ธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในการล็อกดาวน์แต่ละครั้ง ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ก็ได้มีการคลายล็อกดาวน์ให้เปิดได้แล้ว แต่ใครที่ขาดสภาพคล่องแนะนำติดต่อสถาบันการเงินของสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วันนี้จะพาส่องมีที่ไหนบ้าง
ดีเดย์เปิดไปแล้วสำหรับร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยวบางส่วน หลังจากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้คลายล็อกดาวน์ให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดได้แล้ว บรรยากาศบางร้านอาหาร บางห้างสรรพสินค้าก็คึกคักพอสมควร เพราะคนน่าจะอึดอัดมานานอยากไปเดินห้าง อยากหาอะไรรับประทานนอกบ้านบ้าง แต่ถึงแม้ว่าจะเปิดร้านได้แล้ว แต่หลายร้านหยุดไปนานพอสมควรก็ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน บางร้านแทบไม่มีเงินมาลงทุนต่อ
ดังนั้นหากร้านค้า ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยวไหนที่ขาดสภาพคล่อง #สปริงนิวส์ แนะนำให้เข้าไปขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ กับสถาบันการเงินมาเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจของท่านได้ไปต่อ วันนี้จะพาส่องเลยว่าแบงก์ไหนปล่อยสินเชื่ออะไรบ้าง ?
ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบหนักจากโควิด-19
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• หลายหน่วยงานเดินหน้าหนุน "ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม" รับสินเชื่อดอกเบี้ย 1%
• 5 สินเชื่อเงินกู้ เงินด่วน โปรดี ไม่ต้องมีคนค้ำ สู้วิกฤตโควิด19
• ส่องดู! สินเชื่อสู้ภัยโควิด-มาตรพักหนี้ แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง ?
แนะนำ 4 สินเชื่อออมสินช่วยร้านอาหาร ไรเดอร์
มาเริ่มกันที่ล่าสุด ธนาคารออมสิน ได้ร่วมมือกับ LINE MAN Wongnai ปล่อย 4 สินเชื่อให้กู้เสริมสภาพคล่องธุรกิจร้านอาหารและกลุ่มไรเดอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยทั้ง 4 สินเชื่อ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 สำหรับร้านค้าและไรเดอร์ วงเงินให้กู้ไม่เกิน 10,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเพียง 0.35% /เดือนเท่านั้น โดยไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ และไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก
2.สินเชื่ออิ่มใจ สำหรับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ให้กู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย 3.99% /ปี ไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ และไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก
3.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SMEs ท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งร้านอาหาร เครื่องดื่ม ธุรกิจสปา นวดแผนไทย บริการขนส่ง นำเที่ยว วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/ราย ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลาการกู้นานไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องชำระเงินต้น 2 ปี
4. สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะให้ทั้งลูกค้าใหม่ ลูกค้าเดิม ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรก 5% ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี และไม่ชำระเงินต้น 2 ปี ใครสนใจ www.gsb.or.th หรือแอปพลิเคชัน MyMo และธนาคารออมสินทุกสาขา ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115
ธ.ก.ส. และSME D Bank จัดเต็มสินเชื่อช่วยเต็มสูบ
ต่อมา คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ยอมควัก 4 หมื่นล้านบาทเพื่อปล่อยกู้เพิ่ม ตามระละเอียดดังนี้
1.สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร วงเงิน 30,000 ล้านบาท วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท/ราย อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 4 /ปี
2.สินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ช่วง 2 ปีแรก รัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยแทนผู้กู้ 6 เดือนแรก กำหนดชำระคืน 5 ปี
ส่วน SME D Bank ปล่อยกู้กว่า 75,000 ล้านบาท พร้อมมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน หลายมาตรการ อย่างเช่น มาตรการพักชำระหนี้ มาตรการเติมทุนสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ มาตรการเสริมแกร่ง สินเชื่อ SMEs D เติมทุน สินเชื่อ SMEs มีสุข สินเชื่อ SMEs ยิ้มได้ เป็นต้น ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ถ้าใครสนใจสินเชื่อเหล่านี้ลองติดต่อไปที่แต่ละธนาคารดูเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจของท่านได้ไปต่อ