โควิด-19 ทำคนตกงาน ว่างงาน จำนวนมากทำให้แรงงานคืนถิ่น กลับต่างจังหวัดกันมากขึ้น พอมีการคลายล็อกดาวน์ ธุรกิจเริ่มเปิด เปิดประเทศ พบว่าเริ่มขาดแคลนแรงงาน วันนี้พาส่องดูว่าคนกลับบ้านแล้วไปทำอาชีพอะไร?
แรงงาน คือองค์ประกอบที่สำคัญของภาคธุรกิจ
โควิด-19 นอกจากจะทำให้ธุรกิจต่างๆได้รับผลกระทบมากมาย ยังทำให้ชีวิตผู้คนได้รับผลลกระทบเช่นกันโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพ เมืองหลวง เมืองเศรษฐกิจที่มีแรงงานจำนวนเข้ามาทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแรงงานที่มาจากต่างจังหวัดพอเจอโควิด-19 ก็ไม่มีงาน ไม่มีเงิน แรงงานเหล่านี้ก็คืนถิ่นไปหางานทำที่บ้านเกิด บางคนอาจกลับมาเมืองกรุงอีก ส่วนบางคนก็คงจะกลับบ้านเกิดถาวร
แบงก์ชาติเผยแรงงานกว่า 1.6 ล้านคนกลับบ้านเกิด
หากจะว่าด้วยเรื่องแรงงานคืนถิ่นก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่งเพราะภาคธุรกิจที่เริ่มคลายล็อกดาวน์ และกำลังเปิดประเทศเริ่มเห็นสัญญาณว่าจะขาดแคลนแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่คืนถิ่นแล้วไม่กลับมาทำงานอีก ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีแรงงานจากพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑล กลับต่างจังหวัดไปแล้วกว่า 1.6 ล้านคน มีแนวโน้มอาจไม่กลับมาทำงานที่กรุงเทพอีก จึงเสี่ยงขาดแคลนแรงงานมาก
แรงงานมีความสำคัญมากกับภาคธุรกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• อัพเดทภาพรวมสถานการณ์แรงงานไทยยังวิกฤต ตกงานเกลื่อนเมือง – หางานยากขึ้น
• หางานใหม่ฟังทางนี้ ! เปิด 5 ธุรกิจ –สายงานไหน ที่ตลาดต้องการแรงงานมากสุด
• ชีพจรโรงแรม 60% เหลือสภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือน แรงงานเสี่ยงตกงานยาว
อย่างไรก็ตามจากการที่แรงงานคืนถิ่นจำนวนมากเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจขาดแคลนแรงงานแล้ว และแนวโน้มในอนาคตส่อจะขาดแคลนแคลนแรงงานต่อเนื่อง
แต่วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาสำรวจว่า คนที่กลับภูมิลำเนาแล้วไปทำอาชีพอะไรกัน โดย ‘คุณสาคร ไชยปละ’ หนึ่งในแรงงานคืนถิ่น เล่าว่า แรงงานที่กลับมาทำงานในต่างจังหวัดบ้านเกิดส่วนใหญ่จะไปทำงานดังต่อไปนี้
เปิดเทรนด์แรงงานคืนถิ่นกลับตจว. แล้วไปทำอาชีพอะไร
-ทำเกษตรพอเพียงผสมผสาน
-ทำงานก่อสร้างแถวบ้าน
-ทำธุรกิจครอบครัวเล็กๆ
-ค้าขายออนไลน์
-ทำงานบริษัทแถวบ้าน
ทั้งนี้หากถามว่า? แล้วธุรกิจไหนในเมืองหลวงที่เสี่ยงขาดแคลนแรงงานบ้าง ? คำตอบ คือ
-ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง งานบริการ
-อสังหาริมทรัพย์
-โรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานจำนวนมาก
-แม่บ้าน รปภ.
-โรงแรม ท่องเที่ยว
-อื่นๆ