆ 25 ปี เพื่อให้มันมีอายุในระยะยาวได้อย่างน้อย 200-300 ปีและเหมาะสมกับสังคมญี่ปุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา
แต่ความฝันนั้นไปต่อไม่ได้ ด้วยปัจจัยหลายด้าน อาคารทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วและดูล้าสมัย มีการร้องเรียนจากที่พักใกล้เคียงเรื่องเสียงรบกวนในช่วงซ่อมแซมอาคาร บางห้องไม่มีการใช้งานจนขึ้นรา ห้องหลายห้องนั้นว่างเปล่าไม่มีผู้มาอยู่อาศัย บางห้องใช้สำหรับเก็บของและพื้นที่สำนักงาน หรือน้อยครั้งที่จะมีผู้เช่าระยะสั้นมาเช่าอาศัยด้วยความชื่นชอบสถาปัตยกรรมเป็นพิเศษ
ในปี 2007 สมาคมของเจ้าของได้ลงมติให้ขายตึกให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยตั้งใจว่าจะรื้อถอนและสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ถูกยื่นฟ้องล้มละลายเสียก่อนในช่วงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2008 และก็กลายเป็นตึกที่ถูกลืมมานานหลายปี
แต่เมื่อเดือนมีนาคมในปี 2021 เจ้าของตกลงขายอีกครั้ง อาคารดังกล่าวถูกซื้อโดยกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินงานภายใต้ชื่อ Capusule Tower (CTB) โดย ทาคาชิ ชินโดะ โฆษกของการร่วมทุนกล่าวกับ CNN ว่า ผู้ที่อาศัยคนสุดท้ายย้ายออกเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีกำหนดเริ่มรื้อถอนในวันที่ 12 เมษายนนี้
นักอนุรักษ์แสดงความหวังมานานแล้วว่าอาคารนี้จะได้รับการปกป้อง ซึ่งรวมถึง คูโรคาวะเอง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 2007 คำร้องและแคมเปญต่างๆได้เรียกร้องให้มีการปกป้องโครงสร้างดังกล่าวเป็นตัวอย่างมรดกทางสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น ถึงขั้นยื่นขอสถานะให้ได้รับการคุ้มครองจาก UNESCO ด้วยซ้ำ แต่ไม่มีวิธีใดพิสูจน์ได้ว่ามันจะประสบความสำเร็จและอยู่ต่อไปได้
ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ดูแลที่เป็นเจ้าของได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กลุ่มที่เห็นพ้องว่าให้ประกาศขายและทุบอาคารทิ้งเพื่อสร้างใหม่ กับกลุ่มที่สนับสนุนให้มีการรักษาอาคารนี้ไว้ ซึ่งหัวหน้ากลุ่มรักษาอาคารคือคุณ ทัตสึยูกิ มาเอดะ (Tatsuyuki Maeda) เขาครอบครองห้องทั้งหมด 15 ห้อง และต้องการทยอยซื้อเรื่อยๆเพื่อให้ตนเองมีผลโหวตเยอะๆ แต่ก็สู้จำนวนแคปซูลที่ขายให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันครอบครองถึง 70 ห้องไม่ได้ และปีที่ผ่านมา คุณทัตสึยูกิก็ได้ตัดสินใจขายแคปซูลทั้งหมดไป
“ญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายที่จะรักษาวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมประเภทนี้ น่าเสียดายที่ตัวอย่างมรดกทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เป็นตัวแทนมากที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศจะสูญหายไป" ทัตสึยูติ มาเอดะกล่าว
ความพยายามในการระดมทุน 2 ถึง 3 พันล้านเยน (16 ล้านถึง 24 ล้านดอลลาร์) ที่จำเป็นในการปรับปรุงอาคารถูกขัดขวางจากการระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่นั้นมา โครงการได้เปลี่ยนไปโฟกัสที่การระดมทุนเพื่อปรับปรุงและปรับเปลี่ยนแต่ละหน่วยงานแทนด้วยความหวังว่าสถาบันต่างๆอาจหาทางออกของแคปซูลเจอ
มาเอดะกล่าวว่า โครงการได้รับการสอบถามประมาณ 80 ครั้ง โดย Centre Pompidou ในปารีส โดยในบรรดาพิพิธภัณฑ์ต่างๆได้แสดงความสนใจในการขอรับหนังสือดังกล่าว รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายที่ ซึ่งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็มีแผนบริจาคแคปซูลบางห้องกระจายไปยังพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกบ้างแล้วด้วย
Capsule Tower ก็มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คน ทุกคนที่อยู่ที่นั่นมีความคิดสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง และชุมชนที่ก่อตัวขึ้นก็มีเสน่ห์ไม่แพ้กัน ฉันเสียใจที่จะต้องเห็นมันจากไป แต่ก็หวังว่ามันจะมีชีวิตอยู่ต่อไปในรูปแบบใหม่
แม้กาลเวลาผ่านไป อะไรที่เราเคยคิดว่ามันจะอยู่คงกระพันก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าจะอยู่ได้จริงไหม โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีอะไรแน่นอนเลย
ที่มาข้อมูล