svasdssvasds

โควิด-19 ยืดเยื้อ ระเบิดเวลา...หนี้ครัวเรือนไทย คนไทยเป็นหนี้อะไรมากสุด ?

โควิด-19 ยืดเยื้อ ระเบิดเวลา...หนี้ครัวเรือนไทย คนไทยเป็นหนี้อะไรมากสุด ?

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อทำให้คนไทยเป็นหนี้ครัวเรือนมากยิ่งขึ้น เสมือนระเบิดเวลาไปเรื่อยๆพร้อมจะระเบิดเวลาใดก็ได้ แล้วคนไทยเป็นหนี้อะไรมากสุด ติดตามเรื่องนี้จากบทความ

หนี้สินในเมื่อใครไปก่อมาแล้วก็ต้องใช้หนี้ให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่...หากเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจดี ทำมาค้าขายอะไรก็ดีไปหมด แบบนี้ก็คงจะทำให้คนใช้หนี้ได้ง่ายขึ้น พอมาตอนนี้ถูกโควิด-19 เล่นงานหาเงินลำบาก ทำให้บางคนผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวก็ถูกแบงก์ยึดทรัพย์สินไปแล้วก็มี แต่ถึงอย่างไรช่วงนี้แบงก์ สถาบันการเงินต่างๆ ก็ได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทยก็พุ่งไม่หยุดเช่นกัน

คนไทยยังเป็นหนี้สูงขึ้น โควิด-19 ทำคนไทยเป็นหนี้สูงขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• EIC ห่วงว่างงาน-หนี้ครัวเรือน พุ่งไม่หยุด แนะ 10 เคล็ดลับ สมัครงานให้ได้ไว  

• โควิด-19ดัน "หนี้ครัวเรือน"พุ่งไม่หยุด-เปิดวิธีแนะประหยัดยังไงให้รอด !

• โควิด-19ฟาดงวงฟาดงาทำหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงสุดรอบ12 ปี

ดูชัดๆ คนไทยเป็นหนี้อะไรมากสุด? 

คนไทยเป็นหนี้อะไร

โควิด-19 ที่ยืดเยื้อ เสมือนดั่งระเบิดเวลา ....หนี้ครัวเรือนไทยให้พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเรื่อย ๆ ล่าสุด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics ) ออกมาเปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนไทยอาจทะยานเพิ่มขึ้นไปถึง 93.0% ณ ตอนสิ้นปี 2564นี้ ผลพ่วงมาจากโควิด-19 โดยหากถามว่าคนไทยเป็นหนี้อะไรมากสุด คำตอบมีดังนี้

- หนี้ที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด

-สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด

-รถยนต์

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเบื้องต้นของ ttb analytics จะสอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระบุว่า แนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยปีนี้จ่อแตะที่ 93% ต่อจีดีพีประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสำรวจพบว่า คนไทยก่อหนี้ระยะสั้น ดอกเบี้ยแพง พร้อมกันนี้แบงก์ยังมีความกังวลว่าคนไทยจะชำระหนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต ขณะที่ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงานว่า หนี้สินครัวเรือนไทยพุ่งถึง 14.13 ล้านล้านบาทแล้ว

4 แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้จากแบงก์

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงต่อเนื่อง คนไทยเป็นหนี้มากขึ้น แบงก์ สถาบันการเงิน ก็ได้เปิด 4 แนวทางช่วยเหลือดังนี้

 1.เติมสภาพคล่องให้ลูกหนี้รายย่อย

2.เร่งปรับโครงสร้างหนี้

3.ใช้วิธีรวบหนี้

4.ลดภาระค่าผ่อนต่องวดลง

 

related