svasdssvasds

โควิด-19 อสรพิษร้าย ทำคนกรุงเทพการเงินถดถอย มีเงินออมน้อยลง

โควิด-19 อสรพิษร้าย ทำคนกรุงเทพการเงินถดถอย มีเงินออมน้อยลง

ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าเงินทองหายากมากช่วงนี้ แต่ค่าใช้จ่าย หนี้สิ้น ยังเดินคงหน้าต่อไป โควิด-19 ทำเอาคนหาเงินได้น้อยลง เงินออมน้อยลง ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยคนกรุงเทพ และปริมณฑล สถานะทางการเงินถดถอย ลงมาก ไปติดตามเรื่องนี้กัน

โควิดยังไม่จบ ทำคนหาเงินลำบากมาก

วินาทีนี้ต้องบอกเลยว่าหนักใจกับสถานการณ์โควิด-19 ในไทยมาก ๆ อีกทั้งยังต้องหนักใจเรื่องการงาน เงินทอง ในกระเป๋าที่นับวันจะลดน้อยถอยลง แต่หนี้สินก็ต้องเดินต่อไป แม้ว่าสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่เราไปกู้ยืมมาจะมีมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือแล้วก็ตาม แต่เชื่อเหลือเกินว่าปี 2564 สภาพการเงินของหลาย ๆ คนน่าจะอยู่สภาวะถดถอย โดยเฉพาะคนกรุงเทพการเงินถดถอย อย่างมาก

โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ทำให้สำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สถานะทางการเงินถดถอย ลงมากโดยเฉพาะคนกรุงเทพการเงินถดถอยมาก การออมลดลง โดยสถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อยถดถอยลงมากจากผลของโควิด-19 ระลอกที่สาม สำรวจเดือนมิ.ย. 2564 (หลังโควิดรอบสาม) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ไม่ปกติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564

โควิด-19 ทำคนไทยมีเงินออมลดลง โควิด-19 ทำคนไทยมีเงินออมลดลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• EIC ห่วงว่างงาน-หนี้ครัวเรือน พุ่งไม่หยุด แนะ 10 เคล็ดลับ สมัครงานให้ได้ไว

• เว็บลงทะเบียนไกล่เกลี้ยหนี้ คืนรถล้างหนี้ โดย ธปท. - สำนักงานศาลยุติธรรม

• หนี้เสียไทยพุ่ง 5.37 แสนล้านบาท จับตาสัญญาณ คนถูกยึดบ้าน-รถ เพิ่ม

คนกรุงเทพการเงินถดถอย เงินออมลดลง

ทั้งนี้หากนำข้อมูลทั้งหมดจากผลการสำรวจ จะพบว่าประชาชน-ครัวเรือน กำลังเผชิญแรงกดดัน 3 ด้าน ทั้ง ปัญหารายได้ลด-ค่าใช้จ่ายไม่ลด-สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า สัดส่วนของกลุ่มเปราะบางในผลสำรวจเดือนมิ.ย. 2564 ขยับขึ้นมาที่ 22.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เทียบกับสัดส่วนประมาณ 10.8% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564 โดยภาพสะท้อนดังกล่าวตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน

อย่างไรก็ตามผลสำรวจ ยังพบอีกว่า ลูกหนี้เป็นห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนมิ.ย. ส่วนใหญ่ราว 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลง เพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% ของผู้ตอบแบบสำรวจในรอบมิ.ย. เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี.ค.  ในส่วนของสินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%)

related