svasdssvasds

หมอนิธิพัฒน์ เผย WHO ยอมรับโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ

หมอนิธิพัฒน์ เผย WHO ยอมรับโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ

หมอนิธิพัฒน์ เผย องค์กรอนามัยโลกยอมรับว่าเชื้อโควิดติดต่อผ่านระบบหายใจได้ โดยการสูดเอาละอองลอยที่ปนเปื้อเชื้อไวรัสเข้าไป ชี้เครื่องฟอกอากาศสามารถช่วยลดปริมาณไวรัสได้ แนะระบบระบายอากาศในอาคารของโรงพยาบาลและสถานที่สาธารณะสำคัญที่สุด

 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุข้อความว่า

ไหนๆ ก็อยู่ในสภาวะจำทนที่ฝ่ายบริหารสถานการณ์โควิดจัดมาให้ คนไทยคงต้องทนอยู่กันยาวกับโรคระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่ ปัญหาที่จะพบเจอกันต่อไปคือ เราจะทำลายเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศภายในอาคารโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ และในบ้านเรือนที่ใช้ระบบปรับอากาศ กันได้อย่างไร

 หลังจากปากแข็งมากว่าปี ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ยอมรับว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ (airborne) โดยการสูดเอาละอองลอย (aerosols) ที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าไป (WHO, 2021b. https://www.who.int/…/novel…/advice-for-public) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องลดการแพร่กระจายเชื้อภายในอาคารที่มีการระบายอากาศแบบระบบปิด

 หลายคนสงสัยว่า เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ (portable air cleaner, PAC) ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับกรอง PM2.5 จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้หรือไม่ จากการศึกษาในประเทสสเปน โดยการใช้ PAC ชนิดหนึ่งที่ใช้ HEPA filter ขนาดกรองอนุภาค 0.1 ไมครอน ได้ 99.95% สำหรับใช้ในห้องความจุไม่เกิน 82 ลูกบาศก์เมตร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• หมอนิธิพัฒน์ เตือนผู้ป่วยหายจากโควิด-19 เฝ้าระวัง 2 โรค รุนแรงกว่า 3-7 เท่า

• "หมอนิธิพัฒน์"แฉ! มีการกักตุนถังออกซิเจน เตือนไร้แพทย์ดูแลเสี่ยงอันตราย

• หมอนิธิพัฒน์ แนะ ล็อกดาวน์ตัวเอง-ครอบครัว หลัง รพ.ขนาดใหญ่ ล้นเกินศักยภาพ

 เมื่อตั้งเครื่องทิ้งไว้กลางห้อง (ให้ดูดอากาศได้รอบด้าน) ที่มีผู้ป่วยโควิดอยู่ สามารถลดโอกาสการหมุนเวียนของเชื้อในอากาศของห้องนั้นได้ 80% (Science of the Total Environment 2021 Sep 1;785:147300. doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.147300. Epub 2021 Apr 29) อย่างไรก็ตามใครที่จะหาเครื่องฟอกอากาศไปใช้ลดปริมาณไวรัสโคโรนา-2019 ภายในอาคาร ต้องตรวจสอบให้แน่ใจถึง

1. ประสิทธิภาพของ HEPA filter

2. ความจุของห้องที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่อง

 และที่สำคัญคือ วิธีการทำความสะอาดหรือการเปลี่ยน HEPA filter อย่างปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อที่ติดค้าง เนื่องจากเครื่องสำหรับใช้ที่บ้านนี้ ไม่มีระบบการฆ่าเชื้อที่ผ่านเข้าไปในเครื่องด้วยแสงยูวีเหมือนเครื่องที่ใช้ในโรงพยาบาล

 สำหรับระบบระบายอากาศในอาคารของโรงพยาบาลและสถานที่สาธารณะ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกันมาก เพราะถ้าไม่ทำให้ดีแล้ว จะทำให้ละอองลอยที่มีไวรัสปนเปื้อนฟุ้งกระจายไปได้ง่าย นอกจากนั้นอาจมีการติดและสะสมตามท่อทางเดินของอากาศที่ใช้หมุนเวียนในห้อง จนอาจปนเปื้อนกับอากาศใหม่ที่เติมเข้ามา และถ้าไม่มีระบบการกรองอากาศที่ปล่อยทิ้งออกไปให้ดี ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ภายนอกอาคาร

 ได้มีการพยายามหาวิธีการเพื่อใช้ทำลายเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่หมุนเวียนและไหลออกผ่านระบบระบายอากาศในสถานที่นั้น โดยผสมผสานกันระหว่างการใช้ HEPA filter, ระบบการสร้างไฟฟ้าสถิต, และการใช้แสงยูวี (Sustainable Cities and Society 2021 Nov;74:103226. doi: 10.1016/j.scs.2021.103226. Epub 2021 Aug 3)

related