svasdssvasds

ดราม่าหักตะเกียบ TikTok สู่การหักตะเกียบออริจินอลแบบญี่ปุ่น

ดราม่าหักตะเกียบ TikTok  สู่การหักตะเกียบออริจินอลแบบญี่ปุ่น

กรณีการหักตะเกียบแบบผิดๆในคลิปTikTok และต้นกำเนิดการหักตะเกียบจริงๆของคนญี่ปุ่น จนนำมาเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทย

   ไม่นานมานี้มีคลิปไวรัลทาง TikTok เป็นที่พูดถึงอย่างมากกับประเด็นที่ผู้ใช้ TikTok หญิงสาวท่านหนึ่งได้ทำคลิป หักตะเกียบแบบผิดวิธีคือการหักกลางตะเกียบจนสั้น  แล้วเรียกพนักงานมาสอน ซึ่งเจ้าตัวทำเหมือนกับว่าไม่รู้และทำไม่เป็นมาก่อน

 หลังจากนั้นเจ้าตัวก็ได้ออกมาขอโทษแล้วและยังบอกอีกว่า ตนนั้นได้ตกลงกับพนักงานไว้ก่อนแล้ว ประเด็นดราม่าตะเกียบแต่มีกรณีคล้ายกันแต่เป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า เมื่อปี 2018 ที่แบรนด์ดังอย่าง D&G  (โดลเช่ แอนด์ กาบบาน่า) ที่ทำคลิปโฆษณา โดยที่ในคลิปใช้นางแบบหน้าหมวยใช้ตะเกียบกับอาหารต่างๆ อย่างผิดวิธี ซึ่งโฆษณานี้ทำให้คนจีนควันออกหู และยกเลิกแฟชั่นโชว์ในเซี่ยงไฮ้ ในประเทศจีนไปเลยในตอนนั้น คนจีนที่ใช้แบรนด์นี้หลายคนในประเทศจีนก็พากันแบน และไม่สนับสนุนอีก 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ส่อง "ครูบาเฮง" ดาว TikTok สายธรรมะคนล่าสุด ลูกเล่นหลากหลาย ขวัญใจโซเชียล

• มวยไทย ศิลปะการต่อสู้ ฝึกร่ายกายให้แข็งแกร่งและสร้างวินัยให้กับจิตใจ

• 9 ก.พ. วันพิซซ่า : ยูเนสโก้ เชิดชู ศิลปะการทำพิซซ่า เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม

 ทำความรู้จักกับ "วาริบาชิ" ตะเกียบญี่ปุ่น

 ยังคงมีหลายคนบนโลกที่ยังไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมที่ถูกต้องในการใช้ตะเกียบจริงๆ วันนี้เราจะมาดูความเชื่อและมารยาทในการใช้ตะเกียบแบบคนญี่ปุ่นกัน เพราะประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้ตะเกียบคงหนีไม่พ้น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และญี่ปุ่นก็ได้รับวัฒนธรรมมาจากจีนอีกที ซึ่งในตอนแรกจะใช้แค่ในหมู่ราชวงศ์ ในตอนนั้นชาวบ้านยังใช้มือกินกันอยู่

 แต่เมื่อการใช้ตะเกียบเริ่มแพร่หลายในสังคมคนญี่ปุ่น ทำให้ทุกชนชั้นเข้าถึงได้ และนี่คือต้นกำเนิดทำไมตะเกียบของญี่ปุ่นต้องติดกัน หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “วาริบาชิ” ที่เริ่มจากชาวบ้านเป็นคนริเริ่มทำใช้กันเองและแพร่หลายมาเรื่อยๆร้านอาหารเองก็มองว่ามันเป็นการใส่ใจผู้บริโภคที่ผู้บริโภคจะได้ใช้ตะเกียบใหม่แน่นอน โดยในความจริงนั้นการหักตะเกียบต้องหักช่วงหัวตะเกียบเอาไว้ใช้รองตะเกียบด้านข้างจานเมื่อกินเสร็จ  

   ตะเกียบมาไทยได้อย่างไร

 ส่วนในประเทศไทยนั้น เริ่มรู้จักคำว่า ตะเกียบ ครั้งแรก จากเรื่องสามก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมัยรัชกาลที่ 1 โดยปรากฏอยู่ในตอนที่โจโฉคุยกับเล่าปี่ และเยินยอกันว่า แผ่นดินนี้มีใครสติปัญญาลึกซึ้งที่สุด เล่าปี่ตกใจเรื่องที่โจโฉเล่าจนถึงขั้นทำตะเกียบตกจากมือ  ซึ่งคำว่า ตะเกียบ ไม่ใช่ภาษาจีน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำจีนว่า “เต็กเกี้ย” หมายถึง ซี่ไม้ไผ่เล็กๆ หรือไม่ก็ เต็กโก่ย หรือ เต็กเกี๊ยบ ที่แปลว่า ไม้คีบ นั่นเอง ตะเกียบถือได้ว่าเข้ามาในไทยก่อน ช้อน-ส้อม ของยุโรปซะอีกแต่ ช้อน-ส้อม ก็ยังได้รับความนิยมมากกว่าอยู่ดี 

 ถือเป็นการนำเอาวัฒนธรรมมาปรับใช้และเรียนรู้ที่จะปรับให้เข้ากับการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ได้อย่างลงตัว การใช้ตะเกียบของคนญี่ปุ่นเองก็ถือเป็นทั้งศาสตร์ทั้งศิลป์ ที่ผสมรวมกัน ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในการกินที่แตกต่าง

related