ศรีลังกาตัดไฟวันละ 13 ชั่วโมง! ศรีลังกา กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตพลังงานครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ นับตั้งแต่ประกาศเอกราช โดยต้องตัดไฟฟ้าวันละ 13 ชั่วโมง และอาจลากยาวไปจนถึงพฤษภาคม ขณะที่เวียดนาม ก็กำลังเจอปัญหาถ่านหินกำลังขาดแคลน
• ศรีลังกาวิกฤต ตัดไฟวันละ 13 ชั่วโมง
ศรีลังกา กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตพลังงานครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ ประกาศเอกราช เมื่อปี 1948 เพราะเวลานี้ ศรีลังกา เริ่มใช้มาตรการตัดไฟทั่วประเทศวันละ 13 ชั่วโมง ซึ่งถือว่า เป็นการเพิ่มช่วงเวลาตัดไฟ มากขึ้น จากเดิมที่ตัดไฟวันละ 7 ชั่วโมง
ทั้งนี้ สาเหตุที่ศรีลังกา ต้องตัดไฟทั่วประเทศนานขึ้น เนื่องจาก ศรีลังกา ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันอย่างหนัก จนทำให้ไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยที่ศรีลังกานั้นจะใช้ น้ำมัน ไปใช้ในเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ
"อัศวิน" ทัวร์ลง ติดป้ายเยอะบดบังวิสัยทัศน์ เจ้าตัวขออภัย เร่งแก้ไขแล้ว
จากข้อมูลพบว่า ศรีลังกา ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำกว่า 40% แต่ตอนนี้เขื่อนเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับต่ำมาก เพราะปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้ง จึงจำเป็นต้องหันไปพึ่งการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จากถ่านหินและน้ำมันแทน โดยที่ศรีลังกาต้องนำเข้าถ่านหินและน้ำมันจากต่างประเทศ แต่ก็มีปริมาณไม่เพียงพออีก เนื่องจากศรีลังกาไม่มีเงินตราต่างประเทศมากเพียงพอ
.
นอกจากนี้ศรีลังกา ยังเจอปัญหา มีเงินสกุลดอลลาร์ไม่เพียงพอต่อการซื้อน้ำมันและถ่านหินเพื่อผลิตไฟเพิ่มเติม ส่งผลให้ต้องประกาศตัดไฟทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐมนตรีพลังงานของศรีลังกา ปวิธรา วันเนียรัชจี ยังให้ความเห็นอีกว่า มาตรการนี้ อาจจะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เพราะประเทศยังวิกฤตพลังงานขาดแคลนอยู่
• เวียดนาม วอนประชาชนช่วยประหยัดไฟ
.
สำหรับ ศรีลังกา ไม่ใช่ประเทศเดียวในเอเชีย ที่กำลังเจอปัญหาพลังงานขาดแคลน เพราะเวียดนาม เพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ก็กำลังเจอปัญหา พลังงานขาดแคลนเช่นกัน โดย การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ออกมาเรียกร้องให้ประชาชนเวียดนาม ประหยัดพลังงานและเตือนถึงปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าตั้งแต่เมษายน เนื่องจากถ่านหินที่ใช้ผลิตพลังงานมีจำกัดแล้ว
.
ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินหลายแห่ง ที่ดำเนินการโดยการไฟฟ้าเวียดนามนั้น ต้องปรับลดอัตราการผลิตลงเนื่องจากขาดแคลนถ่านหิน โดยปัญหาการขาดแคลนถ่านหินนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคตซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นไป