ไวรัลต่างประเทศ เกี่ยวข้องกับการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ในช่วงที่ผ่านมา โดย รัฐมนตรีของประเทศตูวาลู ตั้งโต๊ะแถลงในทะเล เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศเล็กๆ แบบตูวาลู อาจจะหายไปจากแผนที่ เพราะสภาวะโลกร้อน ที่สาเหตุมาจากประเทศใหญ่ๆในโลกเป็นคนก่อ
วีดิโอที่กลายเป็นไวรัลต่างประเทศทั่วโลก ในช่วงที่ผ่านมา มาจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ โดยการประชุมทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายนนี้ โดยภาพเหตุการณ์ คือ นาย ไซมอน โคเฟ่ รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู ใช้วิธีสุดแนว เพื่อหวังให้ผู้คนทั่วโลก ตื่นตัวในการลดโลกร้อนด้วยการลงทุนตั้งโต๊ะแถลงต่อสื่อมวลชนในทะเล เพื่อหวังสื่อข้อความเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเข้าใจว่าประเทศหมู่เกาะต้องเผชิญกับวิกฤติโลกร้อนอย่างไร โดยเฉพาะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกระทบกับประชาชนอย่างไร
.
สำหรับวิดีโอชิ้นที่ถูกบันทึกขึ้น ที่บริเวณปลายเกาะฟอนกาฟาเล ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆในเขตบริหารของเมืองหลวง ฟูนาฟูติ ประเทศตูวาลู
credit : Guardian News
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดโลก เขื่อนสิรินธรเปิดแล้ว ทั่วโลกตีข่าว
เกรต้า ธันเบิร์ก ซัดแรง ประชุม "COP26" แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่งาน PR ผู้นำ
ไบเดน ตำหนิ จีน-รัสเซีย ขาดภาวะผู้นำ ไม่มาประชุม COP26 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยจุดประสงค์ของวิดีโอไวรัลต่างประเทศชิ้นนี้ ก็เพื่อให้ชาวโลกได้เข้าใจถึงอันตรายจากปัญหาโลกร้อน ที่ชาวตูลาวูอาจจะมีส่วนร่วมในการสร้างปัญหาเพียงน้อยนิด แต่ผลกระทบที่ ตูวาลู ได้รับ อาจจะหมายถึงการสูญสิ้นแผ่นดิน 26 ตารางกิโลเมตรของประเทศไปเลย
.
ประเทศ ตูวาลู เป็นหนึ่งใน 3 ประเทศขนาดเล็ก ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ส่วนอีก 2 ประเทศคือ ฟิจิ และ ปาเลา เพื่อกดดันให้ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนั่นหมายถึงการส่งผลให้ โลกร้อนมากยิ่งขึ้น
.
สำหรับ การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ตามกำหนดจะเสร็จสิ้นในวันศุกร์นี้ (12 พฤศจิกายน) แต่ประเทศต่าง ๆ กว่า 190 ประเทศ องค์กรนานาชาติ และนักเคลื่อนไหวที่เข้าร่วมอาจขยายเวลาออกไปอีก เพื่อผลักดันให้แต่ละประเทศออกมาตรการต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขี้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จากระดับในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ตามที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีสที่ลงนามกันเมื่อปี 2015