มี 190 ชาติ นำโดย เวียดนาม , โปแลนด์ , ชิลี รับปากจะเลิกใช้ถ่านหิน แต่ประเทศที่พึ่งพาถ่านหินรายใหญ่อย่างออสเตรเลีย อินเดีย จีนและสหรัฐ ไม่ลงนามข้อตกลงในประเด็นนี้ จากการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26
สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า มี 190 ชาติ นำโดย เวียดนาม , โปแลนด์ , ชิลี รับปากจะเลิกใช้ถ่านหิน แต่ประเทศที่พึ่งพาถ่านหินรายใหญ่อย่างออสเตรเลีย อินเดีย จีนและสหรัฐ ไม่ลงนามข้อตกลงในประเด็นนี้
.
จากการเปิดเผยของบีบีซี รัฐบาลอังกฤษเผยว่า ประเทศจำนวน 190 ประเทศ และองค์กรที่ลงนามข้อตกลงนี้ รับปากยุติการลงทุนครั้งใหม่ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั้งในและต่างประเทศ และจะทยอยยกเลิกการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินภายในทศวรรษ 2030s สำหรับเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และภายใน 2040s จะมีการเลิกใช้ถ่านหิน สำหรับประเทศยากจน ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไบเดน ตำหนิ จีน-รัสเซีย ขาดภาวะผู้นำ ไม่มาประชุม COP26 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
จีนที่ย้อนแย้งกับท่าทีสับสนในนโยบายสิ่งแวดล้อม ที่ขัดแย้งกันเอง
"การหยุดใช้ถ่านหินเริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างแล้ว...โลกกำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง เราต้องโอบกอดสิ่งแวดล้อมเอาไว้ และต้องสร้างอนาคตด้วยพลังงานสะอาด" ควาซี่ ควาทเต็นก์ เลขาธิการธุรกิจพลังงานของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดเผย
.
สำหรับ การเปิดเผยครั้งนี้ มี โปแลนด์ เวียดนาม และชิลีอยู่ในกลุ่ม 18 ประเทศที่รับปากจะทยอยยกเลิกการใช้ถ่านหินและจะไม่สร้างหรือลงทุนโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินอีก นอกจากนี้ยังมีรายชื่ออย่าง อียิปต์ และ โมร็อกโก รวมอยู่ด้วย
.
แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีประเทศผู้ปล่อยคาร์บอนรายใหญ่หลายประเทศที่ไม่รับปากว่าจะยุติการเพิ่มปริมาณถ่านหินในประเทศ และยังไม่รับปากว่าจะทยอยยกเลิกการใช้น้ำมันและก๊าซ
แม้นานาประเทศร่วมกันเพิ่มความพยายามลดการใช้พลังงานถ่านหินอย่างต่อเนื่อง แต่สถิติเมื่อปี 2019 ระบุว่า 37% ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้กันบนโลก มาจากแหล่งพลังงานถ่านหิน
.
อย่างไรก็ตาม การทำข้อตกลงในครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะยังไม่เป็นที่น่าพอใจของกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะ ปาโบล โอโซริโอ หัวหน้ากลุ่มกรีนพีซ Greenpeace ในเวที การประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 มองว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่จำเป็นต่อการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในทศวรรษวิกฤติเช่นนี้