ศบค. ให้ผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ตรวจ RT-PCR และพักโรงแรม SHA plus วันแรกวันเดียว ส่วนวันที่ 5 ตรวจ ATK เพื่อลดค่าใช้จ่าย มาตรการการเปิดเรียนออนไซด์ หากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่สอบ ไม่จำเป็นจะต้องงดการสอบ ให้สามารถไปสอบได้ หากไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ถึงการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร (Test & Go) ว่า ศปก.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการเสนอเข้ามา จากเดิมที่ต้องตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ในวันแรก และวันที่ 5 ให้ปรับเป็น RT-PCR วันแรก ส่วนวันที่ 5 ตรวจ atk แทน
ทั้งนี้ กทม. ชลบุรี และภูเก็ต ได้ประโยชน์จากที่มีคนเข้ามาหลักหลายแสนคน ซึ่งกำลังเร่งอนุมัติกันอยู่คืบหน้าแล้ว 80% โดยรัสเซียมาเป็นอันดับ ที่ 1 ตามด้วยเยอรมนี และฝรั่งเศส
สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางอากาศ จากเดิมจะให้อยู่โรงแรม SHA plus 2 ช่วง ให้เปลี่ยนเป็น วันแรกที่มาถึงและตรวจ RT-PCR วันเดียว ส่วนวันที่ 5 ตรวจ atk ปกติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง แต่ต้องติดตั้งระบบหมอชนะ และส่งผล ATK ด้วย
ส่วนการเข้ามาทางบก จะเปิดที่หนองคาย อุดรธานี และด่านสะเดา จ.สงขลา ทั้งนี้ มีข้อกังวลว่าหากใครเข้ามาวันเดียว จะต้องใช้ค่าเบี้ยประกันภัยสูง ทาง เลขาฯ สมช. จึงรับไปพิจารณาต่อ
สำหรับวงเงินประกันสุขภาพจากเดิม 50,000 เหรียญสหรัฐ มีข้อคอมเพลนว่าแพงเกินไป ที่ประชุม ศบค. จึงมีมติปรับวงเงินประกันลงมาไม่น้อยกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• โทร 1330 ไม่ติด! ติดโควิดทำยังไง เช็กช่องทางติดต่อเข้าระบบดูแลรักษาที่บ้าน
• พุ่งไม่หยุด! โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 21,232 ราย เสียชีวิต 39 ราย
• ครม.ไฟเขียว! ผู้ป่วยโควิด-19 ใช้ยกเลิกปรับสิทธิ UCEP รักษาฟรีต่อไม่มีกำหนด
โฆษก ศบค. ยังบอกด้วยว่า นายกฯ ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้โทรศัพท์ไปขอบคุณคอลเซ็นเตอร์ที่ทำงานอย่างหนัก และให้กำลังใจ รวมถึงทีมงานภาคประชาสังคมที่ช่วยทีมงานภาครัฐ ในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ตามบ้าน เพราะบ้านของบางคนไม่เหมาะเป็นที่กักตัว พร้อมขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ โดยนายกฯ รับรู้ทุกเรื่อง และให้ติดตามผู้ติดเชื้อตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งหายป่วย เพื่อให้ทุกคนพึงพอใจ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ในช่วงที่มีคนไข้จำนวนมากก็อาจต้องเรียงลำดับความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องสายด่วน เพราะรู้ว่าความทุกข์ร้อนของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับสถานประกอบการที่เปิดให้บริการและมีการติดเชื้อ นายกฯ ฝากให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล ควบคุม และติดตาม โดยกิจการเปิดได้ ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ภาครัฐก็ต้องเข้าไปดูแลให้สมดุลกัน เพื่อให้ดำเนินกิจการได้ต่อไป
ทั้งนี้โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ถึงมาตรการเปิดเรียนแบบออนไซด์ในสถานศึกษา ว่า มีการรายงานว่าข้อมูลเด็กติดเชื้อไม่เยอะเพียง 21-22% เท่านั้น และมีการเตรียมมาตรการสำหรับการเปิดภาคเรียนและการป้องกันในสถานศึกษา
รวมถึงแผนเผชิญเหตุ ซึ่งผลการเปิดภาคเรียนที่ 2 โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการแจ้งว่า จากตัวอย่าง 122 โรงเรียน ในโรงเรียนที่มีการติดเชื้อยืนยัน 1 รายขึ้นไป พบว่ามีโรงเรียนที่ปิดสถานศึกษา 28.7% ส่วนหากมีการติดเชื้อยืนยันมากกว่า 1 ห้องเรียน พบว่าโรงเรียนปิดสถานศึกษา 55.7% แต่ที่น่าสนใจโรงเรียนที่ไม่ได้ติด แต่สถานศึกษาใกล้เคียงกันมีการติดเชื้อปรากฏว่า 9% ปิดไปด้วย
ทั้งนี้ สถานการณ์กับสิ่งที่เผชิญเหตุไม่สอดคล้องกัน จึงเป็นภาพสะท้อนที่อาจจะได้รับแรงกดดันจากผู้ปกครอง หรือครูที่ทำให้มาตรการที่อยากจะให้เปิดเรียนตามมาตรการดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามแผนเผชิญเหตุของสถานศึกษา
โดยที่ประชุม ศบค. เห็นชอบมาตรการการเปิดเรียนออนไซด์ สำหรับโรงเรียนประจำและโรงเรียนไป-กลับ ประกอบด้วย นักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเรียนออนไซด์ได้ตามปกติ จะพยายามให้เปิดโรงเรียน แต่ให้สังเกตอาการ
กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้จัดพื้นที่การเรียนการสอน ปฏิบัติงานทำกิจกรรมใน Quarantion Zone และแยกกักตัวเป็นเวลา 7 วัน และให้สังเกตอาการอีก 3 วัน
ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่สอบ ไม่จำเป็นจะต้องงดการสอบ ให้สามารถไปสอบได้ หากไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้เข้าสอบได้ แต่ให้จัดสถานที่สอบในลักษณะที่โล่งและอากาศถ่ายเท เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และให้เดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือประสานหน่วยสถานที่สอบกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว