svasdssvasds

นำเสนอข้อมูลเด็กแบบไหนไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ควรรู้

นำเสนอข้อมูลเด็กแบบไหนไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ควรรู้

หลักทั่วไปในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี) จากความร่วมมือของ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

เพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติในการนำเสนอข่าวเด็กโดยไม่ละเมิดสิทธิเด็ก สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดทำแนวปฏิบัติการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็กที่มีผลต่อครอบครัวและสังคม ดังนี้

6 แนวทางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก

  1. แนวทางการนำเสนอข้อมูลเด็กในสถานการณ์ทั่วไป
  2. แนวทางการนำเสนอข่าวเด็กที่เป็นผู้ถูกกระทำ
  3. แนวทางการนำเสนอข่าวเด็กที่เป็นผู้กระทำความผิด
  4. แนวทางการนำเสนอข่าวเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก
  5. แนวทางการนำเสนอข่าวเด็กพิการ
  6. แนวทางการนำเสนอข่าวเด็กที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่สังคมไม่ยอมรับ

สถานการณ์ทั่วไป

กรณีที่เด็กเป็นผู้ถูกกระทำ

กรณีที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิด

......................................................................................................................

หากคุณห่วงเด็กๆ หรือบุตรหลาน นี่คือเรื่องเกี่ยวกับสิทธิเด็กที่ควรรู้

......................................................................................................................

กรณีที่เด็กอยู่ในภาวะยากลำบาก

กรณีที่เป็นเด็กพิการ

กรณีเด็กที่เกี่ยวข้องกับโรคที่สังคมไม่ยอมรับ

แนวทางการขออนุญาตเพื่อสัมภาษณ์ บันทึกภาพ การเข้าถึง และการใช้ข้อมูล

นอกจากแนวทางนำเสนอข้อมูลข่าวสาร 6 ข้อ ยังมีข้อควรรู้เบื้องต้นก่อนการนำเสนอ

1. บุคคลที่มีสิทธิในการอนุญาต เพื่อสัมภาษณ์ บันทึกภาพ การเข้าถึงและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ได้แก่

  • เด็ก : เด็กมีสิทธิตัดสินใจว่าจะยินยอมให้สัมภาษณ์ บันทึกภาพ หรือใช้ข้อมูลของตนเองหรือไม่ ในบางองค์กรให้สิทธิเด็กที่จะตัดสินใจในระดับอายุไม่ต่ำกว่า ๗ ปี
  • บุคคลในครอบครัว : พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ใหญ่ที่เด็กเชื่อถือและไว้วางใจ มีสิทธิพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก และตัดสินใจว่าจะอนุญาตหรือไม่
  • เจ้าหน้าที่ : ในกรณีที่เด็กอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งหมายรวมถึง สหวิชาชีพ (นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์) หน่วยงานหรือองค์กรที่เข้ามาให้การดูแลคุ้มครองเด็ก หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุคคลนั้นมีสิทธิพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก และสามารถตัดสินใจว่าจะอนุญาตหรือไม่

หลักทั่วไปในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก

หลักทั่วไปในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก

2. แนวทางในการขออนุญาต

ผู้ขออนุญาตต้องแสดงตัวตนอย่างชัดแจ้งและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เหตุผล ประเด็น รูปแบบการนำเสนออย่างละเอียดชัดเจนต่อเด็กหรือผู้มีสิทธิในการอนุญาตให้เข้าใจอย่างดีว่าจะนำเสนอในลักษณะใด เผยแพร่ในวงกว้างและมีระยะเวลาการเผยแพร่ยาวนานเพียงใด โดยเฉพาะการนำเสนอผ่านสื่อดิจิทัลที่จะถูกบันทึกร่องรอยดิจิทัล (Digital footprint) ในระยะยาว ทั้งยังต้องประเมินและแจ้งผลกระทบในแง่มุมต่างๆ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนำเสนออย่างละเอียด

3. แนวทางปฏิบัติเมื่อจะนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก

  • ประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ พร้อมทั้งระมัดระวังการละเมิดสิทธิเด็กที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเสนออย่างละเอียด และต้องมั่นใจว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็กได้ป้องกันเด็กจากการถูกทำร้ายและผลกระทบที่จะตามมา
  • ขออนุญาตอีกครั้งก่อนนำข้อมูลไปเผยแพร่ และเด็กหรือผู้มีสิทธิในการอนุญาตจะต้องได้รับเวลาคิดอย่างเพียงพอว่าจะยินยอมให้มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นหรือไม่
  • เคารพการตัดสินใจของเด็กหรือผู้มีสิทธิในการอนุญาต กรณีที่ไม่ให้นำข้อมูลที่เคยได้รับอนุญาตแล้วไปนำเสนอ
  • กรณีที่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารอาจมีผลกระทบต่อตัวเด็กตามมา ควรพิจารณายกเว้นการนำเสนอแม้จะได้รับอนุญาตก็ตาม

สื่อมวลชนกระแสหลัก สื่อโซเชียลมีเดีย ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง สามารถดาวน์โหลดเอกสารวิชาการ "โครงการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ผลิตสื่อ" ไปศึกษาหรือใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ลิงก์ isra.or.th

ที่มา : INFO : สรุปแนวทางการนำเสนอข้อมูลเด็กแบบไหนไม่ให้ละเมิดสิทธิ

related