ทำความรู้จัก "ติ๋ม ทีวีพูล" เจ้าแม่แห่งวงการสื่อบันเทิงไทย หลังมีข่าวแตกหัก "ทิดสมปอง" หรือว่า "อดีตพระมหาสมปอง"
เพราะประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานานหลายปี “พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย” หรือ “ติ๋ม ทีวีพูล” และในยุคนึงเธอจึงถูกยกให้เป็น “เจ้าแม่” ของคนวงการบันเทิง จะด้วยนัยที่หมายถึงบุคคลซึ่งมีอิทธิพลและให้คุณให้โทษแก่ดาราหรือคนในวงการบันเทิงก็สุดแล้วแต่ ส่วนความรู้สึกของฉายาดังกล่าวเธอเคยให้สัมภาษณ์ว่าเธอไม่ได้สนใจกับบทบาทเจ้าแม่สักเท่าไร
ล่าสุดชื่อของ ติ๋ม ทีวีพูล กลายเป็นข่าวใหญ่ได้รับความสนใจอย่างมาก จากกรณีตั้งโต๊ะแถลงข่าว ประเด็นการประกาศลาออกจากรายการของ นายสมปอง นครไธสง หรือ อดีตพระมหาสมปอง ซึ่งติ๋มเปิดเผยว่าอดีตพระมหาสมปองได้เก็บของออกจากบ้านโดยที่ไม่ได้ร่ำลา ก่อนจะปิดท้ายถึงโอกาสในการกลับมาทำงานร่วมกันว่า “อโหสิทุกอย่างให้แล้วให้เลย ไม่ต้องมาเจอกันอีก ไม่ร่วมงานแล้วขอให้โชคดี”
สปริงบันเทิง จึงขอพาไปทำความรู้จักเจ้าแม่วงการสื่อบันเทิงไทย สำหรับ ติ๋ม ทีวีพูล เป็นนักธุรกิจไทย จบการศึกษาม.ศ.5 จากโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ สาขาการเงินการธนาคาร หลังจากนั้น ทำงานเป็นเลขากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เควสเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ 1 ปี แล้วรับตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณาดิสเพลย์ หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีเจมะตูม เผยความในใจบทเรียนที่ได้จากคดีความจัดวันเกิดฝ่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
รวยแล้วรวยอีก! 4 คนดังปลุกกระแส วงการน้ำปลาร้าคึกคัก
เธอทำงานอยู่ในวงการสื่อบันเทิงจนได้มารู้จักกันกับ “เกรียงศักดิ์ สกุลชัย” หรือ “ต้อย แอ๊คเนอร์” และได้แต่งงานกันในเวลาต่อมา ทั้งสองได้มาทำนิตยสารบันเทิงด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่า “ทีวีพูล” และประสบความสำเร็จได้ทำรายการโทรทัศน์ที่ชื่อ “ทีวีพูล ทูไนท์” และ “ทีวีพูล ไลฟ์” ที่ออกอากาศทางช่อง 5 และได้ทำหันมาทำธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมในเวลาต่อมา
ทั้งสองมีทายาทเป็นลูกชายทั้งหมด 3 คน แต่ก็ได้หย่ากัน ในเวลาต่อมา ติ๋ม ทีวีพูล ได้แต่งงานกับ “พล.อ.นพดล อินทปัญญา” อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งปัจจุบันเธอก็ได้อย่าร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในช่วงปี 2558 ชื่อของ ติ๋ม ทีวีพูล เคยได้รับความสนใจอย่างมากกับการยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อมาในปี 2564 ศาลปกครองสูงสุดตัดสินคดีให้บริษัท ไทยทีวี จำกัด เจ้าของทีวีดิจิทัล 2 ช่องคือ ไทยทีวีและโลก้า ชนะคดี และสามารถคืนใบอนุญาตดิจิทัลทีวีให้ กสทช. ได้ พร้อมเรียกเงินคืนและค่าเสียหายรวม 1,134 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การชนะคดีครั้งนั้น ถือเป็นการจุดประกายครั้งสำคัญให้กับทีวีดิจิทัลช่องอื่น ๆ ที่กำลังบาดเจ็บได้เดินตาม จนนำมาสู่การใช้อำนาจตามมาตรา 44 โดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 4/2562 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อปลดล็อกให้ผู้ประกอบการสามารถจะคืนช่องได้ และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายตลอดอายุสัญญาที่เหลืออีก 9 ปี 6 เดือน