svasdssvasds

ญี่ปุ่น ถนนพังจากเหตุแผ่นดินไหวซ่อมไม่ถึงวันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ญี่ปุ่น ถนนพังจากเหตุแผ่นดินไหวซ่อมไม่ถึงวันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

สุดทึ่ง ประเทศญี่ปุ่น ทางด่วนโทโฮคุ ถนนพังจากเหตุแผ่นดินไหว ใช้ระยะเวลาซ่อมไม่ถึงวัน กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ญี่ปุ่นเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 16 มี.ค. เวลา 23.36 น. ทำให้บ้านหลังหลายพันหลังพังเสียหาย ไฟฟ้าดับกว่า 2.2 ล้านครัวเรือน โชคดีที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ (Fukushima Daiichi) ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ (Fukushima) ไม่ได้รับความเสียหาย เมื่อในปี 2011 ได้รับความเสียหายจากเหตุสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้หลายส่วนเป็นกังวลถึงการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี

ทางด่วนโทโฮคุ

อีกส่วนหนึ่งที่ได้รับความเสียหายอย่างมากนอกจากบ้านเรือนแล้ว คือถนน โดยเฉพาะทางด่วนโชโฮคุ (Shohoku) ที่ใช้ระยะเวลาซ่อมเพียงไม่ถึงวันเท่านั้น

ถนนพังจากเหตุแผ่นดินไหว ปี 2011

ซึ่งจากที่บอกว่าในปี 2011 ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ทำให้ถนนเสียหายอย่างมากจนถึงขั้นสัญจรไปมาไม่ได้นั้น ใช้ระยะเวลาซ่อมเพียง 6 วัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

ด้วยการทำถนนแบบแอสฟัลต์ (Asphalt : ถนนยางมะตอย) ทำให้ง่ายต่อการซ่อมแซม แต่ทั้งนี้จะมีความทนทานที่น้อยกว่า ซึ่งสังเกตได้จากในรูปทางด่วนโชโฮคุ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเน็ซโคอีสต์เจแปน (Nexco East Japan) บริษัททางด่วนตะวันออกญี่ปุ่นจึงทนแทนด้วยความหนาที่มากเป็นพิเศษ

การทำถนนคอนกรีตนั้นจะมีความทนทานที่มากกว่า ซึ่งแลกกับต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมที่มากกว่าด้วยเช่นกัน แต่การทำถนนคอนกรีตนั้นจะให้ความรู้สึกที่ไม่นุ่มนวลเท่าถนนยางมะตอย และมีเสียงที่ดังกว่าเวลาใช้งาน

รูปแบบถนนที่ดีที่สุด จึงเป็นรูปแบบแอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete) ที่ทำถนนคอนกรีตลงไปก่อนเพื่อความแข็งแรงทนทาน แล้วจึงทำถนนยางมะตอยราดทับลงไปอีกทีเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่ายิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน เพราะเท่ากับเป็นการทำถนนสองครั้ง

นอกจากเรื่องของถนนแล้วยังมีส่วนประกอบอีกหลากหลายอย่างอาทิ วัสถุถมคันทาง วัสดุรองพื้นฐาน วัสดุไหล่ทาง ฯลฯ 

ขอบคุณภาพ จาก GoGraph Japan

ข้อมูลมาตรฐานงานทาง จาก กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

related